5 ส.ค. 2023 เวลา 00:00 • หนังสือ

บทความ Blockdit ตอน ภควัทคีตา บทเพลงแห่งปรมาณู

ในปี 1965 ยี่สิบปีหลังจากการทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่สองเมืองในญี่ปุ่น ออพเพนไฮเมอร์ให้สัมภาษณ์ว่า “I am become Death, the destroyer of worlds.”
4
ยกมาจากคำพูดของพระกฤษณะคัมภีร์ฮินดูโบราณเรื่อง ภควัทคีตา
4
ภควัทคีตา (ออกเสียง พะ-คะ-วัด-คี-ตา) แปลตรงตัวว่าบทเพลงของพระเจ้า (ภควัทแปลว่าพระเจ้า คีตาแปลว่าบทเพลง) เป็นท่อนหนึ่งของ มหาภารตะยุทธ หนึ่งในสองมหากาพย์เทพปกรณัมยิ่งใหญ่ของอินเดีย เคียงคู่กับ รามายณะ แต่งขึ้นหลายร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช
3
มหาภารตะเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก ประมาณ 90,000 โศลก แต่งโดยวยาสะ (Vyasa) ส่วนภควัทคีตายาว 700 บท เขียนด้วยภาษาสันสกฤต สืบรากเหง้ามาจากคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นพระเวทเล่มหนึ่งของฮินดูโบราณ
2
มหาภารตะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานเทพ การสงคราม หลักปรัชญา เรื่องยังประกอบด้วยเรื่องย่อยแยกแตกหน่อออกไปหลายเรื่อง เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนลคำหลวง ฯลฯ ทั้งหมดสอดแทรกปรัชญา ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ภูมิศาสตร์ ศิลปะ ฯลฯ จึงจัดเป็นหนังสือสำคัญเล่มหนึ่งของโลก
3
เนื้อหาของมหาภารตะคือสงครามระหว่างญาติพี่น้องสองฝ่าย คือฝ่ายเการพและปาณฑพ เการพเป็นตัวแทนฝ่ายอธรรม ปาณฑพเป็นตัวแทนของฝ่ายธรรม
1
ในเรื่องเกิดมหาสงคราม ณ ทุ่งกุรุเกษตร คือการต่อสู้ระหว่างธรรมกับอธรรม ก่อนเข้าสมรภูมิ อรชุนนักรบฝ่ายปาณฑพเกิดความท้อใจ เพราะฝ่ายข้าศึกมีแต่ญาติ มิตร ครูอาจารย์ จึงไม่ปรารถนาจะฆ่าฟัน ทำให้สารถีรถม้าศึกของอรชุนคือพระกฤษณะต้องชี้เหตุผลให้เข้ารบ
5
พระกฤษณะเป็นภาคหนึ่งของวิษณุ เทพองค์หนึ่งของฮินดู เป็นหนึ่งในพระเจ้าสามองค์ที่เรียกว่า ตรีมูรติ (Trinity - นามที่ออพเพนไฮเมอร์ใช้เป็นรหัสระเบิดปรมาณู) ประกอบด้วย พระพรหม (ผู้สร้าง) พระวิษณุ (ผู้รักษา) พระศิวะ (ผู้ทำลาย)
5
พระกฤษณะสอนอรชุนสองเรื่อง เรื่องแรกคือมนุษย์ทั้งหลายประกอบด้วยร่างกายและอาตมัน (วิญญาณ) ร่างกายสลายได้ แต่อาตมันดำรงอยู่นิรันดร์ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องเศร้าโศกที่ฆ่าฝ่ายศัตรู เพราะอาตมันยังอยู่
6
เรื่องที่สองคือทางเข้าสู่โมกษะ หรือทางหลุดพ้น
3
ทางไปสู่ความหลุดพ้นในแนวคิดภควัทคีตามีหลายทาง คือทางแห่งความรู้ ทางแห่งกระทํา ทางแห่งญาณ ทางแห่งการสละกรรม ทางแห่งโยคี แต่ทางแห่งกระทําสำคัญอย่างยิ่ง
5
