Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sarawut
•
ติดตาม
13 ส.ค. 2023 เวลา 05:56 • การศึกษา
การทำงานกับผู้คน หนีไม่พ้น Soft Side ว่าด้วยศาสตร์แห่งใจ "รู้ใจ", "อ่านใจ" และ "ซื้อใจ" คำถามคือ ควรใช้เมื่อใด ใช้กับใคร อะไรมีความเสี่ยงมากที่สุด, คุณตีความคำว่า "เสี่ยง" สำหรับคำถามนี้ว่าอย่างไร?
สมัยก่อนผมก็เคยเชื่อแบบนี้ สมัยที่ยังทำงานบริษัทเป็นลูกน้องเขาทำตามคำสั่ง ต้องนั่งบรีฟงานในห้องประชุม พอเวลาผ่านไปหลายปีผมเริ่มรู้ว่าไอ้ศาสตร์พวกนี้มันใช้จริงไม่ได้ มันเหมือนเป็นข้ออ้างขายผ้าเอาหน้ารอด ใส่หน้ากากเข้าหากัน ขนาดหัวหน้างาน supervisor ของผม ก็ยังเป็นคนที่ลึกๆแล้วขี้ขลาด เอาตัวรอด แต่สอนคนอื่นเก่ง เป็นหัวหน้าเพื่อเงินเดือน แจกใบเตือนไล่คนออก ทั้งที่ตัวเองก็ไม่มีความสามารถที่จะทำอะไรได้
หลังๆมาผมก็เริ่มสะอิดสะเอียน กับตำแหน่งใหญ่โต อยากเป็นหัวหน้าเพราะเงินเดือนดี โดยที่ไร้มาตรฐานของคนที่จริงใจ ไร้ความกล้าหาญซื่อตรง คือกลัวว่าตัวเองจะไม่ได้ดี โดยที่ใช้คำว่า"อยู่เป็น" เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดในองค์กร เปรียบเสมือนเนื้อร้ายที่คอยกัดกินองค์กร อีกทั้งยังไม่มี "กึ๋น" พอที่จะทำงาน หรือแก้ปัญหาได้นอกจากคำด่าและคำสั่ง เติบโตมาเพราะเส้นสายที่เป็นระบบอุปถัมภ์ในบริษัทที่แสนทุเรศทุรัง
2
รู้ใจ อ่านใจ ซื้อใจ ลองใจ มันคือวิธีการของคนที่ไม่มีความจริงใจ
1
3
ไม่มีจิตวิทยาใด ที่จะสามารถชนะความจริงใจไปได้ แต่มันกลับกลายเป็นความเสี่ยงเกินพิกัด เพราะเอาคุณค่าของคนมาวัดกับคำสั่งของเจ้านาย โดยไร้มโนธรรมสำนึก อาศัยน้ำเสียงเรียบๆเหมือนผู้ดีมีมารยาท แต่แฝงไปด้วยวาจาดูถูก พอถึงคราวตัวเองรับผิดชอบงานไม่ได้ ก็ชิ่งหนี เอาตัวรอด โยนความผิดให้ลูกน้อง
ค่านิยมแบบนี้ควรให้มันสูญพันธุ์ไปซะ เอะอะอะไรก็ประเมิน KPI วัดมาตรฐาน พอถึงเวลาที่จะต้องไปดิวติดต่อกับบริษัทห้างร้านที่อื่น กลับไม่กล้าพอ กลับต้องส่งให้ลูกน้องไปรับหน้าแทน ปากดี แต่ดีกรีไม่ถึง มันจึงเป็นความเฮงซวยของวัฒนธรรมในองค์กรที่ยังต้องอยู่ในประเทศนี้
1
บันทึก
8
3
8
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย