3 ส.ค. 2023 เวลา 09:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

🤔 มีแค่ PVD ก็พอไม่ต้องง้อ RMF จริงมั้ย?

เป็นคำถามที่ชาวออฟฟิศหรือพนักงานบริษัทส่วนใหญ่ยังคงไม่แน่ใจว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือ PVD ที่จะหักเงินเดือนของเราไปสะสมไว้ทุกเดือน เพื่อเป็นเงินก้อนสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณ จะพอใช้เมื่อถึงเวลาเกษียณจริงๆ มั้ยนะ?! แล้วถ้าไม่พอจะทำยังไงดี 😱
มีแค่ PVD ก็พอไม่ต้องง้อ RMF จริงมั้ย?
เป็นคำถามที่ชาวออฟฟิศหรือพนักงานบริษัทส่วนใหญ่ยังคงไม่แน่ใจว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือ PVD ที่จะหักเงินเดือนของเราไปสะสมไว้ทุกเดือน เพื่อเป็นเงินก้อนสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณ จะพอใช้เมื่อถึงเวลาเกษียณจริงๆ มั้ยนะ?! แล้วถ้าไม่พอจะทำยังไงดี 😱
🧐 ขอชวนมาหาคำตอบในโพสต์นี้กันค่ะ
🖥 รับชมคลิปเต็มๆ คลิก https://youtu.be/hyqKW-bCPUQ
👉 ดูข้อมูล RMF เพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/SSF_RMF_Pro2023
📱 เปิดบัญชีและลงทุน RMF ง่ายๆ เพียงดาวน์โหลด @ccess Mobile App คลิก https://krungsriasset.onelink.me/RUCv/z1gjyanf
👉สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงศรี โทร. 026575757
ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน | RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ | ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
ติดตามกองทุนกรุงศรี อัปเดตข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ ได้ที่
#เปลี่ยนทุกเรื่องการเงินให้เข้าใจได้ง่ายนิดเดียว #KrungsriAsset #กองทุนกรุงศรี #KrungsriTheCOACH #RMF #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ #PVD
🤔คำตอบว่าพอหรือไม่ อยู่ที่ว่าเราต้องการใช้เงินตอนเกษียณเท่าไหร่ เช่น เดือนละ 20,000 ถึงจะพอใช้ ปีนึงต้องมีเงิน 240,000 บาท ถ้าเตรียมไว้สำหรับ 20 ปีหลังเกษียณ ก็คือ 4,800,000 บาท แล้วถ้าคิดเรื่องเงินเฟ้อที่จะทำให้เงินมีค่าน้อยลงซื้อของได้น้อยลง ก็ต้องเผื่อไปอีกสักเท่าตัว
หมายความว่าต้องมีเงิน 9,600,000 บาท
คราวนี้ก็ลองเทียบดูกับเงินใน PVD ของเรา ว่าที่เราหักเงินสะสมจากเงินเดือนอยู่ทุกเดือน บวกกับกับเงินสมทบทุกเดือนของนายจ้าง และคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนของ PVD รวมกันจนถึงวันเกษียณจะมีพอมั้ย และต้องดูข้อจำกัดของ PVD ด้วย
ข้อจำกัดของ PVD
🔒 ลงทุนใน PVD ได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินเดือน ลงทุนเพิ่มตามใจตัวเองไม่ได้
🔒 ส่วนเงินสมทบของนายจ้างจะได้เต็มจำนวนหรือไม่ขึ้นกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น ต้องมีอายุงานเกิน 5 ปีถึงจะได้ทั้งหมด
🔒 บางบริษัทมี PVD ให้เลือกน้อย และอาจเน้นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนตราสารหนี้เป็นหลัก เพื่อให้ความเสี่ยงไม่สูง ผลก็คือโอกาสได้ผลตอบแทนจะไม่สูงตามไปด้วย
🤔ถ้าคิดแล้วว่า PVD ไม่น่าจะพอ ลองดู RMF เป็นตัวช่วยจะดีมั้ย
แล้วข้อดีของ RMF มีอะไรบ้างล่ะ เลื่อนดูในรูปถัดไปได้เลย👉
ข้อดีของ RMF ทีสำคัญก็คือ
✅ลงทุนได้ยืดหยุ่น จะลงทุนเท่าไหร่ เมื่อไหร่ก็วางแผนได้เอง
✅เงินลงทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ (ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร)
✅RMF มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนถึงกองทุนที่ความเสี่ยงสูงและมีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง
เราสามารถเลือกให้เหมาะกับอายุ ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวังได้ รวมทั้งปรับเปลี่ยนกองทุนให้เข้ากับความเสี่ยงของตัวเองได้ เช่น เมื่อใกล้เกษียณรับความเสี่ยงได้น้อยลง ก็สับเปลี่ยนเงินลงทุนจาก RMF ที่ลงทุนในหุ้น มาที่ RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้หรือพันธบัตรรัฐบาลแทน
👉 การวางแผนเกษียณเป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งเริ่มต้นเร็วก็จะยิ่งมีเวลาลงทุนให้เงินงอกเงยได้มากขึ้น สนใจ RMF สามารถดูข้อมูล RMF เพิ่มเติมก่อนเลือกกกองทุนที่เหมาะกับตัวเองได้ คลิกที่นี่ https://bit.ly/SSF_RMF_Pro2023
1
👉 รับชมคลิปเต็มๆ ได้ที่นี่ https://youtu.be/hyqKW-bCPUQ
📱 เปิดบัญชีและลงทุน RMF ง่ายๆ เพียงดาวน์โหลด @ccess Mobile App คลิก https://krungsriasset.onelink.me/RUCv/z1gjyanf
1
ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน | RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ | ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
#เปลี่ยนทุกเรื่องการเงินให้เข้าใจได้ง่ายนิดเดียว #KrungsriAsset #กองทุนกรุงศรี #KrungsriTheCOACH #RMF #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ #PVD
โฆษณา