8 ส.ค. 2023 เวลา 08:26 • การศึกษา
สำนวนนี้มีที่มาจากความช่างสังเกต ช่างเปรียบเปรย และความเป็นสังคมเกษตรของชาวไทยนั่นเอง
1
"ไก่แก่" ในที่นี้ ต้องเข้าใจด้วยว่าหมายถึง "ไก่แจ้" ไม่ใช่ "ไก่โต้ง" นิสัยหนึ่งของไก่แจ้ก็คือเที่ยวเกี้ยวแม่ไก่ไปทั่ว หากเลี้ยงไก่แจ้กับไก่โต้งไว้รวมกัน แม่พันธุ์จะถูกพ่อไก่แจ้ชิง "เจาะไข่แดง" ไปหมด จนไก่ทั้งฝูงก็จะกลายเป็นไก่แจ้ไป (ซึ่งเป็นปัญหาของคนเลี้ยงไก่อยู่เหมือนกัน) ดังนั้นไก่แจ้จึงขึ้นชื่อในเรื่อง "เจ้าชู้"
1
ทีนี้เมื่อ "ไก่แก่" คือ "ไก่แจ้" แล้ว ก็คิดเอาเถิดว่า ประสบการณ์ไก่ตัวที่ว่านี้ "โชกโชน" เพียงใด และก็ไม่มีชายใดอยากจะเป็น "ไก่อ่อน" ซะด้วยซี
2
ทีนี้มาที่ปลาช่อน ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืด เชื่อว่าคงพบได้ทั่วประเทศนี้ นอกจากอยู่ในหนองแล้ว เวลาวางไข่ พวกมันจะวางไข่ในน้ำตื้น และเลี้ยงดูฝูงลูกตัวเล็กๆ ของมันในดงของพืชน้ำ ใดๆ ก็ตามมันก็ชอบมาอยู่ตามท้องนาในฤดูเพาะปลูกด้วย ขณะที่กอข้าวเขียวขจี การปักเบ็ดปลาช่อน คือกิจกรรมอย่างหนึ่งที่พ่อลูกชาวนามีร่วมกัน
1
แต่ปลาช่อนเป็นปลาที่ "ดุ" โดยเฉพาะตัวเมีย ปลาช่อนตัวเมียจะตัวโตกว่าตัวผู้ (คงเพราะมันต้องเลี้ยงดูลูกด้วยนั่นแหละ) และมันก็ดุกว่าตัวผู้มากด้วย ยิ่งเมื่อมันกำลังดูแลฝูงของลูกของมันด้วยแล้ว
ลูกปลาช่อนจะอยู่กันเป็นฝูง แม่หนึ่งตัวเลี้ยงลูกนับร้อยตัว ถิ่นอีสานเรียกะวกมันว่า "ปลาลูกคลอก" เพราะมันคือลูกปลาที่อยู่กันเป็นคลอกนั่นเอง
แม่ปลาช่อนจึงเปรียบเทียบกับหญิงที่ แกร่ง เก่ง ไม่เกรงชาย ทันเหลี่ยมผู้ชาย และ "โชกโชน" มาแล้วไม่น้อยกว่า "ไก่แจ้" ที่แก่แล้ว
1
"ไก่แก่" จึงเป็นอะไรที่สมกันกับ "แม่ปลาช่อน" ทีนี้เมื่อมี "ไก่แก่แม่ปลาช่อน" อยู่ที่ใด ก็เชื่อเถิดว่า "ขิงก็ราข่าก็แรง"
2
เอ้าเมื่อมีทั้ง ไก่ ทั้งปลา ทั้งขิง ทั้งข่า ฉะนั้นก็ได้เวลา "ต้มยำทำแกง" กันให้อร่อยเลย!
3
โฆษณา