13 ส.ค. 2023 เวลา 12:26 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

“เซลล์” ส่วนเล็ก ๆ ของร่างกาย | Biology with JRItsme.

⌚️ เวลาที่ใช้ในการอ่าน 8 นาที
ระดับโครงสร้างร่างกาย อ้างอิง: https://www.pharmacy180.com/article/organization-levels-of-the-body-3412/
ทั้งหมดทั้งมวลที่เราได้เรียนรู้กันมาจนถึงตอนนี้ มันเคมีจ๋า ๆ เลยใช่ไหม... นับตั้งแต่ตอนนี้จะเป็นชีวะจริง ๆ แล้วนะ ย้อนกลับไปในเรื่องคุณสมบัติสิ่งมีชีวิต หัวข้อการจัดระบบร่างกาย ที่จะเห็นว่าเซลล์เล็กที่สุด แต่กว่าจะมาเป็นเซลล์นั้นต้องนำสารชีวโมเลกุลมาประกอบกันในเมื่อหลายล้านปีที่แล้ว ผมจึงต้องการจะเล่าองค์ประกอบทางเคมีก่อนเพื่อเรียงลำดับการจัดระบบร่างกายจากเล็กระดับอะตอม ไปจนถึงใหญ่ระดับชีวภาค
สภาพโบกก่อนเกิดเซลล์
เมื่อหลายล้านปีที่แล้ว (จำไม่ได้ว่ากี่ล้าน...) เป็นช่วงที่โลกใบนี้เพิ่งเกิดใหม่ ๆ มีสภาพแวดล้อมรุนแรง พายุฝนฟ้าคะนอง ภูเขาไฟระเบิด เศษฝุ่นควันหรือตะกอนจากหินลาวาละลายในน้ำแล้วถูกผสมจนกลายเป็นสารชีวโมเลกุลอย่าง กรดอะมิโนแบะน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ที่ต่อเป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งมีแนวคิดว่า เยื่อหุ้มเซลล์มาก่อนแล้วจึงพัฒนาโครงสร้างข้างในจนเหมือนปัจจุบัน อีกกลุ่มก็เชื่อว่า DNA เกิดก่อนแล้วแบ่งตัวเองได้ด้วย โครงสร้างที่ห่อหุ้มจะพัฒนาตามมาที่หลัง
แบบจำลองโปรโตเซลล์หรือเซลล์แรกเริ่ม อ้างอิง: https://www.nsf.gov/news/mmg/mmg_disp.jsp?med_id=62423&from=
อย่างไรก็ตาม... ก็ส่งผลให้เกิดโพรโตเซลล์ [Protocell] หรือเซลล์แรกเริ่มขึ้น กลายเป็นโพรคาริโอต [Prokaryote] เซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ต่อมาเกิดยูคาริโอต [Eukaryote] เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส อยู่กันเป็นกลุ่ม เป็นเนื้อเยื่อ เป็นอวัยวะ เป็นร่างกาย เป็นสัตว์น้ำที่ค่อย ๆ คืบคลานขึ้นมาเป็นไดโนเสาร์ เกิดเหตุการ์ณสุญพันธุ์ครั้งใหญ่จะเหลือสิ่งมีชีวิตที่จะวิวัฒนาการเป็นสัตว์เลี้ยงด้วยนม ไปจนถึงมนุษย์ในที่สุด
ภาพวาดเซลล์ไม้คอร์กของโรเบิร์ต ฮุค อ้างอิง: https://www.britannica.com/biography/Robert-Hooke
ต่อมาโรเบิร์ต ฮุค [Robert Hooke] ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ตัวแรกของโลก แล้วส่องไม้คอร์กพบเห็นช่องเล็ก ๆ มากมาย ซึ่งนั้นคือ “เซลล์” (ที่ตายแล้ว) นั่นเอง เขาเลยให้ความหมายเซลล์ครั้งแรกว่า “ห้องหรือช่องเล็ก ๆ” ต่อมา อังตวน แวน เลเวนฮุค [Anton Van Leeuwenhoek] พัฒนากล้องจุลทรรศน์ให้มีกำลังขยายมากขึ้น เขาเห็นโปรโตซัวและแบคทีเรียที่มีชีวิตมากมาย ซึ่งถือเป็นการค้นพบจุลินทรีย์ครั้งแรก
มัตทิอัส ชไลเดน (Matthias Schleiden) และเทโอดอร์ ชวันน์ (Theodor Schwann) นักวิทยาศาสตร์สองคนที่ศึกษาเซลล์กับโครงสร้างของมันอย่างลึกซึ้ง ได้ตั้งทฤษฎีเซลล์ [Theory of cell] ไว้ด้วยหลัก 3 ข้อ ไดแก่
1). สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องประกอบด้วยเซลล์ (ไม่ว่าจะเป็นเซลล์เดี่ยหรือหลายเซลล์)
2). เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
3). เซลล์เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์รุ่นก่อนหน้าเท่านั้น
ซึ่งทฤษฎีนี้ยังเป็นที่ยึดถือไว้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
น่าแปลกใจที่พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานให้ความหมาย “เซลล์” ว่า “หน่วยชีวิตที่เล็กที่สุด” แค่นั้นเลย!!! ในฐานะนักชีววิทยา (ในอนาคต) เลยจะอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจมากกว่านี้ ว่าทำไมเซลล์ถึงเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด เหตุผลง่าย ๆ เลยคือมันมี “ขนาดเล็กที่สุดเท่าที่มีชีวิตได้” ทบทวนอีกครั้ง!!! การจะเป็นสิ่งมีชีวิตได้ต้องสืบพันธุ์หรือเพิ่มจำนวนได้ ซึ่งแน่นอนว่าเซลล์ทำได้ นึกภาพแบคทีเรียที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว มันสามารถเพิ่มจำนวนได้เลย!!! แม้แต่เซลล์ในร่างกายมนุษย์ก็แบ่งตัวเพิ่มจำนวนตลอดเวลาเช่นกัน
Mycoplasma gallisepticum เซลล์ที่เล็กที่สุด อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Mycoplasma_gallisepticum
เซลล์ที่เล็กที่สุดและนับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดมีขนาด 0.2-0.3 ไมโครเมตร คือ Mycoplasma gallicepticum แบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ก่อโรคระบบทางเดินหายใจในไก่ ส่วนเซลล์ที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 15-18 เซนติเมตร คือเซลล์ไข่ของนกกระจอกเทศ
ตัวอย่างเซลล์ในร่างกายมนุษย์ที่มีรูปร่างแตกต่างกัน
หลายคนเข้าใจว่าเซลล์มีรูปร่างกลมอย่างเดียว... แต่มันหลายหลายมาก ๆ เพราะเซลล์แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกัน จึงมีรูปร่างที่ต่างออกไปให้มันทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
เซลล์ร่างต่าง ๆ (คนละเซลล์โว้ย!!!) อ้างอิง: https://www.deviantart.com/joey-cola/art/DragonBall-Z-Ultimate-Perfection-Cell-Evolved-947847504
และนี่ก็คือเซลล์โดยคร่าว ๆ ที่ผมนำเสนอให้ทุกคนได้อ่านกันสำหรับตอนนี้นะครับ รู้สึกสนุกขึ้นมากกว่าพาร์ทเคมีกันไหม... ถ้าสนุกและชอบกัน อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจ เพื่อไม่พลาดเนื้อหาชีววิทยาฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่ายนะครับ 😽

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา