10 ส.ค. 2023 เวลา 06:47 • ไอที & แก็ดเจ็ต

ถึงเวลาของยุค Multi Cloud แล้ว

จากเดิมที่การทำงานอยู่บน On Premise ไม่ว่าจะเป็นระบบ Infrastructure, Server, Storage, Networks, Virtualization, OS, Middleware, Runtime, Data Applications และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเจ้าของระบบต้องรับมือกับค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากซับซ้อนของระบบด้วยตนเอง ส่งผลให้ผู้ใช้บริการจำนวนมาก ไม่ต้องการที่จะจัดซื้ออุปกรณ์หรือเข้ามาดูแลระบบไอทีด้วยตนเอง ยิ่งในกรณีที่มีความต้องการใช้งานระบบอย่างเร่งด่วน ในขณะที่ปัจจุบันนี้ก็มีผู้ให้บริการหรือ Service Provider ที่พร้อมให้เลือกใช้งานหลากหลายราย โดยในวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับประเภทของคลาวด์ซึ่งนับเป็นภาคต่อเนื่องจากครั้งที่แล้วกัน
IaaS (Infrastructure-as-a-Service): คือ การมีบุคลากรเข้ามาช่วยดูแลระบบ Infrastructure ให้โดยที่เราไม่ต้องจัดซื้อเอง แต่ในกระบวนการบางอย่างอาจยังต้องดำเนินการเอง เช่น การบันทึกข้อมูลเข้าไปและบริหารจัดการเอง กล่าวให้เห็นภาพอย่างชัดเจน คือ บริการนี้จะเป็นการช่วยลดภาระงานบางส่วนของฝ่าย IT ออกไป
PaaS (Platform as a Service): คือ ผู้ใช้งานรับผิดชอบดูแลแค่ในส่วนของแอปพลิเคชันกับข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น การใช้บริการ LINE ซึ่งมีแอปพลิเคชันให้เราใช้งาน และปัจจุบันนี้ก็มีหลายฟีเจอร์ เช่น การสแกนภาพให้เป็นตัวอักษรเพื่อให้เราคัดลอกข้อความได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า LINE ที่มีหน้าแอปพลิเคชันอยู่แล้ว ได้จัดหาฟีเจอร์มาสวมการทำงานบนแอปพลิเคชันของตน ซึ่งผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องดูแลหรือสนใจเลยว่าแพลตฟอร์มนี้ใช้ Infrastructure อะไร หรือ CPU แบบไหน หรือใช้ Network ของรายใด เพราะโฟกัสการใช้งานของตนที่ตัวฟีเจอร์เพียงเท่านั้น
SaaS (Software-as-a-Service): ดังเช่นที่เคยยกตัวอย่างถึง Office356 ในบทความที่แล้ว ซึ่งหมายถึงทุกการใช้งานที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้ใช้งานไม่ต้องจัดการสิ่งใดเอง โดยสามารถเข้าใช้งานบริการต่าง ๆ ของผู้ให้บริการได้เลย เพียงแค่ log-in เข้าใช้งานเท่านั้น บริการเหล่านี้สามารถสังเกตได้จากที่มีคำว่า as a Service ห้อยอยู่ข้างท้าย เช่น Backup as a Service, Software as a Service เป็นต้น
นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันยังมีคำศัพท์ใหม่เกิดขึ้นอีก เรียกว่า Everything as a Service ซึ่งจะหมายความรวมถึงส่วนที่เป็น On Premise และยังมีการนำ Multi Cloud เข้ามาเสริมอีกด้วย (การเลือกใช้บริการจากเหล่าผู้ให้บริการหลายรายเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามที่ต้องการ) การใช้งานผสมผสานกันเช่นนี้จึงปรากฎออกมาในแนวคิดรูปแบบของคลาวด์ นั่นก็คือทั้ง Hardware และ Software ที่นำมาใช้งานทั้งหมดสามารถเลือกจ่ายเท่าที่ใช้จริง แทนที่จะต้องซื้อ 100% ทั้งหมด ประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากคลาวด์อย่างชัดเจน นั่นก็คือการช่วยลดต้นทุนขององค์กร มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน และผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ง่าย
โฆษณา