3 ส.ค. 2023 เวลา 02:19 • ปรัชญา
จริงๆแล้วคำถามนี้ตอบง่าย
แต่ไม่มีใครเลยที่จะตีความหมายของคำแต่ละคำ ทำไมเราไม่ตีความหมายของคำคำนั้นเสียก่อน
อย่างเช่นคำว่า"เสีย"น่ะ มันหมายถึงอะไร
มันหมายถึง พัง ใช้การไม่ได้ ชำรุด ผิดปกติ
ส่วนคำว่า"คน" นั้นน่ะ
มันเป็นคำของคนโบราณที่ตั้งขึ้นมา ที่ใช้เรียกบุคคล มันมีที่มาจากคำกิริยา คำว่า"คน"มันก็คือกิริยาที่ใช้ คน กวน ตีให้ผสมปนเป วุ่นวาย
คนโบราณใช้คำว่า"คน"เรียกเป็นบุคคล เพราะเขาเข้าใจว่า"คน" มันวุ่นวาย มันซับซ้อน ยุ่งเหยิง
ภาษาไทยแบบตรงตัวที่ใช้เรียกคำว่า"คน" จึงตีความหมายของคนไปในตัวคือ วุ่นวาย
คำว่า"คน" กับคำว่า"มนุษย์" ไม่เหมือนกัน
คำว่า มนุษย์ เป็นคำมาจากภาษาบาลีว่า มนุสฺส (อ่านว่า มะ-นุด-สะ) มีรากศัพท์ มาจากคำว่า มน (ใจ) + อุสฺส (สูง) สำเร็จรูปเป็น มนุสฺส แปลว่า ผู้มีใจสูง
ทีนี้คำว่า"เสียคน" คือ
"ความวุ่นวายที่พัง คือการสูญเสียกิริยา จากความหมายของคำว่า"คน" คือความยุ่งเหยิงนั้นหมดไป
ดังนั้นสิ่งที่ทำให้"เสียคน"คือความไม่วุ่นวาย
ไม่มีการกวน ไม่มีความยุ่งเหยิง นิ่งสงบไม่ซับซ้อน
อะไรทำให้"คน"เป็น"คน"
ความวุ่นวาย ความยุ่งเหยิง กวน ผสมปนเป
สิ่งเหล่านี้ทำให้"คน"เป็น"คน"
ทีนี้คนส่วนใหญ่ทั่วไป
มักเข้าใจว่า"คน"คือ"มนุษย์"
แต่แท้จริงแล้วมันไม่ใช่
มนุษย์คือ ผู้มีใจสูง
คุณธรรมของมนุษย์คือ "หิริโอตัปปะ"
คือความละอายต่อบาปทั้งปวง
คำว่าสูญเสียความเป็นมนุษย์ก็คือ
การสูญเสีย"หิริโอตัปปะ"
คือการพ่ายแพ้ให้กับ"ตัณหา"
1
ดังนั้นคำว่า"เสียคน"
จึงแปรเปลี่ยนไปได้หลายอย่าง
เสียคน ไปเป็นสิ่งที่ต่ำกว่าคน คือเดรัจฉาน
เสียคน ไปเป็นสิ่งที่สูงกว่าคน คือมนุษย์
มันขึ้นอยู่กับว่า เมื่อเรา"เสียคน"
แล้วเราจะกลายไปเป็นอะไรต่อ
1
โฆษณา