ขณะที่อุปนิษัทสอนให้มนุษย์มุ่งหาความหลุดพ้นของตัวเอง ภควัทคีตาสอนว่ามนุษย์ควรคํานึงถึงสังคมด้วย
3
อรชุนควรทำตามหน้าที่ หรือกรรม (action) ในเมื่อเขาอยู่ในวรรณะนักรบ ก็รบ
3
ภควัทคีตา
บางหน้าที่และการกระทำเลี่ยงไม่ได้ แต่หากกระทำโดยไม่มุ่งหวังผลตอบแทน ก็จะเป็นหนทางสู่โมกษะ
3
อรชุนขอให้พระกฤษณะเผยโฉมจริงให้เขาดู พระกฤษณะจึงต้องให้ตาทิพย์แก่อรชุนเพื่อที่จะสามารถเห็นร่างแท้จริงของพระเจ้าได้ ปรากฏว่าโฉมจริงของพระวิษณุนั้นน่าสะพรึงกลัว มีปากและนัยน์ตามากมาย แขนสามารถโอบอุ้มทั้งจักรวาลได้ ฉากนี้บรรยายพระวิษณุว่า “If the radiance of a thousand suns were to burst at once into the sky, that would be like the splendor of the mighty one. (หากความสว่างเจิดจ้าของตะวันพันดวงโพล่งขึ้นพร้อมกัน นั่นคือความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า)
6
เมื่อเห็นโฉมจริงของพระกฤษณะ อรชุนก็ยอมสยบ และถามว่าที่แท้จริงพระกฤษณะคือใคร กฤษณะจึงตอบว่า (ตามคำที่ออพเพนไฮเมอร์ยกมา) “I am become Death, the destroyer of worlds.”
7
คำแปลที่ตรงกว่าคือ “I am mighty, world-destroying Time.”
5
เล่ากันว่าครูผู้สอนภาษาสันสกฤตแก่ออพเพนไฮเมอร์แปล world-destroying Time ว่า ‘Death’ (D ตัวใหญ่ ที่ปกติหมายถึงยมทูต)
2
คำว่า Time หรือกาล ปกติแปลว่า เวลา แต่ยังมีอีกความหมายคือความตาย เช่น กาลกิริยา แปลว่าความตาย ทว่าในที่นี้น่าจะหมายถึงช่วงเวลา ในบริบทนี้คือช่วงเวลาแห่งการทำลาย
1
ประโยคนี้จึงอาจมีความหมายว่า “เราคือห้วงยามแห่งการทำลายล้างจักรวาล (worlds)” เพราะในแนวคิดฮินดู พระเจ้ามิได้มีหน้าที่แค่สร้าง แต่รวมการทำลายด้วย
4
พระกฤษณะบอกอรชุนว่า พระเจ้าคือกาล (Time) ซึ่งกําลังทําลายโลก ต่อให้อรชุนไม่รบ เหล่านักรบก็คงถูกกาลทําลายเช่นกัน
3
พระกฤษณะเผยโฉมจริงให้อรชุนดู
(บางคนตีความว่า Time ก็คือ entropy ที่กลืนกินสรรพสิ่ง)
1
นักปรัชญาอังกฤษ อลัน วัตต์ส อธิบายตรงนี้ว่า ความหมายที่พระกฤษณะต้องการบอกคือ ชัยชนะหรือพ่ายแพ้เป็นเรื่องเดียวกัน การต่อต้านการฆ่าเพราะกลัวการฆ่า มิใช่ต่อต้านการฆ่าอย่างแท้จริง
2
ถ้าเรายังเป็นทาสความกลัวและความปรารถนา เราก็ไม่สามารถกระทำเรื่องที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมจริงๆ
4
ใครก็ตามที่คิดทำดีเพราะความกลัว ความดีนั้นก็คือความไม่ดีหรือความชั่วร้าย
3
พระกฤษณะสอนว่าให้กระทำโดยไม่หวังว่าเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี หรือกระทำโดยไร้แรงจูงใจ (act without motive)
6
พูดแบบเต๋าก็คืออู๋เหวย
2
แต่คนส่วนใหญ่กระทำโดยไร้แรงจูงใจไม่ได้ ตรงกันข้าม เราตัดสินการกระทำจากแรงจูงใจเสมอ เป็นแรงจูงใจที่มาจากรากเหง้าของเรา วัฒนธรรม ศีลธรรม ฯลฯ
3
แต่ถ้าโลกไม่มีการกระทำโดยไร้แรงจูงใจ มันก็ไม่มีการกระทำอย่างอิสระและถูกศีลธรรมเช่นกัน เพราะเมื่อเรากระทำเพราะแรงจูงใจ การกระทำก็ไม่ใช่การกระทำ (action) อีกต่อไป แต่เป็นปฏิกิริยา (reaction)
6
การกระทำเพื่อความดีจึงไม่ใช่การกระทำที่เป็นอิสระจริงๆ
2
เมื่ออรชุนเข้าใจความนี้ ใจก็เป็นอิสระ และเข้ารบในสงคราม ผลก็คือฝ่ายปาณฑพชนะสงคราม
2
ออพเพนไฮเมอร์ก็เปรียบการสร้างระเบิดปรมาณูทำลายล้างโลกกับคำสอนของพระกฤษณะใน ภควัทคีตา นั่นคือความตายเป็นเพียงมายา ไม่มีการตาย ไม่มีการเกิด และเขาทำตามหน้าที่ของเขาคือสร้างอาวุธปรมาณู
6
ดูเหมือนข้อความจาก ภควัทคีตา จะทำให้ใจของออพเพนไฮเมอร์สงบลง หรือช่วยปลอบใจตัวเองได้ว่า สิ่งที่ทำไปชอบธรรมแล้ว
1
ออพเพนไฮเมอร์ไม่ใช่นักฟิสิกส์สายควอนตัมคนเดียวที่สนใจปรัชญาฮินดูโบราณ ดูเหมือนว่านักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกหลายคนก็มองเห็นความเชื่อมโยงระหว่าง ควอนตัม ฟิสิกส์ กับแนวคิดฮินดู
5
หรือระหว่าง ‘ปรมาณู’ กับ ‘ปรมาตมัน’
7
นีล บอห์ร นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก บอกว่า “ผมเข้าหาอุปนิษัทเพื่อตั้งคำถาม”
2
นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย เออร์วิน เชรอดิงเออร์ เริ่มสนใจปรัชญาอินเดียราวปี 1918 หลังจากศึกษางานของนักปรัชญาเยอรมัน อาร์เธอร์ โชปันฮาวเออร์ (Arthur Schopenhauer)
4
โชปันฮาวเออร์สนใจแนวคิดของอุปนิษัทมาก จนเขียนว่า “ในทั้งโลกนี้ไม่มีการศึกษาเรื่องใดมีประโยชน์และยกระดับจิตเท่าคัมภีร์อุปนิษัท มันเป็นการปลอบใจตลอดชีวิตของข้าพเจ้า และจะเป็นการปลอบใจต่อความตายของข้าพเจ้า”
3
โลกของควอนตัมเป็นเรื่องแปลก ใช้สามัญสำนึกและตรรกะทั่วไปไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น สภาวะแมวเป็นและตายพร้อมกันในการทดลองเรื่อง Schrodinger’s Cat ซึ่งว่าด้วยมุมมองของการสังเกต ‘ความจริง’ เกิดขึ้นเมื่อมีการสังเกต
6
พระกฤษณะสอนภควัทคีตาแก่ให้อรชุน
วิธีคิดแบบนี้ดูบ้า แต่ก็มีเงาของอุปนิษัททาบอยู่
1
นักฟิสิกส์เยอรมัน ผู้ร่วมพัฒนาระเบิดปรมาณูให้นาซี เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก ก็มองเห็นความคล้ายคลึงระหว่าง ควอนตัม ฟิสิกส์ กับอุปนิษัท เหมือนเส้นขนานคู่กัน เขาบอกว่า หลังจากสนทนาเรื่องปรัชญาอินเดีย หลายไอเดียเกี่ยวกับ ควอนตัม ฟิสิกส์ ที่ดูบ้า ก็กลับมีเหตุผลขึ้นมาทันที
5
นักวิทยาศาสตร์ นักคิด นักเขียน คาร์ล เซเกน เขียนใน Cosmos ว่า “ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาใหญ่เดียวในโลกที่อุทิศให้ไอเดียเรื่องที่ว่าจักรวาลผ่านการตายและการเกิดมากมายนับไม่ถ้วน...
2
“มันเป็นศาสนาเดียวที่สเกลเวลาตรงกันจักรวาลวิทยายุคใหม่ วงจรของมันเดินจากวันและคืนธรรมดาสู่วันและคืนของพรหมัน คือ 8.64 พันล้านปี ยาวนานกว่าอายุของโลกหรือพระอาทิตย์ และประมาณครึ่งหนึ่งของเวลานับจาก บิ๊ก แบง”
6
ชาวฮินดูโบราณมีคัมภีร์พระเวทสี่เล่มหลัก ประกอบด้วย ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอถรรพเวท และบทเสริมที่แต่งขึ้นภายหลังคือ พราหมณะ อรัณยกะ และอุปนิษัท
4
คัมภีร์อุปนิษัท มีอีกชื่อหนึ่งว่า เวทานตะ (Vedanta) แปลว่า ที่สุดแห่งพระเวท (เวท + อันตะ) เพราะแม้ว่าอุปนิษัทเป็นส่วนหนึ่งของพระเวท แต่มันกลับมีหลักปรัชญาที่แตกต่างกับปรัชญาในพระเวทเดิมซึ่งเชื่อเรื่องพระเจ้าหลายองค์เน้นความสําคัญของการบวงสรวง พิธีกรรมต่ออำนาจศักดิ์สิทธิ์ อุปนิษัทกลับไปเน้นที่ความจริงสูงสุด (ultimate reality) หรือพรหมัน ซึ่งเป็นรากฐานของจักรวาล
5
พรหมันก็คือสิ่งที่เราทุกคนเป็น
3
อุปนิษัทมีจุดหมายสําคัญคือสอนให้มนุษย์เข้าสู่สภาวะเป็นหนึ่งเดียวกับพรหม ผู้เข้าถึงโมกษะจะไปอยู่กับพรหมชั่วนิรันดร์ โมกษะจึงเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต ของชาวฮินดู
4
อุปนิษัทสอนเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติแห่งความจริง จิต และวิญญาณ
2
ในทางฮินดู วิญญาณหรืออาตมันไม่เป็นเอกเทศเหมือนแนวคิดตะวันตกที่เชื่อว่าวิญญาณเป็นตัวตนเอกเทศ ฮินดูเชื่อว่าวิญญาณคือส่วนที่เป็นอมตะของมนุษย์ อุปนิษัทเรียกว่า อาตมัน
1
หลายอารยธรรมในโลกสอนเราให้ทำดีเพื่อชาติหน้าที่ดีกว่า หรือสวรรค์ แต่ปรัชญาฮินดูเห็นว่า ทุกอย่างมีอายุขัยของมัน แม้แต่กรรมดี หากไปเสวยสุขบนสวรรค์ ก็มีเวลาจบลง ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิด
3
ดังนั้นอาจดีกว่าถ้า “มุ่งเหนือสวรรค์” เชื่อมกับพระเจ้าสูงสุด เพื่อหลุดพ้นจากเวียนว่ายตายเกิด
1
พรหมันคือตัวตนสากล หรือความจริงสูงสุดเอกเทศ หรือหรือปรมาตมัน (ปรม + อาตมัน) อาตมันสูงสุด เป็นต้นกำเนิดและที่รวมของทุกสิ่งในจักรวาล
2
ส่วนอาตมันคือตัวตนภายในของแต่ละคน หรืออาจใช้คำที่ใกล้เคียงที่สุดว่าวิญญาณ
2
ตามแนวคิดของอุปนิษัทและภควัทคีตา ตัวตนสากลนั้นมีเพียงหนึ่งเดียว เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของมัน
1
พูดง่ายๆ คือ พรหมันก่อเกิดสรรพสิ่ง ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไร้ชีวิต ตัวตนของสรรพสิ่งคือสิ่งเดียวกัน ตามคำกล่าว “ตต ตวม อสิ” (Tat Tvam Asi) แปลตรงตัวว่า “นั่นก็คือเจ้า” (That you are) หมายความว่าพรหมันกับอาตมันเป็นเรื่องเดียวกัน (เหมือนสสาร = พลังงาน)
4
อาตมันแยกมาจากพรหมัน แต่โดยเนื้อแท้ก็เป็นอย่างเดียวกัน
1
เชรอดิงเออร์ชอบไอเดียนี้ จึงเขียนสมการ “Atman = Brahman” (อาตมัน = พรหมัน)
1
และตั้งชื่อหมาของเขาว่าอาตมัน
2
เรารู้เรื่องนี้ไปทำไม?
1
หากเราไม่สนใจเรื่องนี้ในมุมของประวัติศาสตร์อารยธรรมหรือศาสนา เราก็อาจใช้ประโยชน์จากแนวคิดนี้ได้ เราอาจยืมวิธีคิดแบบภควัทคีตามาใช้ในชีวิตก็ได้ เรามิจำเป็นต้องเข้าสู่สนามรบแบบอรชุน แต่มองเป็นนามธรรม นั่นคือการต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายในใจ ไม่ใช่ที่สนามรบ
1
เการพเป็นสัญลักษณ์ของอํานาจฝ่ายต่ำ ปาณฑพเป็นสัญลักษณ์ของอํานาจฝ่ายสูง มนุษย์ทุกคนมี ‘กฤษณะ’ ภายในตัว ชี้ทางสว่างให้เรา เรามีความดีของ ‘พระเจ้า’ แฝงอยู่ คือพลังงานดี คือความเมตตา การให้อภัย ความสันโดษ
1
หากเรามองผ่านหนังเรื่อง Star Wars อำนาจฝ่ายสูงก็คือ The Force อำนาจฝ่ายต่ำคือ The Dark Side มนุษย์ทุกคนเรายืนอยู่ตรงกลาง และระวังไม่ให้ถูก The Dark Side กลืนกิน
3
สมณะสายภควัทคีตาท่านหนึ่งกล่าวว่า “อาตมันก็คือพระเจ้าในตัวเรา (inner divinity) อาตมันสมบูรณ์ในตัวเอง มันก็คือแหล่งกำเนิดความสุขจริง”
4
เรามีความสุขอยู่ในตัวอยู่แล้ว แต่มันถูกบดบังด้วยเมฆหมอกแห่งกิเลสตัณหา
14
ไม่ว่าท้ายที่สุดแล้ว อาตมันของเราจะกลับไปสู่รูปอื่น หรือว่าสูญสลายไป ปรัชญานี้ก็ยังอาจเป็นเครื่องมือที่ดีในการใช้ชีวิต
4
บางทีบทเพลงแห่งควอนตัมนั้นก็คือบทเพลงแห่งชีวิตของเรา
2
นี่อาจเป็นเหตุผลที่ป้ายหลุมศพของ เออร์วิน เชรอดิงเออร์ เขียนด้วยลายมือของเขา ข้อความท่อนหนึ่งว่า “...ดังนั้นสรรพสิ่งคือสิ่งเดียว และเมื่อมันสืบเนื่องเช่นนั้น เมื่อสิ่งหนึ่งตาย ก็มิได้สูญสลายไป”
5
และมันก็เป็นบทเพลงแห่งชีวิตที่งดงาม
2
ป้ายหลุมศพของ เออร์วิน เชรอดิงเออร์
โฆษณา