Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เที่ยวละไมไปด้วยกัน
•
ติดตาม
14 ส.ค. 2023 เวลา 17:04 • ท่องเที่ยว
หินสามวาฬ"ภูสิงห์ บึงกาฬ"
สัมผัสความงาม ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ หินสามวาฬ ภูสิงห์ อ.เมือง จ.บึงกาฬ
"หินสามวาฬ" อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัด "บึงกาฬ" ของแผ่นดินอีสาน
วันนี้ได้มาเห็นกับตา ได้มาสัมผัสความสวยงามของ "หินสามวาฬ" ด้ววตนเองแล้ว ดีใจมากๆ และไม่ผิดหวังเลย
ชาวบ้านที่มาให้บริการนำเราขึ้นมาเที่ยวก็บริการด้วยใจบริการ เพื่อให้เราได้ชื่นชมสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ด้วยความประทับใจ
อาจารย์จ่อย นักธรณีวิทยาเล่าให้ฟังว่า "หินสามวาฬ"
เป็นกลุ่มภูเขาหินทรายขนาดมหึมาสามก้อน อายุเก่าแก่
ราว 75 ล้านปี
กลุ่มหินเหล่านี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก กระบวนการกัดกร่อนของหินทราย และอีกหลายปัจจัย
จากธรรมชาติจนเกิดเป็นหน้าผาลักษณะแปลกตา
หินสามวาฬ ภูสิงห์ จังหวัดบึงกาฬ
อาจารย์จ่อย...ยังเล่าอีกว่า เมื่อก่อนชาวบ้านเรียกกันว่า "หินข้าวต้มมัด" ต่อมาทางการเปลี่ยนชื่อเป็น “หินสามวาฬ” ตามรูปลักษณะของหินที่เหมือนกลุ่มปลาวาฬ แหวกว่าย
อยู่ใน “ภูสิงห์” หรือเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงดิบกะลา
ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู ต.โคกก่อง อ.เมือง จ.บึงกาฬ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้
พื้นที่ป่าภูสิงห์กว่า 1.2 หมื่นไร่ เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าละเมาะเขา ด้านบนไม่มีแหล่งน้ำ
และเต็มไปด้วยผาหินทรายที่มีอายุกว่า 75 ล้านปีขึ้นไป
จึงไม่มีสัตว์ใหญ่
นักท่องเที่ยว...ที่จะไปเยือนภูสิงห์สามารถติดต่อเหมารถของทางป่าไม้มีไว้บริการ...นำนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมจุดต่างๆ บนภูสิงห์ มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง ค่าบริการ 500.- บาทต่อคัน 3 ชั่วโมง
พี่หนิงแนะนำว่า...ให้ใช้บริการจะดีกว่า...เพราะเจ้าหน้าที่เค้าชำนาญพื้นที่มากกว่าและเป็นการกระจายรายได้ให้
กับชุมชนอีกด้วย
รถที่คอยให้บริการนำนักท่องเที่ยว...เที่ยวชมตามจุดต่างๆ
สำหรับจุดท่องเที่ยวมีทั้งหมด 10 จุด แต่ว่าทีมเรามีเวลาจำกัดเลยเลือกเที่ยวชมเป็นบางจุดตามนี้
เริ่มจากจุดแรก “ลานธรรมภูสิงห์” เป็นลานหินกว้างที่มี
เพิงหินใหญ่(ด้านขวา) ตั้งอยู่ดูคล้ายสิงโตหมอบอันเป็นที่มาของชื่อ "ภูสิงห์" และชาวบ้านแถวนั้นบอกว่าดูหินทางซ้ายก็เหมือนพระไสยาสน์
เราก็มองตามไป...อืมเหมือน พระไสยาสน์จริงๆด้วย ด้านหน้าเพิงหินเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป “หลวงพ่อพระสิงห์” ให้นักท่องเที่ยวแวะสักการะเอาฤกษ์เอาชัยก่อน
เดินทางไปชมจุดอื่น
ริ้วรอยของหินบริเวณนี้ อาจารย์จ่อยเล่าว่านิ้วรอยนี้สามารถบ่งบอกได้ชัดเจนว่า...แผ่นดินอีสานของเราเคยเป็นทะเลทรายมาก่อน
(มีคลิปอธิบาย...ใครอยากได้ส่งข้อมานะคะ)
ลานธรรมภูสิงห์
จุดต่อไป “หินสามวาฬ” คือไฮไลท์ของภูสิงห์ ที่ได้ชื่อว่า
"หินสามวาฬ" เพราะก้อนหินที่เรายืนอยู่นี้มองปราดเดียว
ก็บอกได้เลยว่ารูปร่างเหมือนวาฬจริงๆ แถมยังเป็นวาฬพ่อแม่ลูกสามตัวอยู่เคียงข้างกัน ยิ่งถ้ามองมาจากบนฟ้าก็จะเห็นก้อนหินวาฬทั้งสามแหวกว่ายอยู่กลางป่าน่ารักมากๆ
อาจารย์จ่อย...เล่าว่าหลังจากเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น
"หินสามวาฬ" ตามรูปร่างที่เห็นแล้ว ที่นี่ได้รับความนิยม
จากนักท่องเที่ยวจำนวนมากแวะเวียนกันมาชม
หินสามวาฬ เป็นแนวสันเขาที่เป็นหินทรายยาวๆ บนหน้าผา สามารถเดินขึ้นไปยืนชมวิวได้ทั้งที่หินวาฬพ่อ (ก้อนริมทางซ้าย) และหินวาฬแม่(ก้อนกลาง) ส่วนหินวาฬลูกก้อนที่เล็กที่สุดที่อยู่ทางริมขวานั้นไม่มีทางให้เดินขึ้นไป
หินสามวาฬ ภูสิงห์
จุดชมวิวและถ่ายรูปได้สวยสุดๆ ก็คือบนหินวาฬพ่อ เพราะนอกจากจะได้ชมวิวทิวทัศน์แล้วยังได้เห็นหินวาฬแม่ในมุม
ที่เหมือนวาฬสุดๆ อีกด้วย
ช่วงเวลาเดินเล่น ถ่ายรูป ห้ามวิ่งเล่นหรือออกนอกเขตแนวเส้นเหลืองที่ทางอุทยานกำหนดไว้ เพราะอาจเป็นอันตรายจากการพลัดตกภูเขาได้นะคะ
จุดชมวิวถ้ำฤาษี
และจุดที่นิยมถ่ายรูปกันมากๆ คือ “จุดชมวิวถ้ำฤาษี” เป็นจุดที่สามารถเดินเท้าจากหินสามวาฬมายังหน้าผา
อีกด้านหนึ่ง จุดชมวิวบริเวณนี้เป็นลานหินกว้าง ด้านหน้าโล่งรับลมชมวิวแม่น้ำโขง ได้คล้ายบริเวณหินสามวาฬเหมือนกัน ที่ลานนี้นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปกระโดด
ขี่ไม้กวาด พอดีแต่วันนั่นหมอกหนามากเลยได้เห็นทิวทัศน์ด้านล่างไม่มากนัก
หินช้าง
จุดต่อไป “หินช้าง” เป็นช้างที่โผล่ขึ้นมากลางป่ากำลังหันข้างให้เรา ตรงบริเวณนี้นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปเล่นแบบกำลังลูบหัวช้างหรือลูบหลังช้างกัน
ประตูภูสิงห์
จุดสุดท้ายของทริปเราคือ “ประตูภูสิงห์” เป็นก้อนหินใหญ่สองก้อนตั้งขนาบข้างกันอยู่ดูคล้ายช่องประตูหินขนาดใหญ่
ได้มาสัมผัสความงาม ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ
"หินสามวาฬ" เป็นที่เรียบร้อย สถานที่ต่อไปจะเป็นที่
ภูทอก และ ภูลังกา ฝากติดตามกันนะคะ
#เที่ยวละไมไปด้วยกัน #พาเที่ยวพากินไปเรื่อย
#geotourism #60แล้วงัยไปเที่ยวกัน
ลาออกไปเช็กอิน
ท่องเที่ยว
1 บันทึก
11
3
1
11
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย