Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sarawut
•
ติดตาม
8 ส.ค. 2023 เวลา 16:47 • การศึกษา
ทำไมจึงมีสำนวน "ไก่แก่แม่ปลาช่อน" แต่ไม่มี "ไก่แก่พ่อปลาช่อน" มีเพียง "พ่อปลาไหล" (น่ารักจุงเบย!) สันนิษฐานว่ามันเป็นเพราะอะไร มีที่มาจากอะไรได้บ้างคะ ?
ทำไมจึงมีสำนวน ไก่แก่แม่ปลาช่อน
ไก่แก่ ชื่อมันก็บอกแล้วว่า "แก่"
แม่ปลาช่อน คือต้องเกี่ยวกับเพศหญิง
ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่ค่อนข้าง "ดุ" ยิ่งเป็นปลาช่อนที่วางไข่มีลูก ยิ่งดุ
รวมแล้วความว่า ไก่แก่แม่ปลาช่อน
คือผู้หญิงที่มีอายุเยอะ มีประสบการณ์ รู้หมด เขี้ยวลากดิน มีความใจดุ มีความร้ายกาจ ความหมายจะคล้ายๆกับสำนวน"มารยาร้อยเล่มเกวียน" คือมีความร้อยเล่ห์ เสน่ห์แอบแฝงไปด้วยกลอุบาย
1
เมื่อเอาทั้งหมดมารวมกัน
ก็คือ ทั้งแก่ ทั้งสาว ทั้งสวย เขี้ยวลาดดิน รู้ไปหมดทุกเรื่อง ใจเด็ด เสน่ห์ร้อยเล่ห์ มารยาร้อยแปด มีทีเด็ด หาตัวจับยาก ระวังให้ดีเถอะ
นี่แหละ ไก่แก่แม่ปลาช่อน ร้ายกาจอย่าบอกใครเชียว
คำถามต่อมา
ทำไมไม่มีคำว่า "ไก่แก่พ่อปลาช่อน"
ผู้ชายน่ะ ยิ่งแก่ ยิ่งฝ่อ มันซื่อไปหมด ผู้ชายส่วนใหญ่มันไม่ทันร้อยเล่ห์ผู้หญิง ต่อให้เป็นผู้เก่งกาจ ก็ไม่ทันผู้หญิง ผู้ชายมันหนักแน่น ถึงจะดุดัน แต่อ่านง่าย เสน่ห์มันหาย ไม่เหมือนผู้หญิงที่ดุข้างใน ผู้ชายถึงจะร้ายกาจ แต่มันชัดเจน ต่างจากผู้หญิงที่สวยเสน่ห์แต่แฝงด้วยความร้ายกาจ
1
ดังนั้นคำว่า ไก่แก่พ่อปลาช่อน
จึงไม่เหมาะกับผู้ชาย เพราะมันไม่มีเสน่ห์ดึงดูด ผู้ชายสมัยก่อน แก่แล้วก็งั้นๆ
1
คำถามต่อมา ทำไมผู้ชายถึงมีแต่คำว่า "พ่อปลาไหล"
คำว่า"พ่อปลาไหล" เป็นฉายาที่ใช้เรียกผู้ชายมีความกะล่อน จับไม่ได้ไล่ไม่ทันตลบแตลง พูดจาขึ้นเขาลงห้วย คดเคี้ยวพริ้วไปมา แก้ตัวดิ้นจนหลุด เอาตัวรอด แถไปเรื่อย ลื่นไหลไปมา
ความหมายก็คือ ลื่นเหมือนปลาไหล ความจริงแล้วใช้ได้ทั้งชายและหญิง เป็นสำนวนที่ไม่ได้เจาะจงเพศ
คำถามสุดท้ายก็คือ
สันนิษฐานว่ามันเป็นเพราะอะไร
แล้วมีที่มาจากอะไร
โห! คงต้องย้อนไปไกลโขเลยทีเดียว สำนวนไทยมีมาก่อนภาษาเขียนและพูดอีก ตั้งแต่ก่อนสมัยพ่อขุนโน่น
มีการปรับเปลี่ยนคำคล้องไปตามยุคตามสมัย มีที่มาจากเหตุการณ์ของสมัยแต่ละสมัย
สํานวนไทยเก่าแก่โบราณ ที่มีความหมายบ่งบอกถึงผู้หญิงมีอำนาจเหนือกว่าชาย บ่งบอกให้ระวังถึงความร้ายกาจของผู้หญิง คำเหล่านี้มันเกิดจากภูมิปัญญาของคนสมัยเก่า ที่พูดกันมาเป็นคำคล้องจอง แล้วมันปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จุดเริ่มต้นของสำนวนเราต้องย้อนไปตั้งแต่ยุคที่สมัยผู้หญิงเป็นใหญ่โน่น
สมัยที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน เป็นผู้สืบมรดกและเป็นผู้สืบตระกูล ผู้ชายเป็นแค่เขย เข้ามาอาศัยบ้านผู้หญิง เป็นแค่บ่าว หมายถึงขี้ข้า ต้องรับใช้ผู้หญิงไปจนกว่าผู้หญิงจะพอใจ ถึงจะรับเอามาเป็นผัว ถ้าผู้ชายขี้เกียจ ผู้หญิงมีสิทธิ์ไล่ออกจากบ้าน แล้วก็หาผู้ชายคนใหม่มารับใช้ต่อ โดยไม่จำเป็นต้องแต่งงานกัน สามารถมีลูกด้วยกันได้ แต่ผู้ชายไม่ได้สิทธิ์ความเป็นพ่อของลูก จนกว่าญาติฝ่ายหญิงจะพอใจถึงจะมีพิธีแต่งงานได้
ในยุคที่ผู้หญิงเป็นใหญ่ ผู้หญิงในสมัยนั้นจึงมีลูกเยอะ เพราะผู้ชายที่รับมาเป็นบ่าวนั้น เมื่ออยู่กินกับฝ่ายหญิงแล้ว ถ้าญาติฝ่ายหญิงไม่พอใจ ก็จะเปลี่ยนบ่าวคนใหม่ จึงมีลูกกับบ่าวแต่ละคนไม่ซ้ำคน ผู้หญิงในยุคนั้นจึงมีลูกเยอะ ด้วยเพราะเหตุนี้
ความเข้าใจผิดของคนสมัยนี้ เข้าใจว่าการอยู่กินกันก่อนแต่งเป็นวัฒนธรรมของชาวตะวันตก แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่นะครับ มันเป็นวัฒนธรรมของอุษาคเนย์บ้านเรานี่แหละ ไทยเรามีมานานแล้ว แต่เราลืมกันไปเอง
จึงมักจะมีคำกล่าวของคนโบราณว่า ผู้ชายโตเป็นบ่าวแล้ว ก็หมายถึงโตเป็นขี้ข้าแล้ว คือโตพอที่จะไปรับใช้ผู้หญิงได้แล้ว
พิธีกรรมสมัยก่อน รวมถึงเครื่องมือศิลปะทุกอย่าง เป็นของผู้หญิงทั้งหมด การร้องเพลงเป็นสมบัติของผู้หญิง เครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดก็เป็นสมบัติของผู้หญิง ผู้หญิงคือหัวหน้าเผ่าพันธุ์ เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม เป็นเจ้าของศาสนาผี
อวัยวะเพศหญิง เป็นของสูง
ทุกชีวิตต้องเกิดจากเพศหญิง ทุกคนต้องเกิดจากเลือดประจำเดือนของผู้หญิง อวัยวะเพศหญิงจึงเป็นสิ่งล้ำค่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเพศแห่งการอุ้มชู เป็นผู้รักษา เพศแม่เป็นผู้ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นแม่ทัพ เป็นแม่น้ำ เป็นผู้ให้ชีวิต
วัฒนธรรมบ้านเชียง อย่างเช่น หม้อไหเครื่องปั้นดินเผา ที่มีลวดลายศิลปะต่างๆ รวมทั้งเครื่องมือสัมฤทธิ์ ผู้หญิงล้วนเป็นเจ้าของทั้งนั้น
การสืบราชสันตติวงศ์ในสมัยโบราณ เป็นสายผู้หญิงทั้งนั้น แต่พึ่งมาเปลี่ยนเป็นสายผู้ชายเมื่อรัชกาลที่ 5 ที่เริ่มตั้งสยามกุลราชกุมาร สมัยโบราณเขาสืบราชสมบัติจากพี่สู่น้อง ต้องเป็นพี่น้องท้องแม่เดียวกัน
สำนวนไทยตั้งแต่ก่อนที่จะมีภาษา เป็นคำคล้องและวิวัฒน์มาจนถึงสมัยนี้ อย่างเช่นคำว่า ไก่แก่แม่ปลาช่อน มันคือสำนวนของการให้ระวังความฉลาดของเพศหญิง ความฉกาจฉกรรจ์ของผู้มีประสบการณ์ จากแม่หญิง คำว่าแม่หญิงก็คือเจ้านาย บ่าวก็คือขี้ข้า คำว่าเจ้าบ่าว ก็คือบ่าวผู้รับใช้ของนายหญิง
เพียงแค่สำนวนเล็กๆ ย้อนไปไกลมาก
นี่แหละคือร่องรอยของภาษา
บันทึก
15
6
1
15
6
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย