Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
5 ส.ค. 2023 เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
"ต้นแก้มขาว" กับใบเลี้ยงดอกที่ขาวเด่นเป็นเอกลักษณ์
ชื่อเรียกอื่นของต้นแก้มขาว ได้แก่ แก้มอ้น ใบต่างดอก ดอนย่าป่า กำเบ้อ กะเบ้อขาว ผีเสื้อ พอแต Butterfly Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mussaenda sanderiana Roxb.
ชื่อวงศ์เข็ม: RUBIACEAE
ต้นแก้มขาวไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามรูปรี โคนมีขนอ่อนนุ่ม มีหูใบ ดอกสีเหลืองสดถึงเหลืองส้มออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่งกลีบดอกเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 มีใบประดับใหญ่ 1 กลีบ สีขาวนวลรูปรี ผลรูปไข่ขนาดเล็กเมล็ดจำนวนมาก
การกระจายพันธุ์ของต้นแก้วขาว มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรอินโดจีน พบมากตามชายป่าดิบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและพบได้ตามป่าดิบเขา หรือป่าดิบแล้งทั่วทุกภาคของไทย ชอบที่ชุ่มชื้นมีแดดปานกลาง
ประโยชน์ของต้นแก้มขาวเป็นทั้งไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป และมีสรรพคุณทางยา โดยต้นแก้มขาวสามารถพบเห็นได้ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติเขาสก โดยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นสีขาวนั้น คือ ใบเลี้ยงของดอก สีขาวนวลรูปรี ที่ทำให้เป็นสะดุดแก่ผู้พบเห็น ถือเป็นสีสันที่ธรรมชาติสร้างขึ้นอย่างสวยงาม
ที่มา : อุทยานแห่งชาติเขาสก สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี)
#อุทยานแห่งชาติเขาสก #สุราษฎร์ธานี #ต้นแก้มขาว #กรมอุทยานแห่งชาติ
ท่องเที่ยว
สิ่งแวดล้อม
สื่อทางเลือก
1 บันทึก
8
1
1
8
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย