3 ส.ค. 2023 เวลา 15:40 • การศึกษา

ไขควงวัดไฟทำงานอย่างไร

โย่ว! เด็กช่างทุกคน และก็คนที่ไม่ใช่เด็กช่างน่ะครับ วันนี้ผมนำเอาข้อสงสัยเล็กๆของผม ที่มีเกี่ยวกับเครื่องมือช่าง
ซึ่งเป็นเครื่องมือติดตัวของเด็กช่างไฟเกือบทุกคน นั้นคือ ไขควงวัดไฟ
เอาล่ะครับ หน้าที่ของเจ้านี้ ก็คงไม่ต้องพูดมากนัก เพราะตรงตามชื่อของมันเลย
นั้นคือ เอาไว้วัดไฟ หรือก็คือไฟฟ้า ที่ตัวนำต่างๆ เพื่อตรวจเช็คเบื้องต้น เพราะหากอยากรู้มากกว่านี้ ก็คงต้องใช้เครื่องมือที่เจาะจงกว่านี้
เรียกได้ว่า เจ้าไขควงนี้ ก็มีหน้าที่ตวจสอบเบื้องต้น คล้ายกับการจับชีพจร
เราสามารถรู้ได้ทันทีว่าเรามีชีพจร เพียงแค่ใช้นิ้ว แตะไปที่จุดที่ถูกต้อง แต่หากอยากจะรู้อัตตราการเต้นที่แน่นอน ก็คงต้องใช้เครื่องวัดที่เจาะจงกว่าานี้
เช่นเดียวกันกับไขควงวัดไป ที่เมื่อวัดแล้ว ก็รู้เพียงแค่ว่า ตัวนำที่เราวัดนั้น มีไฟฟ้าหรือไม่ แต่หากอยากรู้ค่าที่เจาะจง ก็คงต้องใช้เครื่องมือที่เจาะจงกว่านี้เป็นต้น
เกริ่นไปยาวล่ะ สละ เอ่ย สาระสำคัญอยู่ตรงนี้
หลังจากที่ผมเกิดคำถามที่ว่า ไขควงวัดไฟ แล้วมันวัดได้อย่างไร? ทำไมต้องใช้นิ้วแตะที่ตูดของไขควงด้วย?
จึงได้เข้าไปสอบถาม อาจารย์GOO และได้คำตอบมา ซึ่งผมจะอธิบายตามแบบฉบับความเข้าใจของผมน่ะครับ
ไอเจ้าไขควงวัดไฟนี้ ภายในมันประกอบไปด้วย ปลายไขควง,ตัวต้านทาน,หลอดนีออน,สปริง และจุดสัมผัสที่ทำจากโลหะ
เอาล่ะครับ หลักการทำงานของเจ้านี้ ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่ผมคิด มันง่ายแสนง่าย คล้ายกับการเทน้ำจากที่สูง ลงสู่ที่ต่ำนั้นล่ะครับ(แค่เปรียบเล่นๆน่ะครับ)
การทำงานของเจ้านี้ คือการที่ เมื่อเรานำปลายไขควง ไปจิ้มที่ตัวนำ(ที่เราต้องการวัด เช่น ทองแดง เหล็ก ไม้)
ซึ่งหากตัวนำนั้น มีศักย์ไฟฟ้าอยู่ล่ะก็ (ศักย์ไฟฟ้า ก็คือไฟที่เป็นบวก และไฟที่เป็นลบ ซึ่งเจ้าพวกนี้ จะแบ่งเป็นสองอย่าง คือ ศักย์ไฟบวกจะวิ่งจากศักย์สูงไปต่ำ ส่วนศักย์ลบนั้นจะวิ่งจากต่ำไปสูง วนลูป จนครบวงจรไฟฟ้า)
ศักย์ไฟฟ้านั้น มันก็จะวิ่งผ่านปลายไขควง สู่ตัวต้านทาน(ซึ่งเจ้านี้ ก็ทำหน้าที่ตรงตามชื่อนั้นล่ะครับ คือการต้านทานศักย์ไฟฟ้านั้นเอง)
คุณตัวต้านทานนี่เอง ก็ใช้กำลังทั้งหมดที่มีภายในตัวมันเอง กำจัดศักย์ไฟฟ้าที่ไหลมานั้น ให้เหลือน้อย ซึ่งประมาณคราวๆก็อยู่ที่ 0.1-0.2mA
และแล้ว ศักไฟฟ้าที่เหลือรอดมานั้น ก็จะวิ่งไปต่อที่หลอดนีออน ก่อนจะไปถึงที่ตัวสุดท้าย นั้นคือ จุดสัมผัสที่ทำมาจากโลหะ ซึ่งนิ้งเรากำลังแตะอยู่นั้นเอง
สาเหตุที่ทำให้ศักย์ไฟฟ้า ที่อยู่ที่ตัวนำนั้น วิ่งมาตามปลายไขควงได้ นั้นก็เพราะตัวเราเอง ทำหน้าที่เป็นสื่อ ซึ่งนั่นคือการอาศัยค่าความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า ที่ตามหลักแล้วกระแสไฟฟ้าจะไหลจากจุดที่มีศักย์มากไปยังจุดที่มีศักย์น้อยกว่านั้นเอง
ในย่อหน้าก่อนนี้ หากใครสงสัย ก็เก็บความสงสัยไว้ก่อน ไว้มีโอกาส ผมจะมาสานต่อเรื่อง ความต่างศักย์ทางไฟฟ้าอย่างแน่นอน
สุดท้ายนี้ คงเข้าใจกันแล้วสิน่ะครับ ว่าเจ้าไขควงวัดไฟนี้ มันทำงานอย่างไร และทำไมต้องใช้นิ้วแตะที่ตูดไขควงด้วย
ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาถึงตรงนี้น่ะครับ ใครถึงตรงนี้แล้ว กดคอมเม้น 1 ให้ผมด้วยน่ะ
และคิดเห็นอย่างไร ข้อมูลผิดพลาดประการใด ช่วยกันคอมเม้นต์ด้วยน่ะครับ
และภาพสวยๆจาก https://carpenterblogs.blogspot.com/2015/04/blog-post_4.html
โฆษณา