7 ส.ค. 2023 เวลา 02:02 • สุขภาพ

คนวัย 60-80 ที่สมองดีแบบคนวัย 20-30 เขาทำกันยังไง?

เคยมีใครเห็นคลิปหรือเรื่องราวของคนสูงอายุแต่สุขภาพหรือสมองยังดีมากๆ บ้างไหมครับ? วันนี้ผมจะเล่าเกี่ยวกับคนสูงอายุที่สมองไม่แก่ตามอายุให้ฟังสั้นๆ
2
ในอดีตก่อนยุคโซเชียลมีเดีย หมอและนักวิทยาศาสตร์ ไม่ค่อยเห็นคนอายุมากๆ แล้วร่างกายยังแข็งแรงหรือสมองยังดีมากๆ ทางวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ จึงเชื่อว่า การถดถอยของสมองเมื่ออายุมากขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่มีทางจะเลี่ยงได้ (โดยเฉพาะก่อนที่จะพบว่าสมองคนเราสร้างเซลล์ใหม่ๆ ได้ตลอดแม้จะอายุมากแล้ว)
2
แต่เพราะโซเชียลมีเดีย เราจึงมีโอกาสได้เห็นหรือได้ยินเรื่องราว
ของคนอายุ 70-80 แต่สมองยังดีเหมือนคนวัย 30 ปีมากขึ้นเรื่อยๆ
จนถึงกับมีคำเรียกคนสูงอายุแต่สมองยังดีเหล่านี้ว่า super-ager
และมีงานวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเข้าใจว่า คนเหล่านี้เขาทำได้ยังไง?
1
หนึ่งในงานวิจัยล่าสุด เป็นการนำคนที่การทำงานของสมองยังดีมากๆ
คือ ดีพอๆ กับคนวัย 20-30 ปี มาสแกนสมองศึกษา
3
สิ่งที่พบค่อนข้างน่าแปลกใจ
1
โดยทั่วไปภาพรังสีสมองของคนอายุมาก จะเห็นได้ชัดมากว่าสมองดูฝ่อลง (จะเห็นว่าเล็กลงและดูเหมือนเหี่ยวลง) โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่าเปลือกสมอง (ที่เกี่ยวข้องกับความคิด หรือที่เรานิยมพูดกันว่า ความฉลาด)
1
แต่ในคนกลุ่มนี้หลายบริเวณในสมองของเขาแทบไม่ต่างไปจากคนวัย 20-30 ปีเลย
1
คือ ไม่ใช่แค่ฝ่อช้า แต่เหมือนจะคงสภาพไว้ได้เลย
1
คำถามคือ คนพวกนี้ทำได้ยังไง? โชคช่วย? เกิดมาโชคดี สมองแก่ช้าเอง หรือ เพราะทำอะไรบางอย่างถูกต้อง?
1
คำตอบคือ ทั้งสองอย่างครับ คือเกี่ยวกับ ทั้งพันธุกรรมของเขาเอง และ การเลือกใช้ชีวิต
1
ในแง่ของพันธุกรรมเรายังไม่มีความรู้อะไรมากนักว่าคนเหล่านี้มีพันธุกรรมต่างจากคนอื่นยังไง นั่นก็หมายความว่า เราแต่ละคนไม่รู้หรอกว่าเราจะเป็นคนที่โชคดีแบบนั้นหรือเปล่า
1
แต่สิ่งที่เราพอจะทำได้คือ การเลือกใช้ชีวิต
1
คำถามคือ วิธีการอะไรบ้างที่จะช่วยให้สมอง (และร่างกาย) เราคงสภาพไว้ได้มากที่สุดบ้าง
1
เทคนิคที่จะให้ไว้วันนี้มี 4 อย่างง่ายๆ ครับ
1
4 ข้อนี้ เป็นเทคนิคที่มีงานวิจัยยืนยันออกมาแล้วมากมาย จนตอนนี้ถือได้ว่าเป็นที่วิธีการดูแลสมองที่ดีที่สุด
5
1. ออกกำลังกายแบบแอโรบิค (ที่เหมาะกับความแข็งแรงของตัวเอง)
5
งานวิจัยพบว่าไม่ใช่แค่ช่วยคงสภาพสมองไว้ได้ แต่พบว่าในคนสูงอายุหลายคนที่สมองเริ่มเสื่อมแล้ว หลงลืมแล้ว เมื่อออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ (ประมาณ 6 เดือน) เมื่อมาสแกนสมองซ้ำ พบว่าเนื้อสมองหนาขึ้นกว่าเดิมได้ด้วย
นอกเหนือไปจากแอโรบิค การยกน้ำหนักหรือ wieght training วิธีต่างๆ ก็ช่วยเรื่องสมองด้วย ถ้าทำควบคู่กันไปได้จะดีมากๆ
3
2. นอนเยอะๆ นอนให้พอเพียง
4
ข้อนี้สั้นๆ ตรงไปตรงมานะครับ ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้ดีว่าการนอนสำคัญกับสมองและร่างกายมากแค่ไหน แต่ถ้าใครมีปัญหานอนยาก นอนไม่หลับ ลองหาอ่านวิธีการแก้ไขดูนะครับว่าทำยังไง ผมเองก็เคยเล่าไว้บ้าง ตามฟังกันได้ใน Podcast 6 Minute Health Talk Ep. นอนไม่หลับแก้ไขยังไง?
2
🎧 Podcast : http://bit.ly/3rOS4sc
🎧 Blockdit : https://bit.ly/3Oi7v3C
และถ้ายังแก้ไขไม่ได้จริงๆ แนะนำว่าให้ไปปรึกษาแพทย์ดู ให้มองว่าปัญหาการนอนไม่หลับเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพเหมือนๆ กับความดันสูง หรือไขมันในเลือดสูงไปเลย
1
3. บริหารความเครียด
3
สำหรับคนทุกวันนี้ ความเครียดในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก แต่มันสามารถบริหารจัดการได้ วิธีการง่ายๆ อันหนึ่งที่ทำได้ คือ นั่งสมาธิ (หรือเดินจงกรม สวดมนต์ รำมวยจีน ฯลฯ) มีงานวิจัยที่พบว่าในคนที่สมองเริ่มเสื่อมไปบ้างแล้ว ถ้ามีความเครียดสะสมเพิ่มขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงของการป่วยเป็นอัลไซเมอร์มากขึ้นมาก
3
4. การมีสังคม
1
ทุกวันนี้ ครอบครัวเราเล็กลงเรื่อยๆ ความโดดเดี่ยว ความเหงามีมากขึ้น หลายคนตอนทำงานก็มีเพื่อนมีสังคม แต่พอเกษียณไปแล้วกลับกลายเป็นว่ามีสังคมน้อยลง
2
super-ager หลายคนเลือกที่จะทำงานต่อ แต่จะเป็นไปในลักษณะของการเป็นจิตอาสา ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือสังคม คือ นำประสบการณ์ที่สะสมมาช่วยเหลือสังคม เช่น ไปสอนเด็กด้อยโอกาส ไปเป็นไกด์อาสาสมัคร ฯลฯ ซึ่งการทำเช่นนี้นอกเหนือไปจากการทำประโยชน์ให้สังคม ยังทำให้ต้องใช้สมองในการคิดแก้ปัญหา ได้พบปะผู้คนที่หลากหลาย มีความสุขกับการได้ช่วยเหลือคนอื่น และรู้สึกว่าตัวเองยังมีค่าต่อสังคม
6
4 ข้อแค่นี้เองครับ
ก่อนจบ ผมอยากทิ้งท้ายไว้นิดนึง
1
จากงานวิจัยในระยะหลังที่พบว่าสมองของบางคนสามารถคงสภาพไว้เหมือนคนอายุ 20-30 ปีได้ ประเด็นสำคัญคือ มันทำให้เรารู้ว่า ยิ่งเริ่มดูแลสุขภาพเร็ว ก็มีโอกาสที่จะคงสภาพสมองไว้ได้ดีกว่า พูดง่ายๆ คือ เริ่มก่อนได้เปรียบกว่า ดังนั้นการดูแลสุขภาพไม่ใช่เรื่องของคนอายุ 50-60 เท่านั้น การกินดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ บริหารจัดการความเครียด เป็นทักษะสำคัญที่ควรเรียนรู้ไว้ตั้งแต่อายุยังน้อยๆ
2
อย่างไรก็ตาม ถ้าตอนนี้เราอายุ 50 แล้ว คงยากที่จะเปลี่ยนให้สมองกลับไปเหมือนตอนอายุ 20 แต่เราอาจจะสามารถคงสภาพสมองไว้เช่นนี้ได้ คือเป็นไปได้ว่าในวันที่เราอายุ 80 เรายังมีสมองที่ใกล้เคียงกับตอนนี้ได้
3
รู้อย่างนี้แล้ว อย่ารอที่จะเริ่มดูแลสุขภาพเมื่ออายุ 50-60 ไปแล้วนะครับ เริ่มกันวันนี้ได้เลย
2
📍 ใครชอบอ่านแนวนี้แต่ยังไม่สะใจอยากอ่าน non-fiction เพิ่มเติม แนะนำลองอ่านหนังสือที่หมอเอ้วเขียนแบบทั้งเล่ม แนะนำลองอ่านหนังสือ Best Seller ที่หมอเอ้วเขียนแบบทั้งเล่ม มีวางจำหน่ายแล้วทั้งหมด 9 เล่ม หลายเล่มได้รางวัลจากหลายสถาบัน
 
สนใจสั่งซื้อ สามารถกดลิงก์นี้เลย
💚 Line My Shop : https://bit.ly/3FBx0bx
3
โฆษณา