Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MindStory
•
ติดตาม
11 ส.ค. 2023 เวลา 00:30 • สุขภาพ
ชวนรู้จัก " 5 ฮอร์โมนแห่งความสุข" ในร่างกายของเรา 🥰💓
เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันบ้างไหม ?
เวลาที่เรามีความสุข มันเกิดอะไรขึ้นบ้างกับสมองของเรา ที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุข
ถ้าตอบแบบง่าย ๆ คือ สมองของเราหลั่งฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาทแห่งความสุขออกมา ช่วยทำให้เราพึงพอใจ คลายเครียด บางฮอร์โมนก็ทำให้เรามีพลังอย่างมหาศาล ! 🤩
หากว่าพวกเรานำเรื่องราวของความหมาย หรือหลักการทำงานทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย ก็กลัวว่าเพื่อน ๆ คงจะอ่านไปหาวไป 😵🥱💤
ถ้าอย่างนั้นพวกเราขอนำเรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของฮอร์โมนแต่ละตัว พออ่านสบายสมอง มาให้เพื่อน ๆ รับชมกันนะคร้าบ
ถ้าพร้อมแล้ว ! ขอเชิญไปค้นหาฮอร์โมนแห่งความสุข หาได้ง่าย ๆ พร้อมกับ MindStory กันดีกว่า ! 🥰👋
[ 📌 Quick Fact for Dopamine ]
Dopamine - ฮอร์โมนแห่งความพึงพอใจ ที่เป็นทั้งฮอร์โมน (Hormone) และสารสื่อประสาท (Neurotransmitter)
🤔 หลั่งมาจากที่ไหน - สมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus)
💗 ช่วยอะไรเราได้ - ช่วยให้เราเกิดความพึงพอใจ ความยินดีปรีดา
ถ้าหลั่งมากไป จะเกิดอะไรขึ้นกับเรา ?
- อาจทำให้เราเกิดอาการเสพติด บางสิ่งบางอย่างมากเกินไป… (แน่นอน..ถ้าไม่ได้สิ่งนั้นมา เราก็จะเศร้ามาก ตามไป..)
แล้วถ้าหลั่งน้อยไปละ ?
- อาจเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือกล้ามเนื้อสั่น (พาร์กินสัน) หรือกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
[ 📌 Quick Fact for Oxytocin ]
Oxytocin - ฮอร์โมนแห่งความรัก
🤔 หลั่งมาจากที่ไหน - ไฮโปทาลามัส หรือต่อมใต้สมอง
💗 ช่วยอะไรเราได้ - ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด เพิ่มความรัก ความผูกพันกับคนใกล้ตัว
แล้วฮอร์โมนตัวนี้ หลั่งน้อยไปละ ?
- จะรู้สึกเครียด วิตกกังวล ไม่อ่อนโยน (สำหรับคุณแม่เพิ่งคลอด ก็จะส่งผลให้ผลให้น้ำนมมีปริมาณน้อยลงตามไปด้วย)
[ 📌 Quick Fact for Serotonin ]
Serotonin - ฮอร์โมนแห่งความอารมณ์ เป็นทั้งสารสื่อประสาทและเป็นฮอร์โมน
🤔 หลั่งมาจากที่ไหน - เซลล์ในระบบทางเดินอาหารและระบบประสาทส่วนกลาง
💗 ช่วยอะไรเราได้ - ช่วยควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของร่างกาย
หลั่งมากไป จะเกิดอะไรขึ้นกับเรา ?
- บางคนอาจเกิดอาการอยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย สับสน หัวใจเต้นรัว (แต่พบได้น้อยมากคร้าบ)
แล้วถ้าน้อยไปละ ?
- อารมณ์ขุ่นมัว อ่อนไหว ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน เสียสมาธิง่าย นอนไม่หลับ
[ 📌 Quick Fact for Endorphin ]
Endorphin - ฮอร์โมนแห่งความสุข
🤔 หลั่งมาจากที่ไหน - ต่อมใต้สมอง(ต่อมพิทูอิทารี)และไฮโปทาลามัส
💗 ช่วยอะไรเราได้ - มีพลังมากล้น ความสุข ผ่อนคลาย บรรเทาความเจ็บปวด (ทำหน้าที่คล้ายๆ มอร์ฟีน)
ถ้าหลั่งมากไป จะเกิดอะไรขึ้นกับเรา ?
- ทำให้เกิดการเสพติดในกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายหลั่งเอนดอร์ฟิน (เช่น ออกกำลังกายอย่างหนัก) หรืออาจเกิดอาการเสพติดยา
[ 📌 Quick Fact for Adrenaline ]
Adrenaline - ฮอร์โมนแห่งความคึกคัก
🤔หลั่งมาจากที่ไหน - จากต่อมหมวกไต (Adrenal gland) (สังเคราะห์มาจากสารนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine)
💗 ช่วยอะไรเราได้ - ทำให้หัวใจเต้นเร็วและเลือดสูบฉีดได้ดี เหมาะกับการออกกำลังกาย
เจ้าฮอร์โมนตัวนี้ จะหลั่งออกมามากในภาวะที่เราต้องเผชิญกับ กดดันบางอย่าง เช่น ความเครียด, โกรธ, ตื่นเต้น หรือตกใจ (เรานึกถึงที่เค้าชอบบอกกันว่า เราสามารถแบกตู้เย็น ในยามไฟไหม้บ้านได้)
[ รู้จัก Dopamine Hit ! ที่เค้าชอบพูดกัน คืออะไร ?😢🤤 ]
“Dopamine Hit” ตรงตัวเลย คือ ตัวของเราถูกจู่โจมโดยสารโดปามีนจำนวนมาก ! มันไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา
แต่สำหรับจิตใจแล้ว… บางคนก็อาจจะกระทบกับความสุขของชีวิตในระยะยาว 🥴
อาการ Dopamine Hit ที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดก็คือ การไถมือถือเสพข่าว (ทั้งบันเทิงหรือดราม่า)
หรืออะไรก็ตามที่ทำให้ความอยาก ความสนใจ ความสุขจากการเสพสิ่งนั้น พุ่งสูงในระยะเวลาหนึ่ง 🤩
แล้วสักพักก็ลดลงมา…. 😣
แต่พอไถฟีดเฟซบุคลงไปอีกสักพัก.. ก็เจอโพสที่มีเรื่องราวน่าตื่นเต้นอีกแล้ว…
สมองก็หลั่งโดปามีน พุ่งสูงขึ้นไปที่เดิม 🤩
ถามว่า แล้วมันไม่ดีตรงไหน ? 🧐
ในมุมของพวกเรา ขอตอบว่า มันจะทำให้เราชาชินกับความสุขไป…🤕
พอเป็นแบบนี้เรื่อย ๆ เราก็อาจจะไม่อยากได้อะไร ทำอะไรก็เสียสมาธิง่าย จนไปถึงการไม่มีเป้าหมายในชีวิต (เพราะความสุขมันอยู่ที่มือถือ ง่าย ๆ กดได้ทุกที่ทุกเวลา 😥)
🫶🤓 วิธีการรับมือกับอาการนี้ เช่น “Dopamine Fasting” (ซึ่งเพื่อน ๆ อาจจะพอได้ยินกันอยู่เนอะ)
คล้าย ๆ กับการอดอาหารบางมื้อเลย คือ เค้าจะแบ่งเวลาในการใช้ชีวิตโดยปราศจากสิ่งเร้า เช่น โทรศัพท์มือถือ, งดทานอาหารอร่อย ๆ หรือ งดทำกิจกรรมอะไรก็ตามที่เรามีความสุข
ฟังดูแล้ว อาจเหมือนการทำทรมานเนอะ…
หากแต่ว่าคนที่เค้าคิดวิธีแบบนี้มา เค้าไม่ได้ต้องการให้เราทนทรมานนะคร้าบ 🥲
เพียงแต่เป็นการบำบัดด้วยการไม่ทำให้ตัวเองหลั่งสารโดปามีนออกมามากเกินไป 👌
✋ แต่อีกมุมนึง ก็มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนออกมาแย้งว่า ไอวิธี Dopamine Fasting มันใช้ไม่ได้จริงหรอก… เพราะว่าสมองของมนุษย์เราเนี่ย มันไม่สามารถกำหนดปริมาณสารโดปามีน และสมองคนส่วนใหญ่มันก็พร้อมหลั่งโดปามีนออกมาอยู่ตลอดเวลา
