12 ส.ค. 2023 เวลา 02:00 • การเกษตร

สินค้าเกษตร GI ในแต่ละพื้นที่ จังหวัดไหนมีของดีมาดูกัน!

ทุเรียนนนท์ มะขามหวานเพชรบูรณ์ น้อยหน่าปากช่อง หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างเกี่ยวกับสินค้า GI เหล่านี้มาบ้าง ซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นโดยเฉพาะรสชาติ โดยความโดดเด่นและแตกต่างนี้เป็นตัวแปรทำให้สินค้า GI จำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้นด้วย
GI หรือ Geographical Indication ตามความหมายของกรมทรัพย์สินทางปัญญา อธิบายว่า คือ เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเหมือนเป็นแบรนด์สินค้าของท้องถิ่นที่บ่งบอกคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า ภายใต้การดูแลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
สินค้า GI เป็นเครื่องหมายที่การันตีว่าสินค้าชิ้นนี้มีความแตกต่างจากลักษณะภูมิศาสตร์ที่ปลูก วิธีการผลิต ท้องถิ่นอื่นไม่มี เป็นสินค้าที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตามแร่ธาตุ อากาศ และดิน ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ทุเรียนเมืองนนท์จะมีกลิ่นและรสชาติแตกต่างจากทุเรียนจันท์
หรือกล้วยหอมทองพบพระที่มีรสชาติหอมหวาน เนื้อแน่นเหนียวหนึบ ผลโค้งเรียวยาว เปลือกบาง อันเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศของอำเภอพบพระที่มีอากาศร้อนชื้นฝนตกสม่ำเสมอ เป็นต้น โดยปี 2566 มีสินค้าที่ได้รับใบอนุญาตถึง 185 ชนิดมีทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าหัตถกรรม
ขั้นตอนการยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนดังนี้
1.ยื่นคำร้องไปที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา
2.ผู้เชี่ยวชาญจะลงพื้นที่เข้ามาตรวจสอบใช้เวลา 120 วัน
3.หากคำร้องขอผ่านก็จะได้รับการประกาศโฆษณาให้คนทั่วไปทราบ แต่ถ้าหากคำร้องขอไม่ผ่านทางผู้ประกอบการต้องกลับไปแก้ไขและรวบรวมเนื้อหาใหม่อีกครั้ง
4.เมื่อประกาศโฆษณาแล้ว หากไม่มีคนคัดค้านก็สามารถผ่านไปขึ้นตอนการขึ้นทะเบียนได้ แต่ถ้ามีคนคัดค้านจะมีนายทะเบียนวินิจฉัยซึ่งจะทำการตรวจสอบภายใน 15 วัน
5.เมื่อผ่านทุกขึ้นตอนแล้วจะได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ซึ่งใบอนุญาตจะมีอายุ 2 ปีเมื่อครบแล้วจะต้องดำเนินวิธีการขึ้นทะเบียนใหม่ตั้งแต่ต้น
ข้อดีผู้ที่ได้รับอนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ GI ไทย จะช่วยยกระดับสินค้าสู่ระดับพรีเมี่ยมและจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
สามารถต่อยอดใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดเพิ่มมูลค่าได้ แม้ว่าสินค้าเหล่านั้นจะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อยู่แล้วก็ตามที ไม่เพียงเท่านั้นผู้ผลิตมีสิทธิพิเศษสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เช่น โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ GI กิจกรรมส่งเสริมการเผยแพร่สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ตาม platform ต่าง ๆ เป็นต้น ไปจนถึงมีสิทธิได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่จัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา เช่น GI Fest GI Market Thaifex ตลาดนัด GI เป็นต้น
จังหวัดไหนมีของดีที่ปลูกและเลี้ยงแล้วได้สินค้า GI ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
เรื่อง : กัญฐิสา หาญณรงค์, JOMM YB
ภาพประกอบ : มนธีรา มนกลาง
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา >>https://bit.ly/42MCoDq
คลังสาระความรู้เรื่องบ้านและพรรณไม้ยังมีอีกมากมาย อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ www.baanlaesuan.com
โฆษณา