11 ส.ค. 2023 เวลา 01:05 • สุขภาพ

ASMR คืออะไร ?

ทำไมถึงช่วยทำให้เราผ่อนคลายนะ ? 😴💤
เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนที่เจอปัญหานอนหลับยาก คงจะเลือกหันมาลองฟังเสียงแคะหูหรือเสียงสระผมแบบ ASMR กันอยู่บ้าง (เช่นพวกเราเป็นต้น ☺️🙏)
ว่าแต่… เจ้า ASMR เนี่ย มันคืออะไรนะ ? 🤔
ทำไมบางคนถึงฟังแล้วรู้สึกฟิน… แต่บางคนฟังแล้วรู้สึกรำคาญ ? 😰
วันนี้พวกเรา MindStory ขอพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกัน !
[ ASMR คืออะไร ? ]
ASMR ย่อมาจาก Autonomous Sensory Meridian Response หรือเป็นการตอบสนองต่อประสาทรับความรู้สึกอัตโนมัติจากเสียงที่แผ่วเบา 🗣️
การตอบสนองต่อประสาทรับความรู้สึกอัตโนมัติที่ว่านี้ จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก เช่น การมองเห็น การได้ยิน หรือการสัมผัส
แต่สำหรับ ASMR จะเป็นการได้ยินเป็นหลัก 🎧 (ส่วนการมองเห็นก็ช่วยนะ พวกแนว Hand movement หรือ ดึงพลังลบ การมองเห็นก็มีส่วนสำคัญเช่นกันนะ)
👩‍🏫 ต้นกำเนิดแห่งความฟินในแบบของการฟัง ASMR (ขอยกตัวอย่างเป็นส่วนของการฟังเสียงนะคร้าบ)
1. เมื่อเราได้ยินเสียงเบา ๆ ที่ผ่อนคลาย (สำคัญเลยคือ ต้องเป็นจังหวะ)
2. ตัวเราก็จะเริ่มเพลิดเพลิน สมองของเราเริ่มจดจ่อกับสิ่งเร้าภายนอกการจินตนาการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้สมองผ่อนคลาย ☺️
3. สมองเริ่มหลั่งฮอร์โมนแห่งความอบอุ่น "ออกซิโตซิน (Oxytocin)" (และผองเพื่อนฮอร์โมนแห่งความสุข) 😄
4. จึงได้ผลลัพธ์ที่ทำให้ตัวเราเกิดความรู้สึกฟิน สงบใจ และผ่อนคลาย 🥰😪💤
อย่างบางคนพอฟังเสียงแคะหู หรือ เสียงสระผม ก็จะทำให้เราจินตนาการถึงช่วงเวลาผ่อนคลาย (บางคลิปก็คล้ายกับมีคนมานวดหัวเราจริงๆเลยนะ อันนี้อ้างอิงจากความรู้สึกส่วนตัวนะคร้าบ)
🤓 เราอ่านจากเว็บของ Healthline เค้าก็ได้โพสงานวิจัยที่เกี่ยวกับ ASMR ที่สนับสนุนว่าช่วยให้เราผ่อนคลาย เราพอจะสรุปได้ว่า
- ทีมวิจัยได้นำผู้ร่วมทดลองฟังเสียงและดูวีดีโอ ASMR (ช่อง Gentle ASMR ของ Maria Viktorovna) พร้อมถ่ายภาพการทำงานของสมองโดยวิธี “fMRI”
- ซึ่งเค้าพบว่าการทำงานในส่วนของสมองที่เกี่ยวกับความรู้สึกมีการทำงานมากขึ้น 🧠
- พบการหลั่งฮอร์โมนของสมอง (neurohormones) จำพวกฮอร์โมนแห่งความสุข เช่น s dopamine, oxytocin และ endorphins
ซึ่งเจ้าฮอร์โมนพวกนี้ละ เป็นตัวที่ทำให้เราผ่อนคลาย ลดความเครียดได้ โดยเฉพาะเวลาก่อนนอน (เพราะสำหรับคนที่นอนหลับยากแบบเรา ส่วนใหญ่สมองมักจะว้าวุ่น คิดอะไรไม่ตกก่อนนอนทุกที 😨)
**อ้างอิงจากรายงานชื่อว่า “An fMRI investigation of the neural correlates underlying the autonomous sensory meridian response (ASMR) โดย Lochte, Guillory ในปี 2018)
🎧 ชวนรู้จักตัวอย่างเสียง ASMR ยอดนิยม 🌟
✔ Whispering - เสียงกระซิบ
✔ Roleplays - บทบาทสมมุติ
✔ Ear Cleaning - เสียงแคะหู
✔ Fast tapping - เสียงเคาะแบบเร็ว (แต่เบาและเป็นจังหวะสม่ำเสมอ)
✔ Hair Spa / Shampoo / Salon - เสียงสระผม เสียงไดร์เป่าผมที่ไม่ได้ดัง (อันนี้เราชอบมาก 🥰)
✔ Remove negative energy - เท่าที่พวกเราเข้าใจ จะเป็นการพูดกระซิบให้กำลังใจ คล้ายๆกับสะกดจิตเอาพลังลบออกไป (ส่วนใหญ่เค้าจะมีการใช้ภาษากายด้วยนะ)
ว่าง่าย ๆ คือ ต้องเป็นเสียงคงที่ออกมาอย่างแผ่วเบาและสม่ำเสมอ
สารภาพเลยว่า ช่วงแรก ๆ เรานี่ขำกลิ้งกับคลิปประเภทนี้ เพราะไม่คิดว่าจะช่วยอะไรได้ ดูตลกดี..
แต่พอวันนึงที่เราได้มาลองเนี่ย… โอโห มันช่วยได้เยอะอยู่เลยละ 😇
✋ แต่ต้องบอกก่อนนิดนึงว่า ไม่ใช่ว่าคนทุกคน จะผ่อนคลายกับเสียงแนว ASMR นะคร้าบ (เดี๋ยวมีพูดในตอนท้ายนะ)
[ แล้วพวกเสียงธรรมชาติหรือเลียนแบบธรรมชาติละ ? 🌲🦋 ]
เสียงแบบนี้จะอยู่ในกลุ่ม “White noise” แปลตรงตัวคือ เสียงบำบัดสีขาว 🤍⭐
เสียงบำบัดสีขาว ที่ว่านี้คือ เสียงรบกวนที่ไพเราะจากเสียงของธรรมชาติ (หรือเสียงเลียนแบบ) เช่น เสียงฝนตก เสียงของป่า น้ำไหลจากลำธาร เสียงแมลง (เช่น จิ้งหรีด หิ่งห้อย) เสียงลมพัด
สำหรับกลุ่ม White noise ที่ไม่ใช่เสียงธรรมชาติ ถ้าเสิร์ชในยูทูป เราก็จะเจอพวกเสียงกล่อมนอน เหมือนเราลอยอยู่ในอวกาศ 🌌 (อธิบายรูปแบบของเสียงไม่ออกเหมือนกัน อยากให้เพื่อน ๆ ไปลองฟังเองแทน🥲)
หลักการของเค้าก็เหมือนกับ ASMR คือ เสียงกลุ่มนี้จะมีความถี่ที่สม่ำเสมอและราบเรียบ
ทำให้เราเกิดสมาธิ ตัดความวุ่นวายจากโลกภายนอก และจดจ่ออยู่กับเสียงนั้น
ตรงนี้ เราคิดว่าเพื่อน ๆ ที่มีลูกน้อยน่าจะพอเข้าใจถึงการใช้งาน White noise ในการกล่อมลูกนอนได้ดี 👶
[ ….ไม่ใช่ว่าทุกคนจะฟินกับเสียงแบบ ASMR นี้นะ.. ✋😡]
เพราะเจ้าเสียงแนวนี้ มันอาจไปกระตุ้น "ฮอร์โมนนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephire)" ทำให้เขาตื่นตัว
เนื่องจากเกิดความเครียดหรือรู้สึกถูกคุกคามจากเสียงกระซิบแบบ ASMR
ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะมีโซโฟเนีย (Misophonia) หรืออาการเกลียดเสียง ซึ่งเป็นความผิดปกติที่มีความไวต่อเสียงที่เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้อื่น 😢
ในบางคนอาจมีภาพความทรงจำที่ไม่ดีในช่วงวัยเด็ก ซึ่งบางทีเสียงในรูปแบบนี้ อาจไปกระตุ้นทำให้เค้ากลัว (เพื่อนเราก็มีคนนึง ที่เคยแชร์กับเราว่า เหมือนเสียงผีกระซิบที่เค้าเคยได้ยินตอนเด็ก…แต่เราก็ไม่กล้าถามต่อว่าได้ยินมายังไงนะ..)
ว่าง่าย ๆ คือ แทนที่จะไปทำให้พวกเค้ารู้สึกผ่อนคลาย.. แต่กลับไปเพิ่มความกังวลแทน
เพราะงั้นถ้าเพื่อน ๆ ท่านไหนที่รู้สึกไม่ชอบเสียงพวกนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องแปลกใจนะคร้าบ ใช้ว่าคนเราจะเหมือนกันทุกคนนี่เนอะ 😉😊
ถ้าเพื่อน ๆ ท่านไหนที่ฟัง ASMR กันอยู่แล้ว
มาแชร์ ASMR ช่องโปรดที่เพื่อนฟังกันอยู่ในคอมเมนต์ได้เลย ! พวกเราจะตามไปฟังบ้างคร้าบผม 😪🙏
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
- บทความ ศาสตร์การทำ ASMR Content แบบจบครบทุกประเด็น ฉบับมือใหม่ โดยเว็บ TCI
- บทความ ASMR บำบัดอารมณ์ความรู้สึกด้วยเสียงกระซิบให้เสียวซ่านไปทั้งสมอง โดยเว็บ fungjaizine
- บทความ What Is ASMR? Your Guide to Tapping into Relaxation โดยเว็บ Healthline
- บทความ ASMR, explained โดยเว็บ Vox
- หนังสือ Unwind Your Mind เขียนโดย Emma WhispersRed
โฆษณา