Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หวย80 หวยใบละ80
•
ติดตาม
31 ก.ค. 2023 เวลา 13:29 • ประวัติศาสตร์
เชียงราย
กองสลากไท และ สลากไทพลัส พาทำความรู้จักจังหวัด เชียงราย
กองสลากไท และ สลากไทพลัส พาทำความรู้จักจังหวัด เชียงราย ซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของประเทศไทยในเชิงภูมิศาสตร์ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าและประเทศลาว ทางตอนเหนือและตะวันออก, จังหวัดพะเยา และ จังหวัดลำปาง ทางทิศใต้ และจังหวัดเชียงใหม่ ทางทิศตะวันตกจังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทย
ประกอบด้วยเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคก่อตั้ง หิรัญนครเงินยางเชียงแสน และ อาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน และ เมืองเชียงราย จังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีแม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตและขนส่งฝิ่นที่สำคัญของโลก
ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมมากเป็นอันดับสองในภาคเหนือ รองจากจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนราว 3,600,000 คน คิดเป็นชาวต่างชาติราว 620,000 คน สร้างรายได้ให้กับจังหวัดราว 28,500 ล้านบาท โดยมีท่าอากาศยานประจำจังหวัดคือท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมาจากเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยมาจากการเกษตร การป่าไม้ และประมง ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 32,500 ล้านบาท
เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ
ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายยังขึ้นชื่อว่าเป็น "เมืองศิลปะ" และเป็นที่เกิดของศิลปินที่มีอิทธิพลอย่างมากในวงการศิลปะไทย โดยเฉพาะ ถวัลย์ ดัชนี ผู้สร้างสรรค์บ้านดำ และเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ผู้สร้างสรรค์วัดร่องขุ่นและหอนาฬิกาเมืองเชียงราย สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเชียงรายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของศิลปิน และเป็นแบบอย่างของวัดร่องเสือเต้นซึ่งเป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
ประวัติศาสตร์
สมัยราชวงศ์มังราย
พงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงไชยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1854 ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า พญามังรายทรงเสด็จตามช้างมาทางทิศตะวันออกแล้วเห็นชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมืองริมฝั่งน้ำแม่กก จึงสร้างเป็นเวียงล้อมรอบดอยจอมทองไว้ในปี พ.ศ. 1805
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนครามหรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงครามก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า
ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า
ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของสยาม
ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ใน พ.ศ. 2453
เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ และอำเภอเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองชั้นในที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครทั้งปวง ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย
การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด
ตั้งแต่มีการตั้งจังหวัดเชียงราย อาณาเขตของจังหวัดเชียงรายมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ โดยมีการโอนพื้นที่บางส่วน ไปขึ้นกับจังหวัดข้างง และโอนพื้นที่จังหวัดข้างเคียง เข้ามารวมกับจังหวัดเชียงราย รวมถึงการแบ่งพื้นที่บางส่วน ตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ดังนี้
การโอนอำเภอเมืองฝาง ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่
มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนอำเภอเมืองฝาง จังหวัดเชียงรายไปขึ้นจังหวัดเชียงใหม่[10] ในปี พ.ศ. 2468 เนื่องจากความลำบากในการเดินทางติดต่อราชการ ปัจจุบันคือ อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
การโอนหมู่ 7 ตำบลป่าตึง อำเภอเชียงแสน ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช 2479 ได้มีการโอนพื้นที่เหนือลำน้ำแม่งามในเขตตำบลป่าตึง อำเภอเชียงแสนในขณะนั้น (อำเภอแม่จันในปัจจุบัน)ไปขึ้นตำบลแม่อาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่ในเขต ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
การโอนอำเภอปง จังหวัดน่าน มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย
ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแพร่ พ.ศ. 2495 ได้มีการโอนอำเภอปง จังหวัดน่าน ยกเว้น ตำบลสวด (อำเภอบ้านหลวง ในปัจจุบัน) มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย (สีเขียว) และโอนตำบลสะเอียบ (สีส้ม) อำเภอปง ไปขึ้นกับอำเภอสอง จังหวัดแพร่
การโอนหมู่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลควน อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และโอนตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 137
ซึ่งมีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติซึ่งออกตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 กำหนดให้เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน โดยโอนหมู่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลควน อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และโอนตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
อ่านเพิ่มเติม
salaktaiplus.com
กองสลากไท สลากไทพลัส เชียงราย - สลากไทพลัส
กองสลากไท และ สลากไทพลัส พาทำความรู้จักจังหวัด เชียงราย ซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของประเทศไทย
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย