Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
AIS
•
ติดตาม
31 ก.ค. 2023 เวลา 12:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมถึงห่วง? เด็กกรุงเทพฯ เสี่ยงภัยไซเบอร์
ปัจจุบันนี้ คนไทยตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์กันมากขึ้นจนน่าเป็นห่วง จากสถิติของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) พบว่าคนไทยถูกหลอกลวงทางออนไลน์ เสียหายวันละ 100 ล้านบาท เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาพัฒนาในการหลอกลวงทางออนไลน์ ทำให้คนส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่อาจถูกชักจูงได้ง่าย เพราะปัญหาการถูกไซเบอร์บูลลี่ ในกลุ่มเด็กและเยาวชนของประเทศไทยนั้น เป็นจุดที่มีการบูลลี่เป็นอันดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว
ล่าสุด ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index ฉบับแรกของประเทศไทย ที่ AIS และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้จัดทำขึ้น เผยผลการศึกษาสุขภาวะ
ดิจิทัลของคนไทยในภาพรวมอยู่ในระดับพื้นฐาน และมี 44.04% ที่อยู่ในระดับต้องพัฒนา เมื่อเจาะลึกสถานการณ์สุขภาวะดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร ปี 2566 พบว่า ระดับสุขภาวะดิจิทัลของคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพื้นฐาน
แต่ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน อายุ 10 – 22 ปี ยังขาดทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งยังอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา และเมื่อแยกเป็นช่วงวัย พบว่า อายุ 10-12 ปี มีทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล อยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา ส่วนในช่วงอายุ 13 – 22 ปีนั้น มีทักษะด้านการใช้ดิจิทัล อยู่ในระดับที่ต้องพัฒนาเช่นกัน
เมื่อนำข้อมูลในแต่ละช่วงอายุของเด็กวัยเรียนมาวิเคราะห์แล้ว จะเห็นได้ว่า กลุ่มเด็กวัยเรียนที่อยู่ในกรุงเทพฯ นั้น ยิ่งโตขึ้นยิ่งน่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะมีความเสี่ยงต่อการใช้งานบนโลกไซเบอร์ เนื่องจากยังขาดทักษะด้านดิจิทัล ทำให้ไม่สามารถรับมือกับการใช้งานบนโลกดิจิทัลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีหลากหลายรูปแบบและนับวันก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น
เช่นเดียวกับ ข้อมูลของกรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เผยว่า การบูลลี่นั้นสามารถเกิดขึ้นกับทุกช่วงวัย โดยในกลุ่มเด็กเล็กจะเป็นการบูลลี่ทางวาจา ส่วนการบูลลี่ในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่เข้าถึงโลกออนไลน์อย่างเต็มที่ จะเป็นการลงข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง การลงรูปถ่ายหรือวิดีโอที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการคอมเมนต์ที่หยาบคาย เป็นต้น
ดังนั้น ความรู้และการเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นบนโลกดิจิทัล ผู้ปกครองควรดูแลและคอยแนะนำเด็กและเยาวชนให้เข้าใจถึงความเสี่ยงและวิธีป้องกันที่เหมาะสม และควรสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการใช้งานบนโลก
ออนไลน์ นอกจากนี้ยังควรเสริมสร้างทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัลให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้พวกเขาเป็นผู้รับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกดิจิทัลได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย
สนใจติดตาม Thailand Cyber Wellness Index ได้ที่
https://sustainability.ais.co.th/storage/update/report/advanc-ebook-thailand-cyber-wellness-th.pdf
หรือสามารถ Up Level ทักษะดิจิทัล เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์ผ่านหลักสูตร “อุ่นใจ CYBER” คลิก
https://learndi.ais.co.th/
เทคโนโลยี
บันทึก
5
3
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย