แผนดีแค่ไหนสุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับ "การตัดสินใจ" ซึ่งต้องใช้ความกล้าหาญ

คุณสมบัติการเป็นผู้นำในลำดับที่สี่ของซุนวูคือ ความกล้าหาญ
แม่ทัพ หมายถึง ผู้นำเหล่าทัพซึ่งเปี่ยมด้วยสติปัญญา รักษาสัจจะวาจา มีเมตตาธรรม มีความกล้าหาญ และเคร่งครัดเที่ยงธรรม
ซุนวู
ความกล้าหาญของซุนวูไม่ใช่ความบ้าบิ่น มุทะลุ หรือห้าวหาญแบบหนังบู๊ หากพิจารณาลำดับของความกล้าหาญจัดอยู่ในระดับที่สี่ ความกล้าหาญจึงเป็นสิ่งที่ควรถูกกรองมาพอสมควรก่อนจะมาถึงในลำดับนี้ได้
สำหรับซุนวู ความกล้าหาญคือการตัดสินใจผสมกับการวางแผน ความเด็ดขาดที่จะตัดสินใจ ไม่ลังเล คนบางคนมัวแต่วางแผนไม่ตัดสินใจสักที นั่นเป็นเพราะ ขาดความกล้าหาญนั่นเอง ตัดสินใจอะไรไม่ได้ ผลงานจึงไม่เกิด งานจึงไม่เดินหน้า
แต่ต่อให้ตัดสินใจเป็น แต่พอสถานการณ์ดำเนินไปย่อมมีสิ่งที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแผนอยู่แล้ว ก็จะมีประเด็นเรื่องความเด็ดขาดเข้ามา ความเด็ดขาดเองก็ต้องใช้ความกล้าหาญเช่นกัน
ในความเป็นจริงไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ตามแต่ต้องมีส่วนที่เราต้องเสียสละ ก็เพราะโลกใบนี้ไม่มีชัยชนะที่แน่นอน ถ้าไม่กล้าก็ไม่มีทางประสบความสำเร็จ
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองนายพล ดไวต์ เดวิด ไอก์ ไอเซนฮาวร์ เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรป และเป็นผู้วางแผนและควบคุมการบุกฝรั่งเศสและเยอรมนี
การรุกรานนอร์ม็องดี ในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
กองกำลังสัมพันธมิตรยกพลข้ามช่องแคบอังกฤษมายึดหัวหาดนอร์มังดีในฝรั่งเศสที่กองทัพเยอรมันยึดมา โดยการส่งกำลังพล 160,000 นาย ยกพลขึ้นบกในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.1944
ในคืนวันที่ 5 มิถุนายนในปีนั้นนายพลไอเซนฮาวร์ได้เตรียมสุนทรพจน์เพื่อกระตุ้นให้กำลังพลทำหน้าที่อย่างกล้าหาญ ในตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ว่า
“ข้าพเจ้ามั่นใจในความกล้าหาญ ความทุ่มเทและความสามารถในการรบของท่าน เราจะไม่ยอมรับผลลัพธ์อย่างอื่นนอกเหนือไปจากชัยชนะอย่างสมบูรณ์เท่านั้น”
แต่เบื้องหลังของสุนทรพจน์นี้คือความหนักอึ้งของตัวนายพลไอเซนฮาวร์เองที่ต้องแบกรับกับ "ชัยชนะเท่านั้นไม่มีผลลัพธ์อื่น"
แต่ในเวลานั้นว่ากันว่าท่านนายพลได้เตรียมสุนทรพจน์อีกฉบับไว้กับตัวสำหรับการขอรับผิดแต่เพียงผู้เดียวในกรณีที่ปฏิบัติการล้มเหลว
ในปฏิบัติการการครั้งนี้ก็อาจจะไม่ได้ราบรื่นมากนักเพราะทางฝ่ายเยอรมันเองก็เตรียมการรับมือมาเป็นอย่างดีมากๆ ว่ากันว่าเป็นการสู้รบที่ดุเดือดที่สุดหนึ่งในสงครามครั้งนั้น แต่ด้วยเพราะปฏิบัติการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรค่อยๆสามารถขยายพื้น บนแผ่นดินยุโรปจนทำลายกองกำลังของเยอรมัน และสามารถชนะเยอรมันได้ในที่สุด
นายพลไอเซนฮาวร์ได้เคยกล่าวถึงเหตุการณ์นี้ในหนังสือของตัวเองที่ชื่อว่า Crusade in Europe ต่อเหตุการณ์ตัดสินใจครั้งนี้ไว้ประมาณว่า เบื้องหลังการตัดสินใจนี้มีชีวิตของทหารมีชีวิตของทหารนับล้านเป็นเดิมพัน ในประวัติศาสตร์จะจากลึกเขาไว้ว่า ไม่เป็นจำเลยของเหตุการณ์นี้ ก็เป็นผู้สร้างคุณูปการแก่ประเทศ ไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบใดๆได้เลย
จากเรื่องราวของนายพลไอเซนฮาวร์ ความกล้าหาญนั้นมาพร้อมกับความที่ต้อง "แบกรับ" ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หากวันนั้นท่านนายพลไม่อนุมัติปฏิบัติการขึ้นมา เหตุการณ์ของสงครามก็อาจจะไม่เป็นอย่างที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ก็ได้
กล้าหาญ เด็ดขาด ตัดสินใจ แบกรับทุกผลลัพธ์
อ้างอิงสุนทรพจน์จาก
โฆษณา