บางทีสิ่งเร้าที่มากระตุ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่เราชอบ..เพียงอย่างเดียวก็ได้
😉 อันนี้ก็นานาจิตตังกันไป… เพื่อน ๆ ที่อยากลองฝึกด้วยวิธีนี้ ก็ทำให้มันพอดีนะคร้าบ อย่าสุดโต่งจนเกินไป
สำหรับเราแล้ว เราชอบให้รางวัลกับตัวเอง (และบริหารความอยาก) เฉพาะในช่วงเวลาที่เราควรจะได้รับมันมากกว่า (มันจะชื่นใจมากกก แล้วเราก็จะไม่ชินไปกับความสุขของรางวัลชิ้นนั้น) 🏆
จริง ๆ แล้ว การเสพติดโซเชียลมีเดีย อาจไม่ได้ทำให้เกิดแค่อาการ “Dopamine Hit”
ถ้าเราเสพมากจนเกินไป บางคนอาจเกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น
🥺 หยุดเปรียบเทียบชีวิตกับคนอื่นไม่ได้
😭 เห็นเพื่อน ๆ เค้าเจอกันอัปรูป แต่ตัวเองไม่ได้ถูกชวน… รู้สึกโดดเดี่ยว อ้างว้าง
😖 เห็นความสำเร็จของเพื่อนหลายคนเยอะเกินไป เกิดอาการซีมเศร้า
💡 หนึ่งในฮอร์โมนที่อาจมาช่วยคลายข้อสงสัย ว่าความคิดในแง่ลบแบบนี้ มันเกิดมาจากอะไร
นั่นคือ “เซโรโทนิน (Serotonin)” นั่นเองคร้าบ
เอาง่าย ๆ คือ เวลาที่เรารู้สึกภูมิใจในตัวเอง รู้สึกประสบความสำเร็จ หรืออาจไปถึงการได้รับชัยชนะเหนือผู้อื่น สมองเราก็จะหลั่ง Serotonin ออกมาเยอะ
ในมุมกลับกัน… หากเรารู้สึกเหมือนตัวเองต่ำต้อยกว่า โดนเปรียบเทียบในเชิงลบ รู้สึกว่าตัวเองไม่สำคัญ คือ อาการเหล่านี้ มันจะทำให้ Serotonin หลั่งออกมาน้อยลง
แล้วถ้าเรายังติดกับดักความรู้สึกตรงนี้… Serotonin ก็จะหลั่งน้อยยยลงไปกว่าเดิมอย่างต่อเนื่อง
ก็จะทำให้เราเป็นซึมเศร้าระยะยาว จนไปถึงอาการนอนไม่หลับ ฟุ้งซ่าน เป็นต้น 😖
สำหรับพวกเราเองก็เคยเป็นเหมือนกันนะ ช่วงนั้นก็พารานอยด์ไปพอสมควรเลยละ…
แต่สุดท้ายแล้ว เราก็พยายามเรียนรู้จักตัวเองมากขึ้น เห็นใจตัวเองบ้าง
ปรับพฤติกรรมการเสพสื่อของเรา (จริง ๆ เราไปเรียนพวก Enneagram กับ MBTI มันก็ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองได้ดีขึ้นมากเลย)
พวกเราก็ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อน ๆ ค้นหาความสุขกันได้ทุกคนนะคร้าบบ 🥰🤗
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม (ขอขอบคุณข้อมูลจาก)
- เว็ปไซต์ scimath
- เว็ปไซต์ okmd
- เว็ปไซต์ โรงพยาบาลพญาไท
- เว็ปไซต์ โรงพยาบาลมนารมย์
- เว็ปไซต์ โรงพยาบาลกรุงเทพ
- บทความ “ลดความสุข เพื่อรีเซ็ตสมอง? ‘Dopamine Fasting’ เทรนด์การสร้างสมาธิที่อาจใช้ไม่ได้จริง” จากเพจ The Matter
- บทความ “เสียงที่ทำให้เรารู้สึกแย่ที่สุด คือเสียงจากภายในหัวของเรา” จากเพจ Missiontothemoon
แนวคิด
พัฒนาตัวเอง
ไลฟ์สไตล์
2 บันทึก
3
12
2
3
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย