7 ส.ค. 2023 เวลา 13:00 • การตลาด

รากฐานหรือพื้นฐานทางธุรกิจ คืออะไร ?

ในบางครั้งเราก็ลืมหลักพื้นฐานหรือหลักเบื้องต้นของธุรกิจไป อาจจะด้วยการทำงานที่รวดเร็วมากขึ้น อาจจะข้ามขั้นตอนการทำงานไป เพราะฉะนั้นการที่เราย้อนกลับมาศึกษาว่าธุรกิจคืออะไร มีหน้าที่อะไร มีองค์ประกอบอะไร
5
มันช่วยทำให้มีฐานแรกหรือแกนมันมั่นคง และการสร้างวิสัยทัศน์ว่าเราจะพาองค์กรไปในทิศทางไหน พันธกิจ โดยเราจะบริหารฟังก์ชันแต่ละธุรกิจโดยมีเรื่องคน เรื่องการขายได้อย่างไร ซึ่งการที่เรารู้ฐานรากหรือแก่นของธุรกิจนั้น มันดีต่อตัวเราเพราะว่าไม่ว่าเราจะย้ายไปเป็นผู้บริหารที่ไหน เราก็จะรู้จักแก่นธุรกิจประเภทนั้น
ธุรกิจคืออะไร What is “Business”
ธุรกิจมีหน้าที่เอาผู้คนมาร่วมกันเพื่อที่จะสร้างกิจกรรมอะไรบางอย่าง และเพื่อที่จะหารายได้ หรือ องค์กร นิติบุคคลที่มีกิจกรรมทางการค้า กิจกรรมเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ และอีกหน้าที่หนึ่งคือส่งภาษีให้ภาครัฐ และปันผลเงินต่างๆให้ผู้ถือหุ้น
ระดับกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ Level of Strategy
ระดับที่ 1 กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy) การมองภาพรวมเพื่อกำหนดเป้าหมายหลักขององค์กรและทิศทางในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนด วิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission)
• Growth กลยุทธ์เพื่อนเน้นการเติบโตด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การขยายตลาด การร่วมพันธมิตร
• Stability กลยุทธ์แบบคงตัวที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงหรือลงทุนอะไรเพิ่มเติม แต่พยายามรักษามาตรฐานผลการดำเนินงานให้คงที่
• Retrenchment กลยุทธ์แบบหดตัว ซึ่งมักจะพบในกลุ่มบริษัทที่มีความต้องการที่ลดลง อาทิ กลุ่มธนาคารเมื่อมีการเข้ามาของ Fintech ทำให้สาขาส่วนใหญ่จำเป็นต้องปิดตัวลงและให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น
ระดับที่ 2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) การสร้างจุดแข็งทางการแข่งขันในธุรกิจเพื่อที่จะให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีการเติบโตของธุรกิจ
2
• Cost Leadership กลยุทธ์สร้างราคาต้นทุนที่ต่ำกว่า
• Differentiation กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง
• Customer Centric กลยุทธ์การปรับตัวตามความต้องการของลูกค้า
• Niche Market กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม
ระดับที่ 3 กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Strategy) การพัฒนาการทำงานของภายในองค์กรเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็ว ประสิทธิภาพและการบริหารต้นทุน รวมไปถึงแนวทางการดำเนินงานให้เกิดความพร้อมขององค์กร
1
• Implementation (ฝ่ายปฏิบัติการ) พัฒนาสายผ่านการผลิตให้ได้ผลผลิตที่รวดเร็วควบคู่ไปกับคุณภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับจัดลำดับความสำคัญ
• Marketing (การตลาด) กลยุทธ์เพื่อวางแผน Brand Positioning และ Brand identity เพื่อให้เป็น Top-of-mind ในตลาด รวมถึงการบริหารค่าใช้จ่ายให้คุ้มค่ากับการลงทุน
รูปแบบการจดจัดตั้งบริษัท Business Ownership
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole or Single Proprietorship) เป็นการประกอบธุรกิจที่บุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ และบริหารจัดการธุรกิจทุกเรื่องด้วยตนเอง
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership) เป็นรูปแบบของการประกอบธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และสามารถทำนิติกรรมตามกฎหมายได้ โดยการทำสัญญาด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนกัน
1
3. บริษัทจำกัด (Corporation) เป็นการประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรจากกิจการ ซึ่งจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้นที่มีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆกัน และผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 100 คน
4. สหกรณ์ (Cooperative) คณะบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปที่มีอาชีพความต้องการ ความสนใจที่คล้ายคลึงร่วมกันจัดตั้งขึ้น และจดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพ การครองชีพของสมาชิกและครอบครัวให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
5. รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) เป็นองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐบาลเป็นเจ้าของ รวมทั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 มีระบบการบริหารงานอยู่ระหว่างราชการและเอกชน
4 ฟังก์ชันหลักในธุรกิจ Business Function
1. Marketing มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการตลาด บริหารส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) ให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและลูกค้า และยังมีหน้าที่ทำการวิจัยตลาด และบริการหลังการขาย
• Product สินค้าหรือบริการ ที่สามารถสร้างคุณค่าที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
• Price ราคาที่เหมาะสมกับคุณค่าของสินค้าโดยเป็นจุดที่สามารถทำกำไรได้
• Place สถานที่จัดจำหน่าย ช่องทางที่ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้
• Promotion กิจกรรมทางการตลาดที่สนับสนุนการขาย เช่น โปรโมชั่นพิเศษ เป็นต้น
2. Operation การปฏิบัติการ มีหน้าที่ในการจัดการให้ดำเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามวัตถุประสงค์
3. HR ฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการเตรียมพร้อมทรัพยากรบุคคลให้เพียงพอต่อการดำเนินการของธุรกิจ มีหน้าที่ในการดูแลและพัฒนาพนักงานในองค์กร
4. Finance การเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเงินจัดการเงินสดและบัญชีธนาคารขององค์กร รักษาบันทึกธุรกรรมที่ถูกต้อง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา