28 ส.ค. 2023 เวลา 03:00 • หนังสือ

4 บทเรียนสำคัญ ที่วิเคราะห์ได้จากหนังสือ How to Win Friends and Influence People

1) แรงกระตุ้นเตือนอย่างรุนแรงที่สุดแห่งธรรมชาติมนุษย์ คือ ความปรารถนาที่จะเป็นคนสำคัญ พวกเราหิวกระหายที่จะได้รับการยกย่อง
3
สังเกตว่าหนังสือเล่มนี้ ใช้คำว่า "หิวกระหาย" ไม่ใช่ "ต้องการ" ไม่ใช่ "ปรารถนา"
คนที่ไม่ได้รับคำยกย่องเป็นเวลานานก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่อดข้าวมาหลายวัน ฆาตกรหลายคนไม่ได้มีอาการทางจิตแต่อย่างใด เพียงแต่เขาต้องการความสนใจ จากคนรอบข้าง อีกหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจน คือ การยกย่องและสรรเสริญ ทำให้ผู้คนรู้สึกกระตือรือร้นมากขึ้น แม้คำกล่าวนั้นจะไม่เป็นจริงก็ตาม
ผมถือว่าความสามารถของผมในการกระตุ้นเตือนผู้ใต้บังคับบัญญา ให้มีความกระตือรือร้น เป็นสมบัติราคายิ่งใหญ่กว่าสิ่งใดที่ผมเป็นเจ้าของ
วิธีที่จะส่งเสริมให้เขาเหล่านั้นขยันหมั่นเพียรอย่างสูงสุด คือ การยกย่องสรรเสริญและให้กำลังใจ
ชะวอบ
[วิเคราะห์] จะบอกว่ามนุษย์ทุกคนหิวแสงก็ไม่ผิด ต่างกันที่ ความหิวแสงแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนหลงตัวเองต้องการความสนใจจากผู้อื่นมากเรียกกระแสเข้าตัว
บางคนถ่อมตัว ไม่ได้ต้องการชื่อเสียงลาภยศ แต่ก็ต้องการความอบอุ่นจากคนที่ตัวเองรัก ใครๆ ก็ปรารถนาที่จะเป็นคนสำคัญ
2) ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ในการโต้เถียง สุดท้ายจะพ่ายแพ้ในความสัมพันธ์
1
หลายครั้งที่เรามีมุมมองต่างจากผู้อื่น ถึงแม้ความคิดของเราจะถูกต้องกว่า มีเหตุผลกว่า แต่ธรรมชาติของมนุษย์นั้น "ยิ่งค้าน ยิ่งต่อต้าน" ถึงแม้จะชนะในการโต้เถียง สุดท้ายก็จบลงด้วยการห่างเหินกับบุคคลนั้น จะดีกว่าไหมถ้าเราเคารพความเห็นของเขา แล้วเสนอทางเลือกอื่น
2.1) เห็นต่าง → โต้เถียง → แพ้/ชนะ ในการโต้เถียง [เสียความสัมพันธ์]
2.2) เห็นพ้อง →เข้าใจ → ยกย่อง → →เสนอแนะ [สร้างความสัมพันธ์]
[วิเคราะห์] บางครั้งเราก็ไม่จำเป็นต้องฝืนเถียงไปเรื่อยๆ หลายครั้งที่มีดราม่าเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ออนไลน์ ยิ่งเรายกประเด็นหลักฐานมาโชว์ อีกฝ่ายยิ่ง หาเหตุผลมาต่อต้าน คนไม่ใช่พูดให้ตายก็ไม่ใช่ จิตวิทยามนุษย์มันย้อนแย้ง กลับกันถ้าเรา เห็นด้วยตามน้ำไป อีกฝ่ายกลับสนใจสิ่งที่เราเสนออย่างเหลือเชื่อ เพราะฉะนั้น ถ้าจะเปลี่ยนแปลงความคิดคนอย่าคิดแค่เปลือกนอก แต่ต้องเข้าไปนั่งในใจเขาก่อน
หลายคนอาจจะมีความคิดว่า อย่างงี้มันก็ไม่ต่างจากการประจบประแจงเลยสิ?
คำตอบคือต่างครับ การประจบประแจงทำเพื่อ ผลประโยชน์ของตัวท่าน
การเห็นพ้องและเสนอแนะแบบข้อ 2.2 ทำเพื่อผลประโยชน์ตัวเขาเอง
เช่น
แทนที่ท่านจะบอกลูกห้ามสูบบุหรี่ บอกเขาว่านั่นคือเหตุผลที่ทีมที่เขาเล่นแพ้
แทนที่ท่านจะวิจารณ์ความคิดของเด็กรุ่นใหม่ เห็นด้วยและเสนอแนะ
การเห็นต่างแบบข้อ 2.1 ไม่ได้ผิดอะไร ถ้าเถียงกันเพื่อหาไอเดียหรือระดมสมอง
แต่มันจะมีผลตอนเถียงกันเรื่องที่กระทบความสัมพันธ์ แค่เริ่มพูดคำว่าไม่ สมองเขาก็ปิดไม่ฟังท่านแล้ว
สุดท้ายผมมี magic word มาเสนอ เป็นคำสั้นๆ แต่ได้ผลมาก
  • ใช่และ...
  • ถูกต้องและ...
  • เห็นด้วยและ....
3) จงเอาใจใส่ผู้อื่นโดยการพูดและให้ความสำคัญเรื่องที่อีกฝ่ายสนใจ
3
คนทุกคนต่างสนใจตัวเราเอง สังเกตจากสรรพนามในการคุยโทรศัพท์ การดูรูปตัวเองคนแรกในการถ่ายรูปหมู่
การเป็นผู้นำที่รักของทุกคน ไม่ใช่แค่ทำงานดี แต่ต้องสนใจเรื่องต่างๆ ของลูกน้องและ คุยอย่างเป็นกันเอง สำหรับพนักงานขาย การเข้าไปเสนอสินค้าตรงๆ รับรองว่าส่วนมากจะถูกปฎิเสธ เพราะลูกค้าไม่ได้ซื้อเพราะอยากได้
จงเริ่มบทสนทนาเกี่ยวกับ สิ่งที่เขาสนใจ ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ
เริ่มด้วยการคุยเรื่องที่เขาอยากฟัง เสนอเรื่องที่เขาอยากได้
4 จุดต้องจำ
1
[วิเคราะห์] ธีโอโดร์ โรสเวลต์ รู้ว่าควรจะสนทนากับผู้คนอย่างไร ตั้งแต่คาวบอยไปยังนักการทูตเขานั่งศึกษาเรื่องที่แขกสนใจเป็นพิเศษ ทริคผมที่ได้จากเรื่องนี้คือ การขอความช่วยเหลือจากผู้มีประสบการณ์ + ความกระตื้อรื้อร้น + ความเอาใจใส่ความต้องการของผู้อื่น แค่ส่วนผสมนี้ทุกคนยินดีช่วยคุณอย่างแน่นอน
การผูกมิตรกับผู้อื่นจะสำเร็จเรียบร้อย ภายในสองเดือนด้วยการเอาใจใส่อย่างแท้จริง ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการผูกมิตร สองปี โดยให้ผู้อื่นมาเอาใจใส่เรา
เดล คาร์เนกี้
4) ตั้งอกตั้งใจ สนับสนุนให้อีกฝ่ายพูดเรื่องของเขา
2
อาชีพนักจิตวิทยา ที่ปรึกษา และผู้จัดการ มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ การตั้งอกตั้งใจฟังลูกค้า บางทีลูกค้าที่โมโหเดินเข้ามา เขาอาจจะไม่ได้ต้องการทางออก เพียงแต่คนที่รับฟังเขาสักคน
เดลเล่าถึง การสนทนาเรื่อง การท่องเที่ยว แอฟริกา และ เรื่องพฤกษศาสตร์ ที่เดลไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนั้นเลย แต่ เขาตั้งอกตั้งใจ ฟังเพราะสนใจจริงๆ และเห็นพ้องด้วยน้ำใสใจจริง
[วิเคราะห์]ในหนังสือทั้งเล่ม เดลได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นสิบๆหน้า
ตัวอย่างการซื้อเสื้อนอก และการปฎิบัติของ พนักงานกับเจ้าของร้าน
พนักงาน : กล่าวโทษลูกค้าว่าโกหก ว่าสินค้าราคาถูกคุณภาพก็ได้เท่านี้
เจ้าของร้าน :
- ฟังเรื่องทั้งหมด โดยไม่ได้พูดแทรก
- แย้งลูกน้องโดยใช้ความคิดเห็นของลูกค้า
- สารภาพว่าไม่รู้ สาเหตุของปัญหาและพูดอย่างสุจริตใจ +แนวทางการแก้ปัญหา
อีกตัวอย่างเช่น ปัญหาพัสดุเกินราคา หัวหน้าพนักงานได้รอให้ลูกค้าระบายความในใจออกมาก่อน พอเขาเริ่มสงบลง ก็ขอบคุณเขาที่อุสาเดินทางมาแจ้ง ทำตามที่ลูกค้าบอกทุกอย่าง เพราะยังไงลูกค้าเป็นฝ่ายถูกอยู่แล้ว บอกลูกค้าว่า "ผมรู้ว่าคูณรู้สึกยังไง" "ถ้าผมอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ผมคงทำแบบเดียวกัน" + ช่วยแนะนำบริษัทอื่น หรือทางเลือกอื่นให้เขา สรุปคือใส่ใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ รับฟังปัญหาทั้งหมด ท้ายที่สุดก็ได้ผลลัพท์ที่น่าสนใจทีเดียว
กราบขอบคุณนักพัฒนาตัวเองทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่านจนจบ สามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ ได้ก่อนใครที่ "4 จุดต้องจำ"
#connection
#selfimprovement
#Influencetechniques
#longtermrelationship
#persuasion
#4juttongjum
#หนังสือพัฒนาตนเอง
#คอนเน็กชั่น
#การโน้มน้าวใจ
#4จุดต้องจำ
โฆษณา