1 ส.ค. 2023 เวลา 01:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

นักวิจัยไทยค้นพบไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ นับเป็นไดโนเสาร์ไทยชนิดที่ 13

เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่เพิ่งผ่านมานี้ ทีมนักวิจัยไทยนำโดย ดร.ศิตะ มานิตกุล ได้เผยแพร่การค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่สู่สาธารณชน งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับความสนใจจากสื่อต่างๆแพร่หลายทั้งไทยและต่างประเทศ ไปดูกันว่าไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่นี้มีอะไรน่าสนใจ
4
เมื่อกล่าวถึงไดโนเสาร์ หลายๆท่านอาจจินตนาการถึงสัตว์ขนาดใหญ่ ดุร้ายน่าเกรงขาม แต่คุณอาจจะเปลี่ยนใจหากได้รู้จักกับไดโนเสาร์ที่โลกเพิ่งรู้จักตัวนี้
ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักถูกพบในสภาพที่ไม่ค่อยสมบูรณ์นัก โดยมักจะพบเป็นชิ้นส่วนหลุดแยกออกจากกัน แต่ซากดึกดำบรรพ์ต้นแบบ (holotype) ของไดโนเสาร์ตัวนี้กลับมีความพิเศษอย่างมาก เนื่องจากถูกรักษาสภาพในลักษณะโครงกระดูกเรียงต่อกัน ประกอบไปด้วย ชิ้นส่วนกะโหลก กระดูกสันหลังส่วนคอไปจนถึงโคนหาง มือซ้าย กระดูกเชิงกราน ขาหลังทั้งสองข้าง รวมถึงเอ็นกระดูก จึงนับเป็นหนึ่งในซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1
ซากดึกดำบรรพ์ต้นแบบ (holotype) ของ มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส บริเวณกระดูกสันหลัง
แต่กว่าจะได้ฟอสซิลงนี้ต้องใช้แรงงานคนค่อย ๆ บรรจงใช้ปากกาลมสกัดเอาเศษหินและตะกอนที่ปิดทับออกจากกระดูกโดยใช้เวลานานมากกว่า 5 ปี การศึกษาวิจัยเริ่มในช่วงเวลาเดียวกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้การศึกษาวิจัยยากขึ้น
1
เนื่องจากไม่สามารถเดินทางไปเทียบตัวอย่างไดโนเสาร์กลุ่มใกล้เคียงกันที่ต่างประเทศได้ แต่แล้วในที่สุดคณะนักวิจัยจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ม.มหาสารคาม ร่วมกับพิพิธภัณฑ์สิรินธร กรมทรัพยากรธรณี และ Laboratoire de Géologie de l’EcoleNormale Supérieure ประเทศฝรั่งเศสและคณะก็ยืนยันได้ว่าค้นพบว่าไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก
1
มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส เป็นชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ของไดโนเสาร์ตัวนี้ มีความหมายว่า “นักวิ่งขนาดเล็กที่พบจากแหล่งภูน้อย”แหล่งซากดำดำบรรพ์ภูน้อยตั้งอยู่ ณ ต.บ้านดินจี่ อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ แหล่งขุดค้นแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่า “จูแรสซิกพาร์กเมืองไทย”
เนื่องจากเป็นที่ที่มีการสะสมตัวของซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังจำนวนมหาศาลจากยุคจูแรสซิกตอนปลาย (ก่อนหน้านี้มีฉลามน้ำจืด ปลากระดูกแข็ง ปลาปอด เต่า และสัตว์กลุ่มจระเข้ จำนวนถึง 7 ชนิดที่ถูกวิจัยพบว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก) นอกจากนี้ยังเป็นไดโนเสาร์ชนิดแรกของจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย
มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส Minimocursor phunoiensis
ลักษณะของบริเวณกระดูกชี้ว่ามินิโมเคอร์เซอร์เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่มีสะโพกคล้ายนก เป็นกลุ่มเดียวไดโนเสาร์กินพืชที่เรารู้จักกันอย่างดีอย่าง ไทรเซราทอปส์(Triceratops) ยักษ์ใหญ่ที่มีสามเขา หรือ พาราซอโรโลฟัส (Parasaurolophus) ไดโนเสาร์ปากเป็ดที่มีหงอนยาวน่าตื่นตา
1
แต่เมื่อเทียบกับญาติ ๆ ในยุคหลังแล้ว มินิโมเคอร์เซอร์กลับดูเรียบง่ายกว่ามาก แม้จะมีขนาดเล็กจิ๋ว ไม่มีอาวุธเช่นเขา หนาม หรือเกราะเพื่อป้องกันตัว ธรรมชาติก็ยังมอบความเร็วให้กับมัน ด้วยการมีกระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องที่ยาวกว่ากระดูกต้นขาหลัง บ่งบอกว่าไดโนเสาร์พวกนี้เป็นนักวิ่งที่มีประสิทธิภาพ
1
การพบฟอสซิลของพวกมันนับสิบตัวในแหล่งขุดค้น อาจสันนิษฐานได้ว่าพวกมันน่าเป็นสัตว์ที่แพร่หลาย และอาจอยู่รวมกันเป็นฝูงเพื่อช่วยระแวดระวังภัยให้กันเฉกเช่นพวกกวางในปัจจุบัน ฟอสซิลต้นแบบของมินิโมเคอร์เซอร์ยังมีการประสานตัวของกระดูกที่ยังไม่สมบูรณ์อันเป็นลักษณะของสัตว์ที่ยังเติบโตไม่เต็มที่ สัตว์ตัวนี้มีความยาวประมาณครึ่งเมตร และน่าจะยาวได้ถึง 2 เมตรเมื่อโตเต็มที่
3
การค้นพบดังกล่าวเป็นการเพิ่มพูนข้อมูลด้านวิวัฒนาการและการกระจายตัวของไดโนเสาร์กลุ่มนี้ ผลงานวิจัยชิ้นนี้มียังความสำคัญในการให้ข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพของแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อยด้วย
นับตั้งแต่มีการตีพิมพ์ มินิโมเคอร์เซอร์ ได้รับความสนใจในโลกออนไลน์เป็นอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ ไดโนเสาร์ตัวนี้ถูกเรียกด้วยชื่อเล่นอย่างน่ารักว่า “มินิโม่” และถูกนำไปถ่ายทอดด้วยศิลปะบรรพชีวิน (Paleoart) อย่างแพร่หลาย เราจึงสามารถเห็นไดโนเสาร์ตัวนี้ในรูปลักษณ์แตกต่างกันไปการเผยแพร่ข้อมูลและเรื่องราวของ
ไดโนเสาร์ตัวนี้ยังได้รับการมีส่วนร่วมจากเหล่าเยาวชนรุ่นใหม่ของบ้านเรา นับเป็นก้าวสำคัญในการศึกษาบรรพชีวินวิทยาในประเทศไทย ที่มีความคึกคักและรอคอยการค้นพบใหม่ ๆ ในอนาคต
1
ภาพปกอันสวยงามนี้เป็นฝีมือ
ไปติดตามกันได้เลย
เอกสารอ้างอิง
Manitkoon, Sita; Deesri, Uthumporn; Khalloufi, Bouziane; Nonsrirach, Thanit; Suteethorn, Varavudh; Chanthasit, Phornphen; Boonla, Wansiri; Buffetaut, Eric (2023). A New Basal Neornithischian Dinosaur from the Phu Kradung Formation (Upper Jurassic) of Northeastern Thailand. Diversity. 15 (7): 851. doi:10.3390/d15070851.
โฆษณา