Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ครูต้วย อยากลาออกไปเที่ยว
•
ติดตาม
4 ส.ค. 2023 เวลา 19:11 • ท่องเที่ยว
สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรี "อยุธยา"
"อยุธยา" เมืองเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ครูต้วยเชื่อว่าทุกคนคงรู้จักชื่อนี้เป็นอย่างดี และหลายคนคงมาเยือนจังหวัดนี้แล้วเพราะเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องการท่องเที่ยวของประเทศไทย แต่ถ้าใครที่ยังไม่มีโอกาสได้ไปหรือกำลังวางแผนที่จะไป เดี๋ยวครูต้วยอาสาพาคุณนั่งรถไฟเยือนอยุธยาด้วยกันเองครับ
ข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรี "อยุธยา"
ข้อมูลจาก virtualhistoricalpark.finearts.go.th
"อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา" เป็นหน่วยงานที่ดูแลรักษาโบราณสถานในพื้นที่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของอดีตราชธานีอันยิ่งใหญ่ คือ กรุงศรีอยุธยา ประกอบไปด้วยพื้นที่เกาะเมืองที่มีแม่น้ำล้อมรอบ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี รวมทั้งพื้นที่โดยรอบเกาะเมือง อันประกอบไปด้วยโบราณสถานประเภทพระราชวัง ศาสนสถาน สะพานโบราณ ย่านการค้าโบราณ รวมทั้งร่องรอยชุมชนชาวต่างชาติ โดยมีโบราณสถานไม่ต่ำกว่า 300 แห่ง
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรี "อยุธยา"
กรุงศรีอยุธยาเริ่มมีบทบาทตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่หนึ่ง หรือพระเจ้าอู่ทอง สถาปนาเมื่อพุทธศักราช 1893 ต่อมาอาณาจักรอยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ รวมทั้งดินแดนชายฝั่งทะเลทางทิศใต้ มีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 34 พระองค์ จนกระทั้งสิ้นสุดลงจากการรุกรานโดยอาณาจักรข้างเคียงในปี พุทธศักราช 2310 ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินจะทรงเปลี่ยนศูนย์กลางเมืองใหม่ไปอยู่ที่กรุงธนบุรี ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอายุยืนยาวถึง 417 ปี
จนกระทั่ง วันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2434 พื้นที่โบราณสถานสำคัญของอยุธยา ได้ถูกประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกในชื่อ “นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO)
ปัจจุบัน พื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและโบราณสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองอยุธยา ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรักษาพื้นที่
ค่าเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00 - 18.30 น.
ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท บัตรรวม 40 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท บัตรรวม 220 บาท โบราณสถานที่เสียค่าเข้าชมประกอบด้วย โบราณสถาน 1. วัดพระศรีสรรเพชญ์ 2. วัดมหาธาตุ 3. วัดราชบูรณะ 4. วัดพระราม 5. วัดไชยวัฒนาราม 6. วัดมเหยงคณ์
การเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรี "อยุธยา"
โดยเริ่มเดินทางจากกรุงเทพมหานคร
1. รถส่วนตัว
แนะนำให้เปิด Google Maps นำทางเลยครับ พิกัด
https://goo.gl/maps/5fyTJ4XBQeYwyq9q7
2. รถตู้
ราคา 300 บาท
ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที
รถตู้ที่ออกจากสถานีมักกะสันในกรุงเทพในทุก ๆ วันและในทุก ๆ 30 นาที ระหว่าง 06:00 น. ถึง 17:00 น.
3. รถไฟ
ราคาเริ่มต้น 66 บาท
ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
โดยขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง จากสถานีกรุงเพท - สถานีอยุธยา หรืออาจจะขึ้นตามชุมทางรถไฟสถานีต่าง ๆ ก็ได้ครับ ส่วนตัวแล้วครูต้วยนะนำวิธีนี้นะ นั่งชิลล์ ๆ ได้ดูบรรยากาศของชุมชนต่าง ๆ ระหว่างการเดินทาง และจะมีอาหารอร่อย ๆ ขายตลาดทางเลยครับ
นั่งรถไฟถึงแล้วก็จะได้ถ่ายรูปกับป้ายนี้..
สำหรับทริปนี้ครูต้วยเดินทางด้วยรถไฟครับ ถ้าใครมาด้วยขนส่งสาธารณะแนะนำให้เช่ารถเที่ยวนะครับ จะเป็นรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ รถจักรยาน หรือเหมาสามล้อทั้งวันก็ได้เลยครับ
รถยนต์ : ราคาประมาณ 500-1,000 บาท/วัน แล้วแต่รุ่น
รถมอเตอร์ไซค์ : ราคาประมาณ 200-400 บาท/วัน แล้วแต่รุ่น
รถจักรยาน : ราคาประมาณ 50-100 บาท/วัน แล้วแต่รุ่น
เหมาสามล้อ : ราคาชั่วโมงละ 300 บาท เหมาครึ่งวัน ( 4 ชม.) 800 บาท เหมาเต็มวัน (08.00 – 17.00) 1,000 บาท แล้วแต่จะตกลงกันนะครับ
63 สถานที่ท่องเที่ยว "อยุธยา"
เนื่องจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีสถานที่ให้ท่องเที่ยวเยอะมากครับ เยอะมากจริง ๆ ดูจากแผนที่ท่องเที่ยวก็มีตั้ง 63 ที่แล้ว เชื่อว่าถ้ารวมร้านคาเฟ่สวย ๆ ร้านอาหารอร่อย ๆ และสถานที่พักบรรยากาศดี ๆ น่าจะเป็นหลายร้อยที่เลยครับ 😅 ครูต้วยแนะนำให้ไปสถานที่ที่คุณอยากไปก่อนนะ และถ้าไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนลองตามรอยครูต้วยไปกับ 7 สถานที่ ที่ต้องไปเยือนตามรอยครูต้วยเลยครับ 🙌
ข้อมูลจาก tourismthailand.org
วัดมหาธาตุ
ข้อมูลจาก ayutthaya.go.th
วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่มีพระปรางค์ที่สร้างในระยะแรกของสมัยอยุธยาซึ่งได้รับอิทธิพลของปรางค์ขอมปนอยู่ ชั้นล่างก่อสร้างด้วยศิลาแลงแต่ที่เสริมใหม่ตอนบนเป็นอิฐถือปูน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์ใหม่โดยเสริมให้สูงกว่าเดิม แต่ขณะนี้ยอดพังลงมาเหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น จึงเป็นที่น่าเสียดายเพราะมีหลักฐานว่าเป็นปรางค์ที่มีขนาดใหญ่มากและก่อสร้างอย่างวิจิตรสวยงามมากเมื่อ พ.ศ. 2499 พิกัด
https://goo.gl/maps/Ya4zWQk2Hs9WkjAC7
วัดมหาธาตุ
วัดราชบูรณะ
ข้อมูลจาก ayutthaya.go.th
วัดราชบูรณะ เป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. 1967 วัดราชบูรณะมีชื่อเสียงและความโด่งดังมากในเรื่องการถูกกลุ่มคนร้ายจำนวนหนึ่ง ลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน ในปี พ.ศ. 2499 และช่วงชิงทรัพย์สมบัติจำนวนมากมายมหาศาลหลบหนีไป ต่อมากรมศิลปากรเข้าทำการบูรณะขุดแต่งต่อภายหลัง พบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองจำนวนมากมาย พิกัด
https://goo.gl/maps/bcv56gNaL5KK1jge9
วัดราชบูรณะ
วัดพระศรีสรรเพชญ์
ข้อมูลจาก ayutthaya.go.th
วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือและอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา พิกัด
https://goo.gl/maps/r2dMissTSCuxyXC86
วัดพระศรีสรรเพชญ์
วัดพระราม
ข้อมูลจาก ayutthaya.go.th
เป็นวัดที่ใหญ่โตกว้างขวาง มีพระปรางค์ขนาดใหญ่เห็นเด่นชัดแต่ไกล องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐสอปูน เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมทำเป็นพระปรางค์ เพราะได้รับอิทธิพลแบบเขมรโบราณจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) วัดนี้มีบึงขนาดใหญ่อยู่หน้าวัด เมื่อมีการสร้างกรุงศรีอยุธยา คงจะมีการขุดเอาดินในหนองมาถมพื้นที่วังและวัด พื้นที่ที่ขุดเอาดินมาได้กลายเป็นบึงใหญ่ พิกัด
https://goo.gl/maps/D7zfs1KwVWHj7gUU6
วัดพระราม
วัดไชยวัฒนาราม
ข้อมูลจาก ayutthaya.go.th
เป็นวัดหนึ่ง ที่มีสถาปัตยกรรมการก่อสร้างไม่เหมือนวัดอื่น ๆ ในอยุธยา และเนื่องจากกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะตลอดมาจนปัจจุบันนักท่องเที่ยวยังคงมองเห็นเค้าแห่งความสวยงามยิ่งใหญ่ตระการตา ซึ่งผู้ไปเยือนไม่ควรพลาด วัดไชยวัฒนารามสร้างบนพื้นที่ 160 เมตรยาว 310 เมตร โดยหันหน้าเข้าแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออก กล่าวได้ว่าวัดนี้ตั้งตรงกับทิศทางคตินิยมในการสร้างวัดที่ปฏิบัติเป็นประเพณีสืบกันมา พิกัด
https://goo.gl/maps/GP5T4ZH2TsxqX7qS8
วัดไชยวัฒนาราม
ภายในพระปรางค์วัดไชยวัฒนาราม
วัดใหญ่ชัยมงคล
ข้อมูลจาก ayutthaya.go.th
วัดใหญ่ชัยมงคล ถือว่าเป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากเพราะเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ชมเจดีย์ที่สูงที่สุดในอยุธยา และวิหารพระนอน ด้านหลังวัดมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามากราบไหว้ นอกจากนี้ บริเวณรอบ ๆ ยังมีมีสวนหย่อมที่สวยงามให้พักผ่อนอีกด้วยนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเที่ยวอยุธยาจึงไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง พิกัด
https://goo.gl/maps/XRvkBA4kQqLNU9Dx9
วัดใหญ่ชัยมงคล
ตลาดน้ำอโยธยา
ข้อมูลจาก ayutthaya.go.th
ขอปิดท้ายด้วย ตลาดน้ำอโยธยา ที่เป็นจุดศูนย์รวมนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศและทัศนียภาพอันงดงามแบบไทย ๆ ด้วยการเดินชมตลาดเพื่อชิมอาหารรสชาดอร่อย ๆ เรียบคลองยาวหรือจะซื้อหาของกินของฝากบนร้านค้า ที่ตั้งเรียงรายอยู่ในเรือนไทยอันงดงาม และยังมีเรือบริการรับส่งไปยังท่าเรือภายในตลาดอีกด้วยเพื่อสะท้อนถึงวิถีการเดินทางในสมัยก่อน ซึ่งตลาดน้ำอโยธยาเปิดให้บริการทุกวัน พิกัด
https://goo.gl/maps/pqSzv9Sp9dTrRy3x9
ตลาดน้ำอโยธยา
เป็นยังไงกันบ้างครับ ไปครบ 7 สถานที่แล้ว ครูต้วยหวังว่าคุณจะได้เห็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่านะ และหวังว่าคุณจะได้รับความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ครูต้วยศึกษามาถ่ายทอดให้คุณได้อ่านอีกด้วย หวังว่าคุณจะชอบนะครับ 😅 แต่อยุธยายังมีประวัติศาสตร์อีกหลายร้อยสถานที่มากมายเลยครับ ที่รอให้คุณไปค้นหา ไปศึกษา ไปชื่นชม เพื่อเป็นการกระจายเรื่องราวออกไป ไปสู่ผู้คนที่คุณได้บอกต่อ แล้วให้เขามาที่และไปบอกต่อ ๆ กันไปเรื่อย เป็นการอนุรักษ์สถานที่แห่งนี้ไว้ ไม่ให้หายไปจากโลกแห่งความเป็นจริงและในความทรงจำ
ขอบคุณกัลยาณมิตรที่ร่วมเดินทางในทริปนี้ครับ
คุณอาจจะชวนใครสักคนที่สำคัญในชีวิตคุณ เป็นผู้ร่วมเดินทางในทริปนี้ก็ได้นะ 😊
เป็นไงบ้างครับ... เราหวังว่าคุณจะได้รู้จักเรามากขึ้นนะ และฝากติดตามเรา กดไลค์ให้เรา สำหรับการรีวิวการท่องเที่ยวแบบ "ครูต้วย" ด้วยนะครับ
สวัสดีครับ
อยุธยา
ท่องเที่ยวไทย
ลาออกไปเช็กอิน
1 บันทึก
24
9
1
24
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
โฆษณา
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย