10 ส.ค. 2023 เวลา 09:26 • สิ่งแวดล้อม

หูฉลาม ถ้วยนั้นที่คุณกิน! อาจเป็นฉลามที่ใกล้สูญพันธุุ์

องค์กรไวล์เอด (WildAid) ร่วมกับทีมนักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กรมประมง และนักวิจัยอิสระ เผยผลการศึกษาดีเอ็นเอจากผลิตภัณฑ์หูฉลามที่ ขายในไทยพบ ชนิดพันธุ์ฉลามส่วนใหญ่ (62%) มีสถานภาพเสี่ยงสูญพันธุ์ ออกแคมเปญชวนทุกคน #ฉลองไม่ฉลาม ในทุก ๆ โอกาส
.
📌สรุปผลวิจัยที่สําคัญ
• ผลการตรวจดีเอ็นเอในหูฉลาม หรือครีบปลาฉลาม 206 ตัวอย่าง ที่เก็บจากแหล่งค้าในหลายจังหวัด พบฉลามอย่างน้อย 15 ชนิดพันธุ์
• ปลาฉลามส่วนใหญ่ (62%) ที่พบในหูฉลามที่ขายอยู่ในไทยมาจากฉลามที่เสี่ยงสูญพันธุ์ โดยมีสถานภาพถูกคุกคาม จากการจัดสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตามบัญชีแดงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN Red List โดยพบฉลามที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) 6 ชนิดพันธุ์ ใกล้สูญพันธุ์ (EN) 4 ชนิดพันธุ์ และใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) 3 ชนิดพันธุ์
• เมื่่อพิจารณาเฉพาะชนิดพันธุ์ที่พบการแพร่กระจายในประเทศไทยตามการประเมินชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม Thailand Red Data โดยสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พบว่ากว่า 80% ของปลาฉลามที่พบในผลิตภัณฑ์ ครีบฉลาม ครั้งนีอยู่ในสถานภาพที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU)
• พบฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) ทั้งระดับโลกและในไทยทีหลายคนรู้จัก เช่น ฉลามหัวค้อนสีนํ้าเงิน Scalloped hammerhead (Sphyrna lewini) และ ฉลามหัวค้อนใหญ่ Great hammerhead (Sphyrna mokarran) ซึ่งอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย และเป็นชนิดพันธุ์ควบคุมในบัญชีหมายเลข 2ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่าง ประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือไซเตสอีกด้วย
• พบหูฉลามที่มีขนาดเล็ก มาจากปลาฉลามที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) ใกล้สูญพันธุ์ (EN) และมีแนวโน้มใกล้สูญ พันธุ์ (VU) และมีโอกาสเป็นครีบจากฉลามวัยอ่อน
• ตลาดค้าหูฉลามในประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการนําเข้าผลิตภัณฑ์ครีบฉลามมาจากหลายแหล่ง ทําให้พบชนิดพันธุ์ฉลามที่ หลากหลาย โดยราว 1 ใน 3ของชนิดปลาฉลามที่พบในงานวิจัยเป็นฉลามที่ไม่ปรากฎพบในน่านน้ำไทย
ประเทศไทยเป็น 1ในผู้เล่นสําคัญในการนําเข้าและส่งออกหูฉลามในภูมิภาค สอดคล้องกับรายงานฉบับอื่นที่พูดถึงบทบาทการ กระจายผลิตภัณฑ์หูฉลามของไทยในท้องตลาดในระดับสากล ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการจับฉลามมาตัดครีบเป็นๆก่อนทิ้งร่างกายที่เหลือ ลงทะเลจะลดน้อยลงมากแล้ว ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่หูฉลามจํานวนมาก มาจากฉลามที่ถูกจับจากเครื่องมือประมงทั่วไปก็ตาม
.
แต่ก็ปฏิเสธได้ยากถึงบทบาทของอุตสาหกรรมหูฉลามที่ส่งผลต่อประชากรปลาฉลามหลายชนิดที่ถูกคุกคามจนเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ุ
.
ที่มา WildAid
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่เว็บไซต์
#ฉลาม #หูฉลาม #WildAid
#Sustainability #SPOTLIGHT #มองขาดทุกโอกาสธุรกิจ
โฆษณา