Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Is Life
•
ติดตาม
8 ส.ค. 2023 เวลา 01:00 • ข่าว
189 ตัว จำนวนเสือโคร่งในป่าประเทศไทย
‘เสือโคร่ง’ คือ ดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของผืนป่า
หากป่าไหน ยังมีเสือ ย่อมหมายความว่าป่าแห่งนั้นมีความอุดมสมบูรณ์มาก
นั่นเพราะเสือโคร่งมีบทบาททางด้านนิเวศวิทยาที่โดดเด่นในฐานะผู้ล่าสูงสุดในห่วงโซ่อาหาร
เป็นผู้ล่าและควบคุมจำนวนประชากรสัตว์กินพืชไม่ให้มีมากเกินไป
รวมถึงเป็นผู้ช่วยคัดกรองรักษาสายพันธุ์ที่ดีของประชากรสัตว์ที่เป็นเหยื่อ เพราะสัตว์ที่อ่อนแอมักตกเป็นเหยื่อของเสือโคร่ง
นอกจากนี้ ปริมาณและชนิดเหยื่อของเสือโคร่งก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชากรเสือโคร่งอยู่รอดได้เช่นกัน
ด้วยความสัมพันธ์นี้จึงกล่าวได้ว่า เสือโคร่งสามารถเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าที่มีสัตว์ป่าดำรงอยู่ได้อย่างชัดเจน
ในประเทศไทย จากการประเมินประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พบเสือโคร่ง จำนวน 148-189 ตัว
เพิ่มขึ้นจากสถิติ ปี 2563 ที่สำรวจพบ 130-160 ตัว
โดยงานศึกษาวิจัยเสือโคร่งของไทยได้อาศัยเทคนิคการประเมินเฉพาะทางและการจำแนกลายที่ได้จากกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ ซึ่งติดตั้งไว้มากกว่า 1,200 จุด ในพื้นที่อนุรักษ์ 28 แห่ง
จากการศึกษาวิจัยนี้ เรายังพบอีกว่า พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด คือ 103-131 ตัว
นอกจากนี้ มีเรื่องน่ายินดีว่า มีการพบเสือโคร่งกระจายตัวไปยังป่าข้างเคียงและต่อเนื่องอย่างอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ไปจนอุทยานแห่งชาติคลองลาน อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง
โดยสามารถดักถ่ายภาพเสือโคร่งได้ 16-21 ตัวในพื้นที่ดังกล่าว
และดังที่กล่าวไป เสืออยู่ได้ เหยื่อของเสือต้องอยู่ได้
โดยพบเหยื่อของเสือ เช่น กวางป่า หมูป่า เก้ง วัวแดง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติรอบๆ ทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง ด้วยเช่นกัน
สิ่งนี้สะท้อนถึงภาพการดุแลผืนป่าในรูปแบบกลุ่มป่า ที่ไม่ได้แยกส่วนเพียงอุทยานแห่งชาติแห่งใดเพียงแห่งเดียว
ซึ่งกลุ่มป่าตะวันตกที่มีทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้งเป็นใจกลางคือบทพิสูจน์สำคัญของการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างเสือโคร่งในรูปแบบกลุ่มป่า ที่ทุกๆ พื้นที่อนุรักษ์ต่างพยายามดูแลพื้นที่อย่างแข็งขัน
ทั้งนี้ งานอนุรักษ์เสือโคร่งที่ผ่านมา ดำเนินการด้วยนโยบายและแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2553-2565 ) มีทั้งงานศึกษาวิจัย การฟื้นฟู การจัดการถิ่นอาศัยของเสือโคร่งและประชากรเหยื่อของเสือโคร่ง
และนับจากปี 2565 ที่ผ่านมา ก็มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2565-2577 ภายใต้ความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่กลุ่มป่าที่เป็นถิ่นอาศัย
ด้วยการยกระดับการจัดการพื้นที่และการติดตามตรวจวัดที่มีประสิทธิภาพ ฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและเหยื่อในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มป่าตะวันตก, กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่, กลุ่มป่าแก่งกระจาน, กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว และกลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก
พร้อมกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อนำประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำในการอนุรักษ์เสือโคร่งในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในปี พ.ศ. 2577
ในอนาคตหวังว่า กลุ่มป่าอื่นๆ ดังที่ระบุไว้ในแผน จะมีเสือโคร่งเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับกลุ่มป่าตะวันตก
อ้างอิง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
http://news.dnp.go.th/news/24859
ข่าวรอบโลก
สิ่งแวดล้อม
เรื่องเล่า
1 บันทึก
11
1
3
1
11
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย