9 ส.ค. 2023 เวลา 11:00 • การศึกษา

## Episode55: Kinesiology of lumbar spine#11

Biomechanical issues of lifting ##
.
การปวดหลังจากการก้มยกของผิดท่า เป็นสาเหตุหนึ่งที่เราพบได้บ่อยๆ เพราะการยกของหนักนั้นจะเกิดการstrainต่อร่างกายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในlumbosacral region การบาดเจ็บจะเกิดขึ้นเมื่อแรงstrainนั้นมากเกินกว่าที่structureทั้งmuscle, ligament, jointจะรับไหว ในบทความนี้ผมจะมาพูดถึงmechanicของการยกของกันครับ
เมื่อเราต้องลงไปยกของที่อยู่ที่อยู่ต่ำๆ จะมีการทำงานของextensor muscle ซึ่งออกแรงมากเท่าไหร่ก็ขึ้นกับpositionของหลังและน้ำหนักของที่ยก แรงจากกล้ามเนื้อนั้นก็จะผ่านไปยังstructureโดยรอบในlower back ซึ่งแรงที่ส่งผ่านไปนั้นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ โดยเฉพาะในคนที่ต้องมีการยกของต่อเนื่องซ้ำๆ
ถ้าเราเปรียบเทียบท่าทางการยกของ2ท่าที่เราเจอกันได้บ่อยๆคือ stoop lift และsquat lift
.
stoop lift คือการก้มตัวไปทางด้านหน้าโดยการflex lumbar ทำให้เกิดexternal moment armมาก กล้ามเนื้อกลุ่มextensor muscleจึงต้องออกแรงเยอะด้วย การยกของในท่านี้จะทำให้เกิดcompression forceและshear forceต่อdiscมาก จึงเป็นท่าหนึ่งที่มักเป็นสาเหตุของการเกิดHNPด้วยครับ
ส่วนในท่าsquat lift จะเป็นการลงไปยกของผ่านการflex hipและknee joint โดยที่lumbar อาจจะอยู่ในท่าneutral หรือslightly flexionก็ได้
เมื่อเทียบกับท่าstoop liftนั้น squat lift จะมีexternal moment armที่สั้นกว่าเพราะloadจะตกผ่านระหว่างknee jointทั้ง2ข้าง ทำให้ลดแรงที่extensor muscleต้องทำงาน แต่จะใช้การทำงานของกล้ามเนื้อquadricepsที่ช่วยเหยียดเข่ามาทำงานแทน จึงลดความเสี่ยงการบาดเจ็บหลังไปในตัว โดยรวมsquat liftจึงเป็นท่าliftingที่ปลอดภัยกว่าครับ
นอกจากเรื่องของpositionการยกของแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆที่มีผลที่มีผลต่อการทำงานของback muscleตอนที่เรายกของ เช่น
- Lifting velocity ความเร็วในการยกของ การยกแบบช้าๆจะใช้การทำงานของกล้ามเนื้อที่น้อยกว่า
- External load ก็คือน้ำหนักของของที่เรายก ถ้าเรายกของที่มีน้ำหนักมาก ก็ต้องมีการใช้งานกล้ามเนื้อที่มากกว่า
- External moment arm การยกของให้ชิดตัวมากขึ้น จะทำให้external moment armสั้นลง กล้ามเนื้อก็จะทำงานน้อยลง
- Internal moment arm การที่เราkeep positionหลังให้อยู่ในnormal lordotic curve จะเพิ่มInternal moment arm กล้ามเนื้อก็จะทำงานน้อยลงด้วยครับ
Extension torque ที่เกิดตอนที่เราlifting นอกจากจะมากจากextensor muscle contractionแล้ว ยังเกิดขึ้นได้จากpassive tensionคือแรงตึงของligamentที่อยู่ด้านหลัง ป้องกันไม่ให้spineเกิดflexionมากเกินไป อีกส่วนหนึ่งคือเกิดจากtensionของthoracolumbar fascia ซึ่งเกิดขึ้นเวลาที่มีการtransferแรงของกล้ามเนื้อtransversus abdominis, internal oblique, latissimus dorsiผ่านไปบนthoracolumbar fasciaครับ
สุดท้ายคือเมื่อเรายกของที่มีน้ำหนักมากขึ้น จะมีการเพิ่มขึ้นของintra-abdominal pressureจากการทำงานของabdominal muscle การเพิ่มขึ้นของintra-abdominal pressureก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยstabilizeในlumbar regionได้ด้วยครับ
โดยสรุปก็คือถ้าต้องการยกของให้มีความปลอดภัย ก็คือต้องkeepหลังให้อยู่ในneutral position, ยกของให้ชิดตัวใช้การย่อเข่าเล็กน้อยเพื่อลดexternal moment arm ใช้กล้ามเนื้อเข่าเข้ามาช่วยและสุดท้ายคือประเมินlimitของตัวเองว่าของที่จะยกนั้นหนักเกินไปไหมด้วยนะครับ
ทั้งหมดนี้ก็คือmechanicsที่เกิดขึ้นที่หลังส่วนล่างเวลาที่เรายกของ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจกลไกในสิ่งที่เรานำไปสอนคนไข้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บนะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/ หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/ ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2016). Kinesiology of the Musculoskeletal System: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
Foster, M. A. (2019). Therapeutic Kinesiology: Musculoskeletal Systems, Palpation, and Body Mechanics (1st ed.). Pearson.
โฆษณา