7 ส.ค. 2023 เวลา 03:06 • ความคิดเห็น
พระที่ชี้เรื่องราวของการสร้างบุญกุศลบารมี ชี้ให้ดูเรื่องขององค์พระเวสสันดร องค์พระสิทธัตถะ ที่ท่านสร้าง บุญกุศลบารมี ชี้ให้มีสติ รู้จักจักอารมณ์ รู้จัก ..สิ่งที่เราใข้อารมณ์ นั้นเป็นกรรม มีการเก็บบันทึก เรื่องราวที่เราใช้ ทั้งดีและไม่ดี ..ที่เราใช้กายวาจาใจ มีพฤติกรรมอะไรต่างๆ มันมีสะสม..ลงไปในกายที่เราอาศัย ที่เรามีความยึดถือหามาได้ ล้วนเป็นของอาศัยชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็ต้องจากลา
..ลาทุกสิ่งทุกอย่างในโลก วิญญาณทั้งหกที่เคยมี เคยใช้ เคยสัมผัสให้เกิดอารมณ์นั้นไม่อีกแล้ว เมื่อจิตออกจากกาย ..สิ่งที่เอาไปได้ .นั่นคิือ เรื่องกรรม ที่เราสะสมเอง มีทั้งกรรมดี และไม่ดี ท่านจึงสอนให้ ฝึกหัด ทำสิ่งที่ดี เป็นคุณให้แก่จิต เพื่อแก้ไข จิตของตัวเอง ด้วยการสร้างทาน สร้างบุญ ใช้กิริยาดี วาจาที่ดีๆ ให้มีความรู้จักความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ รู้จักการเกื้อกูลอุปถัมภ์ กันใช้อารมณ์นึกคิดที่ดีๆ ไปในทางที่เกิด.ความสุข
..ความสุขของจิตที่เรียกว่า สันติธรรม จะเป็นสันตติ..ดึงช่วยสืบต่อให้จิต ..เบาบางจากอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเรือนกาย กายต้องเจ็บ แก่เฒ่า ชรา ก็สะสมกรรมมามาก .โดยที่ไม่รู้ตัว ..
ท่านก็สอนให้รู้จัก ลดละกรรม รู้จักธรรม ..สร้างบุญกุศลบารมี หนีกรรม..กรรมที่ตนเองสะสมมาเอง ..ที่แปรสภาพ เป็นอารมณ์ในเรือนกาย พระท่านค่อยๆสอน.ให้รู้จักกรรม ..ขึ้นมา ส่วนให้ทำขึ้นมา ในคำว่าบุญกุศลบารมี สอนให้สำรวจตัวเอง ทบทวนตัวเราเอง ใคร่ครวญพิจารณาอารมณ์ทร่เราใช้ เหตุที่เราใช้อารมณ์ แล้วพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ใคร่ครวญ พิจารณาว่าดีหรือไม่ดี ..มีใครเดือนร้อนในสิ่งที่ตัวเองทำบ้าง
.เราก็จะค่อยๆพิจารณาเรื่องราวของกรรมขึ้นมา ว่าเราทำเองจริงมั้ย แล้วเราก็ต้องรับกรรมเองจริงมั้ย เมื่อเรารู้ว่า กรรมนั่นมีจริง บุญกุศลก็มีจริง เราก็สร้างบุญกุศลขึ้นมาให้เกิดเป็นอโหสิกรรม ..ค่อยๆทำให้มันเกิดเป็นอโหสิกรรม จิตเราก็ค่อยขยับขยายขึ้นมา ไม่ขับแคบ
..เมื่อจิตขยับขยายมากขึ้นกว้างขวางมากขึ้น เราก็จะมีสติปัญญา สำรวจตรวจสอบตัวเองมากขึ้น ให้จิตรู้จักของจิต ..ที่จะต้องเดินทาง .ออกจากกาย ก็เลือกทางเดินของจิต ทำอย่างหนอให้จิต พ้นกายเกิดแก่เจ็บตาย ท่านก็แนะนำไปในทางนี้ ท่านจะไม่พูดคำว่า..ร่ำรวยนะโยมนะ ..ให้มีชื่อเสียงเกียรติยนะ ..ท่านจะไม่ให้พร.. ในลักษณะให้ญาติโยมต้องไปเดือดร้อน เสาะแสวงหา สร้างกรรมให้เพิ่มขึ้น ..ท่านจะให้พร ก็ในมีความสุขกายสุขใจ ให้จิตมีธรรมเป็นที่พึ่ง ลักษณะนี้..
ท่านไม่สอนให้เชื่อ ..ท่านเป็นพระปฏิบัติ..ท่านสอนให้ทำ ..ทำแล้วดีมั้ย ..ได้ผลอย่างไร เราก็สติปัญญา ..กลั่นกรอง คัดกรอง เรื่ิองราวต่างๆ ที่เราลงมือทำ ..ท่านจะไม่สอนให้รู้จำ ..สอนให้ทำขึ้นมา แล้วค่อยรู้ขึ้นมา ..
..ส่วนมากถ้าเป็นเรื่องที่ท่านจี้ให้ปฏิบัติ ..ท่านพูดคำสั้นๆ ไม่ยืดยาว..หนักแน่น .เด็ดขาด ..บอกให้แล้ว ..จะแก้ไข หรือ ไม่แก้ไข เป็นเรื่องของคนฟัง ..ฟังทิ้งขว้างก็มีมากมาย ..ฟังแล้วไปไตร่ตรอง หมั่นใคร่ครวญ ทบทวน พิจารณา แล้วกระทำขึ้น มีเป็นส่วนน้อยนิด..เท่านั้นเอง ..เหมือนคนที่ผ่านก็ผ่านไป..ทางใครทางมัน ..ทำนองนั่น ..ไม่ใครฉุดลากให้ต้องทำ ..เป็นเรื่องของผู้นั่น .จะเห็นว่าสำคัญ หรือ ไม่สำคัญ .ต่อจิตของเค้า ..ท่านก็ได้แต่ยอกชี้ให้เท่านั้นเอง
โฆษณา