15 ส.ค. 2023 เวลา 02:30 • ธุรกิจ

“ประกัน” ธุรกิจที่เหมือน เจ้ามือบ่อน แต่ลูกค้า ได้ประโยชน์

ความเสี่ยง เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์ตั้งแต่เวลาตื่น จนถึงเวลานอน และจะไม่มีวันหายไปไหน
แต่ถึงอย่างนั้น เรากลับไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ความเสี่ยงเหล่านั้น จะสร้างความเสียหายให้กับเรามากแค่ไหน และจะเกิดขึ้นเมื่อไร
1
ทำให้เกิดธุรกิจที่ยอมแบกรับความเสี่ยงเหล่านั้น แทนตัวเรา นั่นก็คือ บริษัทประกันภัย แลกกับการที่เราต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ
แล้วทำไมธุรกิจประกันภัย ถึงกล้าแบกรับความเสี่ยงที่น่ากลัว หลากหลายรูปแบบ เหมือนไม่กลัวเจ๊งแบบนี้ ? MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอนให้เข้าใจ
หากมองอย่างผิวเผิน ธุรกิจประกันภัย ก็เหมือนเจ้ามือบ่อนการพนัน ที่กำลังเดิมพัน กับสุขภาพของลูกค้ากว่าล้านคน ว่าจะไม่ป่วยพร้อม ๆ กัน และพากันมาขอเคลมประกัน จนทำให้เงินหมดบริษัท และต้องล้มเลิกกิจการไป
ทำให้การที่บริษัทประกันภัยจะอยู่ได้ ต้องทำให้โอกาสที่ลูกค้า จะมาเคลมประกัน เหลือน้อยลงที่สุด
เพราะฉะนั้น บริษัทประกันภัย จึงต้องใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ ที่เรียกว่า “Law of Large Numbers” เพื่อกระจายความเสี่ยง
หลักการของ Law of Large Numbers ในธุรกิจประกันภัยก็คือ บริษัทจะต้องหาลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพื่อถัวเฉลี่ยความเสี่ยง ของลูกค้าที่จะเคลมประกัน ให้เหลือน้อยที่สุด
นอกจากนี้ เบี้ยประกันที่บริษัทประกันภัย เรียกเก็บจากลูกค้าแต่ละคน ก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเสี่ยงของแต่ละคน
2
หากบริษัทประกันภัยมองว่า ลูกค้าคนไหนมีความเสี่ยงสูง ที่จะเคลมประกัน บริษัทก็จะเรียกเก็บเบี้ยประกันแพง แต่ถ้าหากลูกค้าคนไหน มีโอกาสที่จะเคลมประกันต่ำ เบี้ยประกันภัยก็จะถูกลง เช่นกัน
นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราควรทำประกันสุขภาพตั้งแต่อายุน้อย ๆ เพราะคนอายุน้อย มักจะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ต่ำกว่าคนที่อายุเยอะแล้วนั่นเอง
เช่นเดียวกันกับประกันภัยรถยนต์ หากเราขับรถประมาท เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง การเคลมประกันบ่อย ๆ ก็อาจทำให้ในท้ายที่สุดแล้ว เราต้องเสียค่าเบี้ยประกันในปีถัด ๆ ไปเพิ่มขึ้น
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะมองว่า บริษัทประกันภัย น่าจะได้ประโยชน์อยู่ฝ่ายเดียว เพราะสามารถเลือกได้ว่า จะให้ใครเสียเบี้ยประกันมากน้อยแค่ไหน ตามความเสี่ยง
อีกทั้งบางคนยังมองว่า ประกันภัย ดูจะเป็นสิ่งที่ไม่น่าซื้อ เพราะเหมือนกับเป็นการเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าหากไม่ได้เจ็บป่วยอะไร
1
แต่ก็เหมือนที่กล่าวไปตอนต้นบทความว่า เราไม่มีทางรู้เลยว่า วันไหนที่เราจะเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุอื่น ๆ ที่สร้างความเสียหาย ให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของเรา
ดังนั้นการทำประกันไว้ จึงเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเราว่า เงินเก็บทั้งชีวิตของเราจะไม่หายไป เพียงเพราะเจอกับความโชคร้ายที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้ง
หรือแม้กระทั่งเราจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่อย่างน้อยครอบครัว และคนที่เรารัก ก็ยังคงมีเงินให้ใช้ อย่างไม่เดือดร้อน แม้ว่าเราจะไม่อยู่แล้ว
และนอกจากการทำประกัน จะช่วยชดเชยความเสียหายจากความเสี่ยงให้เราแล้ว ค่าเบี้ยประกันที่เราจ่ายออกไป ยังสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
1
สรุปแล้ว จะเห็นได้ว่า ถ้ามองเผิน ๆ การทำประกัน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เราเสียเปรียบ เพราะถ้าซื้อมาแล้ว เราไม่ได้เจ็บป่วยอะไร ก็เหมือนเสียเงินไปเปล่า ๆ
แต่จริง ๆ แล้ว การทำประกันนั้น ก็เปรียบเสมือนการที่เราพกร่ม เวลาออกไปเดินเที่ยวข้างนอก
1
เพราะในวันที่อากาศดี เราอาจจะมองไม่เห็นความจำเป็นในการพกร่ม
2
แต่ถ้าวันไหนที่เราบังเอิญ เจอเข้ากับพายุฝน สิ่งที่เราต้องการมากที่สุดในตอนนั้น ก็คือร่มในมือสักคัน นั่นเอง..
1
โฆษณา