13 ส.ค. 2023 เวลา 14:42 • ประวัติศาสตร์

ชายผู้ถูกอนุภาคความเร็วเกือบเท่าแสงยิง

Anatoli Bugorski เป็นนักวิจัยที่ทำงานอยู่ที่
the Institute for High Energy Physics ในเมือง Protvino ประเทศโซเวียต ในช่วงทศวรรษ 1970 เขาได้ทำงานกับเครื่องเร่งอนุภาค U-70 synchrotron ซึ่งเป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดในโซเวียต ในวันที่ 13 กรกฎาคม 1978 เขาได้เข้าไปทำการตรวจสอบเครื่องเร่งอนุภาคดังกล่าว ซึ่งเขาได้เอาหัวของเขาเข้าไปอยู่ระหว่างเส้นทางที่โปรตอนที่มีพลังงาน 76 GeV ซึ่งเขาบอกว่าเป็นเหมือนแสงสว่างที่เหมือนดวงอาทิตย์นับพัน
4
แต่เขาไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่โปรตอนเหล่านั้นได้วิ่งผ่านสมอง หู และจมูกด้านซ้ายของเขา และจากการคำนวณ เขาควรได้รับรังสีประมาณ 200,000 - 300,000 roentgens ซึ่งเขารู้ดีถึงปริมาณรังสีที่เขาน่าจะได้รับ แต่เขาตัดสินใจทำงานต่อไป และไม่ได้บอกอะไรกับใครในวันนั้น ซึ่งสำหรับคนปกติแล้ว หากได้รับรังสีเพียง 500 - 600 roentgens ก็เพียงพอที่จะทำให้เสียชีวิตได้แล้ว
1
หลังจากนั้นไม่กี่วัน หน้าด้านซ้ายของเขาบวมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เขาจึงได้ไปที่คลีนิค ซึ่งส่งตัวเขาไปยังกรุงมอสโคว์ เพื่อให้แพทย์เฝ้าดูอาการว่า เขาจะตายยังไง (จะได้ไว้เป็นกรณีศึกษา)
1
หลังจากนั้นไม่กี่วัน หนังที่จมูก และหลังหัวของเขาก็หลุดออก ทำให้เห็นเส้นทางที่อนุภาควิ่งผ่านอย่างเห็นได้ชัด ภายในหัวของเขายังคงไหม้อยู่ ในที่สุด เส้นประสาทด้านซ้ายของเขาหยุดทำงานภายใน 2 ปีหลังจากนั้น ทำให้เขาเป็นอัมพาตที่หน้าด้านซ้ายของเขา แต่เขากลับไม่ตาย และยังสามารถเรียนจนจบปริญญาเอก และยังคงทำงานเป็นนักฟิสิกส์อนุภาค และยังมีความจำ และความสามานถในการทำงานอยู่เป็นปกติ แม้ว่าเขาจะมีอาการชักอยู่บ้างก็ตาม
ในตอนแรก เรื่องของเขาถูกปิดเป็นความลับ เนื่องจากรัฐบาลต้องการปิดข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองต่าง ๆ ทางนิวเคลียร์เป็นความลับ ซึ่งเขาก็ได้รับการรักษา และช่วยเหลือตามสมควร จนในปี 1996 เขาได้สูญสิ้นสถานะผู้พิการ ทำให้เขาไม่สามารถเบิกค่ายาแก้โรคลมชักได้อีกต่อไป เขาจึงอยากจะให้นักวิจัยในโลกตะวันตกศึกษาเขา แต่เขาไม่มีเงินที่จะออกจากเมืองดังกล่าว แต่เขาก็ยังมีชีวิตอยู่ แม้ว่าเขาจะอายุมากกว่า 80 ปีแล้วก็ตาม
2
ความน่าสนใจคือ อุบัติเหตุนี้จริงๆ แล้วไม่ควรเกิดขึ้น แต่ตาม Murphy’s law ที่บอกว่า If anything can go wrong, it will เพราะ
1
1. ก่อนที่เขาจะไปตรวจเครื่องเร่งอนุภาค เขาได้บอกให้เพื่อนร่วมงานข่วยปิดเครื่องใน 5 นาที แต่เขาดันเดินถึงเครื่องเร็วเกินไป
2
2. การทดลองก่อนหน้านั้นเป็นการทดลองที่ไม่ได้เสี่ยงมาก เจ้าหน้าที่เลยขี้เกียจเสียเวลาล็อคห้อง ทั้งๆ ที่ควรจะล็อค
3. ระหว่างการทดลอง ไฟสีแดงควรจะขี้นเตือนตลอดเวลา เพื่อบอกถึงอันตราย ไฟดวงนั้นดันขาดไม่นานก่อนอุบัติเหตุดังกล่าว
2
4. เขาสังเกตว่าห้องไม่ได้ล็อกอยู่ตามระเบียบปฏิบัติ แต่แทนที่จะเอ๊ะ เขากลับเลือกที่จะเดินเข้าไป
คุณล่ะครับเคยเจอกับ Murphy’s law กับตัวเองบ้างหรือไม่ครับ?
1
โฆษณา