6 ส.ค. 2023 เวลา 13:26 • สุขภาพ

ไซนัสกับยาฆ่าเชื้อ

📚มีงานวิจัยในเด็กที่เป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลัน​อายุ2-11ปี​ จำนวน 515​ คน​ ระหว่างปี​ 2016​ -​ 2022 พบว่า
📌การวินิจฉัยเบื้องต้น​​ แล้วพบว่าสาเหตุของโรคไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณ​โพรงจมูกต่อคอหอย (nasopharyngeal)​ การให้ยาปฏิชีวนะแทบจะไม่มีประโยชน์
📌และการที่น้ำมูกมีการเปลี่ยนสี​ เช่น​ เขียวข้น​ ก็ไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย​ การให้ยาปฏิชีวนะแทบจะไม่มีประโยชน์เช่นกัน
📌กรณีที่มีอาการรุนแรง​ การตรวจเพาะเชิ้อว่ามีสาเหตุจาก​ S. pneumoniae หรือ H. influenzae​ จึงมีความจำเป็น​ เพื่อลดการใช้ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นในเด็ก
สาเหตุที่ต้องมีงานวิจัยเรื่องนี้เพราะพบว่าไซนัสอักเสบเฉียบพลันในเด็ก​ มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อไวรัส​ และมีส่วนน้อยที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย​ การให้ยาฆ่าเชื้ออย่างพร่ำเพรื่อในกรณีที่​ไม่ได้ติดเชื้อแบคทีเรีย​ จึงเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยาในอนาคต
👨‍🔬เรื่องของอาการเจ็บคอ​ และร้องขอยาฆ่าเชื้อ​ในร้านยา​ มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน​ มิใยว่าเภสัชกรจะทักท้วงว่ากรณีเช่นนี้ไม่ควรใช้​ เพราะไม่มีเหตุผลอันควรที่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ​ ทั้งหมดก็เพื่อตัวของท่านเอง​ ไม่ให้เกิดปัญหา​เชื้อดื้อยาในอนาคต
สุขสบายในวันนี้​ อาจต้องเจ็บปวดในวันหน้า
มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​ เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกร​
.
.
POSTED 20230806
บทความอื่น
💥💥💥
KID
หวัด​ เด็ก
การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน ในเด็ก
​RESPIRATORY
สีของน้ำมูก​ / เสมหะ
ไซนัสอักเสบ
หวัด​ virus vs bact
🔰เจ็บคอ​
หวัดลงคอ​ / Post nasal drip
😷ยาแก้ไอตัวไหนดี?
ไอ​ vs ยาฆ่าเชื้อ
โฆษณา