Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โลกของเด็กไมโคร
•
ติดตาม
7 ส.ค. 2023 เวลา 09:44 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แบคทีเรียอ้วน & ผอม Ep.1
เคยสงสัยไหมคะ? ว่าทำไมเพื่อบางคนไม่ว่าจะกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนเลย แต่อย่างเราแค่ได้สูดกลิ่นก็เหมือนว่าพุงเริ่มย้วยแล้ว เราเคยเข้าใจกันว่าเรื่องของสุขภาพอย่างความอ้วน ความผอมเป็นเรื่องของพฤติกรรมการกิน การขี้เกียจออกกำลังกาย แต่ในตอนนี้ได้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะบอกว่าความอ้วนอาจไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมการกินเพียงอย่างเดียว
ปัจจุบันมีนักวิทยาศาตร์จำนวนมากที่เชื่อว่า ไมโครไบโอต้าในท้องของเรามันเป็นมากกว่าความรู้สึกในท้องและอาจมีผลต่อความอยากอาหารนำไปสู่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อะไรทำให้นักวิทยาศาตร์เชื่อเช่นนั้น?
การทดลองนั้นเริ่มจากการสร้างหนูปลอดเชื้อโรคขึ้นมาในห้องแลปวิจัย หนูปราศจากเชื้อโรคเหล่านี้เกิดขึ้นและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากเชื้อ ไม่มีจุลินทรีย์ใดๆอยู่รอบตัวมันเลย ฟังแล้วอาจทำให้คนรักความสะอาดรู้สึกสดชื่นแต่ความบริสุทธิ์ของเจ้าหนูตัวนี้มีผลในด้านลบ การปลอดเชื้อส่งผลทำให้มันซูบผอมกว่าปกติการปลอดมีความบกพร่องด้านภูมิต้านทานโรคและตอบสนองต่อความเครียดอย่างไม่เหมาะสม
นักวิทยาศาตร์เกิดความสงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้านำจุลินทรีย์เข้าไปให้แก่หนูเหล่านั้น จึงทำการทดลองในขั้นถัดมาโดยนำสสารจากลำไส้ส่วนต้นของหนูปกติมาป้ายลงบนขนของพวกมันและเมื่อเจ้าหนูเริ่มเลียทำความสะอาดขนก็จะทำให้มันกลืนแบคทีเรียเข้าไปด้วย ผลก็คือ พวกมันเริ่มมีลักษณะเหมือนหนูสุขภาพดีขึ้นจากหนูที่ผอมแห้งก็เริ่มมีรูปลักษณ์เป็นปกติ ไม่ได้ทำให้มันอยากอาหารมากขึ้นกลับกันคือกินน้อยลงด้วยซ้ำแต่นำ้หนักของหนูผอมกลับเท่าน้ำหนักของหนูปกติ
และเพื่อให้แน่ใจว่าแบคทีเรียในลำไส้เกี่ยวข้องกับความอ้วนจริงหรือไม่ นักวิจัยจึงนำแบคทีเรียจากลำไส้ของหนูอ้วนใส่เข้าในลำไส้ของหนูหุ่นปกติผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การปลูกถ่ายอุนจิ หรือ Fecal microbiota transplantation นักวิจัยไม่ได้บังคับให้หนูกินอึกันเองนะคะเพียงแต่ว่าเป็นธรรมชาติของพวกหนูที่อยู่รวมกันอยู่แล้ว ผลปรากฎว่าเพียงแค่ 2 สัปดาห์เท่านั้น เจ้าหนูที่เคยผอมเพียวก็มีไขมันสะสมเพิ่มขึ้นถึง 60% แม้ว่าพวกมันจะกินอาหารลดลง
จากหลักฐานเหล่านี้ทำให้เห็นว่าแบคทีเรียในลำไส้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงานราวๆ 10% แบคทีเรียจากหนูอ้วนมีความสามารถในการเก็บพลังงานจากอาหารที่เรากินมากกว่าจึงทำให้ลำไส้ของหนูหรือคนที่มีแบคทีเรียอ้วนเยอะจึงได้รับพลังงานจากอาหารมากกว่านั่นเอง
นำแบคทีเรียอ้วนใส่ลงในแบคทีเรียผอม
นอกจากความสามารถของแบคทีเรียอ้วนที่กักเก็บพลังงานได้มากกว่าแล้ว หลักฐานทางวิทยาศาสตร์อีกอย่างก็ได้บอกเราว่าเจ้าแบคทีเรียได้นำพายีนจำนวนหนึ่งเข้ามาในร่างกายของหนู ยีนเหล่านี้มีผลที่ดีต่อการย่อยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่เป็นอาหารส่วนใหญ่ที่หนูกินและได้รับพลังงาน มันจึงได้รับพลังงานที่มากขึ้นจากการกินอาหารเพียงเล็กน้อย
อ้าว ถ้าอย่างนั้นพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เกี่ยวกับเรื่องอ้วนผอมเหรอ? เกี่ยวค่ะ เพราะเมื่อเรากินอะไรเข้าไป แบคทีเรียเหล่านั้นก็จะกินเข้าไปด้วย และที่น่าสนใจคือแบคทีเรียในลำไส้ที่ดีสามารถส่งผลให้เราอยากกินอาหารที่ดีๆได้ มันเป็นแบบนั้นได้อย่างไร? แบคทีเรียอะไรที่มีอำนาจพอจะสั่งให้เรากินอะไรที่มันอยากกินได้? ถ้าเรากินแบคทีเรียจากคนผอมเราจะผอมได้ไหม? เราจะมาคุยกันเรื่องนี้อีกครั้งใน Ep. 2 กันไปค่ะ
1
ของคุณหนังสือดีๆ : Pleased To Meet me โดย บิล ซัลลิแวน และ Microbiota อวัยวะที่ถูกลืม โดย หมอผิง
วิทยาศาสตร์
ความรู้
การศึกษา
2 บันทึก
9
2
5
2
9
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย