6 ส.ค. 2023 เวลา 01:00 • สุขภาพ

เมื่อ ‘มะเร็งตับ’ ไม่ได้เสี่ยงแค่คนดื่มเหล้าเบียร์หนัก

'ชูวิทย์'ป่วย ระบุเป็น 'มะเร็งตับ' ซึ่งโรคนี้ไม่ได้เกิดในคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเท่านั้น แต่ยังพบปัจจัยเสี่ยงอีกหลายตัว อย่างเช่น เชื้อราในพริกแห้ง ควรรู้สัญญาณเตือนสิ่งผิดปกติที่ควรพบแพทย์
3
จากการที่ ชูวิทย์ป่วย ซึ่งเจ้าตัวออกมาเปิดเผยด้วยตนเองว่าป่วยเป็น มะเร็งตับ ระยะ 3 และอาจจะอยู่ได้ ราว 8 เดือนนั้น เมื่อทำการตรวจสอบพบว่าประเทศไทย มะเร็งตับ ถือเป็นมะเร็งที่ป่วยเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย
3
📌 มะเร็งตับชายไทยป่วยอันดับ 1
ประเทศไทยมะเร็งตับและท่อน้ำดีถือเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 3 ในเพศหญิงจากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย ปี 2561 พบว่ามี ผู้ป่วยมะเร็งตับ รายใหม่ 22,213 คน/ปี ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 15,650 คน/ปี (Cancer in Thailand Vol.X (2016-2018) สถาบันมะเร็งแห่งชาติและสถิติสาธารณสุข ปี 2564)
1
มะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะเร็งเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตับ โดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
2
📌 ปัจจัยมะเร็งตับ - คนเสี่ยงมะเร็งตับ
2
สาเหตุมะเร็งตับ ส่วนมากเกิดจากการเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบชนิดบี ส่วนสาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดีเกิดจากพยาธิใบไม้ตับร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีดินประสิว (ไนเตรท) และไนไตรท์ เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้มแหนม ฯลฯ
8
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ และกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งตับ คือ
1
1. ไวรัสตับอักเสบ ส่วนใหญ่ 75-80% ของผู้ป่วยมะเร็งตับเกิดในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 50-55 % และติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี 25-30% โดยผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงมากกว่าคนที่ไม่เป็นพาหะ ถึง 100-400 เท่า
8
2. เป็นโรคตับแข็ง
3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการศึกษาพบว่าถ้าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 41-80 กรัมต่อวัน จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ 1.5 เท่า
4
ถ้าดื่มมากกว่า 80 กรัมต่อวัน จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นเป็น 7.3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยกว่า 40 กรัมต่อวัน และความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับจะไม่ลดลงแม้ว่าจะหยุดดื่มแล้ว
7
4. สารอัลฟลาท็อกซิน Aflatoxin เกิดจากเชื้อราบางชนิด พบในอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด พริกแห้ง เป็นต้น ผู้ที่ตรวจพบว่ามีสารอัลฟลาท็อกซิน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ 5.0-9.1 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ตรวจไม่พบสารดังกล่าวในร่างกาย
4
📌 กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับ
1. ผู้ป่วยโรคตับแข็งทั้งเพศหญิงและชาย มีอัตราการเกิดมะเร็งตับสูงถึง 1-4 %ต่อปี
1
2. ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบบี หรือผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอดหรือวัยเด็ก และยังไม่มีโรคตับแข็ง แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงในเพศชาย อายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ
3
3. ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว
2
📌 อาการสัญญาณเตือนมะเร็งตับ
1
ผู้ป่วยมะเร็งตับแต่ละรายอาจมีการแสดงอาการแตกต่างกัน โดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก อาการมะเร็งตับ ส่วนใหญ่ที่พบ คือ
2
  • เบื่ออาหาร
  • แน่นท้องท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ
  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลด
  • มีน้ำในช่องท้อง
  • ปวดหรือเสียดชายโครงขวา
  • อาจคลำพบก้อนในช่องท้อง
  • ตัวเหลืองตาเหลือง
  • ท้องโต
  • มีอาการบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น
4
หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือดดูความผิดปกติการทํางานของตับ การตรวจระดับอัลฟาฟีโตโปรตีน การอัลตราซาวด์เพื่อดูก้อนที่ตับ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น
2
กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับ
1. ผู้ป่วยโรคตับแข็งทั้งเพศหญิงและชาย มีอัตราการเกิดมะเร็งตับสูงถึง 1-4 %ต่อปี
1
2. ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบบี หรือผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอดหรือวัยเด็ก และยังไม่มีโรคตับแข็ง แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงในเพศชาย อายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ
3
3. ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว
📌 อาการสัญญาณเตือนมะเร็งตับ
ผู้ป่วยมะเร็งตับแต่ละรายอาจมีการแสดงอาการแตกต่างกัน โดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก อาการมะเร็งตับ ส่วนใหญ่ที่พบ คือ
1
  • เบื่ออาหาร
  • แน่นท้องท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ
  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลด
  • มีน้ำในช่องท้อง
  • ปวดหรือเสียดชายโครงขวา
  • อาจคลำพบก้อนในช่องท้อง
  • ตัวเหลืองตาเหลือง
  • ท้องโต
  • มีอาการบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น
3
หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือดดูความผิดปกติการทํางานของตับ การตรวจระดับอัลฟาฟีโตโปรตีน การอัลตราซาวด์เพื่อดูก้อนที่ตับ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น
1
โฆษณา