7 ส.ค. 2023 เวลา 03:25 • ประวัติศาสตร์

“ฟรันซ์ ไรเชลต์ (Franz Reichelt)” ช่างตัดเสื้อผู้ตกจาก “หอไอเฟล (Eiffel Tower)”

หลายท่านที่เคยไปเที่ยวประเทศฝรั่งเศส น่าจะต้องเคยได้ไป “หอไอเฟล (Eiffel Tower)” ซึ่งเป็นเหมือนแลนด์มาร์คของประเทศฝรั่งเศส
แต่เคยสงสัยมั้ยครับว่าเคยมีใครมากระโดดหอไอเฟลและจบชีวิตลงมั้ย
คำตอบคือมีครับ
เราลองมาดูเรื่องราวของชายผู้นี้กัน
หอไอเฟล (Eiffel Tower)
“ฟรันซ์ ไรเชลต์ (Franz Reichelt)” เป็นช่างตัดเสื้อผู้มุ่งมั่นในการประดิษฐ์ร่มชูชีพ
แน่นอนว่าการทดสอบร่มชูชีพนั้น ก็ต้องทดสอบจากที่สูง
แล้วจะมีที่ไหนที่เหมาะไปกว่าหอไอเฟลอีกล่ะ?
แต่ก่อนอื่น เรามารู้จักเขาให้มากกว่านี้อีกหน่อยดีกว่า
“ฟรันซ์ ไรเชลต์ (Franz Reichelt)” เป็นช่างตัดเสื้อชาวฝรั่งเศส และยังเป็นนักประดิษฐ์ผู้มุ่งมั่นในการประดิษฐ์ร่มชูชีพ และนำไปทดสอบที่หอไอเฟล
1
ฟรันซ์ ไรเชลต์ (Franz Reichelt)
เขาเกิดที่ออสเตรียหากแต่อาศัยอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศสในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
ในวันหนึ่ง ไรเชลต์ได้ยินเรื่องของอุบัติเหตุที่เกิดกับนักบิน เขาจึงคิดถึงเรื่องการประดิษฐ์ร่มชูชีพ และทุ่มเทเวลาในการออกแบบร่มชูชีพที่จะช่วยให้นักบินรอดชีวิต
ร่ทชูชีพชองไรเชลต์นั้นได้รับการออกแบบพิเศษ มีไว้สำหรับนักบินโดยเฉพาะ โดยในเวลานั้น การบินยังเป็นของใหม่
อันที่จริง ในเวลานั้นก็มีการประดิษฐ์ร่มชูชีพออกมาแล้ว หากแต่ในปีค.ศ.1910 (พ.ศ.2453) ยังไม่มีร่มชูชีพสำหรับการกระโดดลงมาจากระยะที่ไม่สูงเกินไป
ไรเชลต์ได้ทำการประดิษฐ์ร่มชูชีพและนำมาลองกับหุ่น และผลที่ได้ก็ประสบความสำเร็จ หากแต่ถ้าจะนำมาใช้กับคนก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก
องค์กรที่เกี่ยวกับการบินในเวลานั้นก็ไม่มีใครยอมรับงานประดิษฐ์ของไรเชลต์ เนื่องจากร่มชูชีพของไรเชลต์นั้นบอบบาง แตกหักง่าย
คนในองค์กรยังพยายามโน้มน้าวให้ไรเชลต์เลิกล้มความตั้งใจนี้ หากแต่ไรเชลต์ก็ไม่ยอม และทำการทดลองต่อไป โดยเป็นการทดลองกับหุ่น ปล่อยมาจากชั้นห้าในอพาร์ทเม้นท์ที่พักของเขา
ในปีค.ศ.1911 (พ.ศ.2454) สมาคมเกี่ยวกับการบินแห่งหนึ่งได้เสนอเงินรางวัลจำนวน 10,000 ฟรังก์ให้กับผู้ที่สามารถออกแบบร่มชูชีพที่นำมาใช้ได้จริงอย่างปลอดภัย ซึ่งไรเชลต์ก็ไม่ยอมพลาด เขาเข้าร่วมทันที
1
ไรเชลต์คิดว่าการทดสอบนั้นควรจะต้องใช้ที่สูงกว่าที่พักของตน และที่ๆ เหมาะที่สุดก็น่าจะเป็นหอไอเฟล ซึ่งไรเชลต์ก็ได้ทำเรื่องขออนุญาตที่จะทดสอบร่มชูชีพของตนที่หอไอเฟล
เขาต้องใช้เวลาทั้งปีจึงจะสำเร็จ โดยในปีค.ศ.1912 (พ.ศ.2455) ไรเชลต์ก็ได้รับอนุญาตให้ใช้หอไอเฟลเป็นสถานที่ทดสอบร่มชูชีพของตน ซึ่งไรเชลต์ก็ได้ป่าวประกาศให้สื่อมวลชนมาทำข่าว ประชาสัมพันธ์ร่มชูชีพของตน
ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1912 (พ.ศ.2455) ไรเชลต์กับเพื่อนอีกสองคนก็ได้มาถึงหอไอเฟล และทุกคนก็ต้องแปลกใจเมื่อไรเชลต์บอกว่าเขาจะทำการทดสอบนี้เพียงลำพัง
เขาบอกว่าเขาจะใช้ร่างกายตนเองในการทดสอบ ไม่ใช้หุ่น เนื่องจากเขาต้องการจะพิสูจน์ว่าสิ่งประดิษฐ์ของเขานั้นใช้งานได้จริง
เพื่อนๆ ของไรเชลต์ต่างพยายามจะโน้มน้าวให้ไรเชลต์เปลี่ยนใจ แต่ก็ไม่เป็นผล กล้องของนักข่าวต่างจับภาพไรเชลต์ที่พร้อมจะกระโดดลงมาจากหอไอเฟล
ไรเชลต์นั้นแบกร่มชูชีพหนักกว่าเก้ากิโลกรัมไว้ที่หลัง และยืนบนม้านั่งที่ตั้งอยู่บนโต๊ะ ค้างไว้อย่างนั้นเป็นเวลาเกือบ 40 วินาที
ไม่กี่วินาทีก่อนกระโดด
จากนั้น ไรเชลต์ก็ได้กระโดดลงมาจากหอไอเฟล และร่มชูชีพของเขาก็ไม่กาง ทำให้ร่างของเขาร่วงลงมากระแทกกับพื้นเบื้องล่าง
สภาพของไรเชลต์นั้นย่ำแย่ ขาขวาและแขนของเขานั้นหักผิดรูป กะโหลกและกระดูกสันหลังร้าว ใบหน้าก็เต็มไปด้วยเลือด
ร่างของไรเชลต์ที่ลอยละลิ่วลงมา
ไรเชลต์เสียชีวิตทันที
หลังจากเหตุการณ์นี้ ทางการก็ไม่อนุญาตให้ทำการทดลองที่หอไอเฟลอีกต่อไป จะอนุญาตก็แต่เพียงการทดลองโดยใช้หุ่นเท่านั้น
เรียกได้ว่านี่ก็เป็นความตายจากความพยายามค้นคว้าในยุคแรกๆ
โฆษณา