14 ส.ค. 2023 เวลา 14:28 • การศึกษา

บทวิเคราะห์เปรียบเทียบเเนวคิดทางการเมือง Utopia VS 1984

จากหนังสือเลื่องชื่อทั้ง 2 เล่ม ที่ขึ้นชื่อเรื่องการนำเสนอเเนวคิด วิธีการเกี่ยวกับการเมือง ที่ทุกคนทั่วโลกรู้จักทั้ง Utopia ที่เขียนขึ้นโดย Sir Thomas More เเละ Eric Arthur Blair หรือที่ทุกคนรู้จักในนามปากกาคือ George Orwell โดยกระผมสามารถเปรียบเทียบวิเคราะห์เเนวคิดของทั้ง 2 ได้ดังต่อไปนี้
เริ่มต้นจาก More ขุนนางชาวอังกฤษในสมัยศตวรรษที่ 15 ได้ออกมาเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเกาะๆหนึ่งจากเรื่องบอกกล่าว ของผู้ที่ชื่อว่า Rafael
โดยเป็นการปกครองในฝันที่ซึ่งทุกคนนั้นเท่าเทียมกัน จากการที่กระผมได้อ่านจนจบ ส่วนตัววิเคราะห์ว่า การปกครองลักษณะนี้ที่ทุกคนเท่ากัน อาจเป็นเเนวคิดในอุดมคติที่ More นั้นตั้งใจอยากที่จะให้เป็นเพราะต้องไม่ลืมว่า ในสมัยของเขานั้นประเทศอังกฤษประสบกับปัญหาทางการเมืองที่ท้าทาย ทั้งการครอบครองอำนาจของกษัตริย์ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อประชาชน ผ่านการเก็บภาษี การขูดรีดที่ทำกิน อาจกล่าวได้ว่าเป็นเเรงผลักดันให้ More เขียนเรื่องราวของ Utopia นี้ขึ้นมา
คนต่อมาคืองานเขียนของ Orwell ในชื่อ 1984 นักเขียนต้น ศตวรรษที่ 19 ชาวอังกฤษ ที่งานเขียนของเขามีบทบาทอย่างมากต่องานเขียนทางการเมืองในยุคปัจจุบัน 1984 ว่าด้วยเรื่องราวของกลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่งภายใต้การปกครองแบบคอมมูนิสต์ที่เข้มงวด โดยสื่อออกมาผ่านตัวละครที่ชื่อวินสตันที่เป็นพลเมืองในรัฐเผด็จการรัฐโอเชียเนีย โดยมีบุคคลที่เรียกว่า "พี่เบิ้ม" คอยดูเเลประเทศ
1984 สามารถวิเคราะห์ในรูปแบบการเมืองอย่างง่ายได้ว่าเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีของผู้คนที่ต้องอยู่ในระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ที่มีผู้นำ อย่าง "พี่เบิ้ม" คอยติดตาม สอดส่อง กำหนดกฎต่างๆให้ประชาชน ซึ่งในยุคต้นศตวรรษที่ 19 ผู้นำทางทหารหลายๆประเทศในยุโรปเข้ามาปกครองและใช้ระบบนี้ ซึ่งส่งผลต่อเเนวคิดของ Orwell ตามมาเป็นลำดับ
  • กล่าวโดยสรุปได้ว่าเเนวคิดแบบอุดมคติหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมนิยมอุดมคติของ More เเละเเนวคิดรับเผด็จการที่ควบคุมเบ็ดเสร็จเเบบสุดขั้ว ของ Orwell นั้นเป็นบทประพันธ์ที่มุ่งหมายอยากที่จะให้เป็นและเป็นการล้อสภาพทางการเมืองในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นที่น่าสังเกตว่า นักประพันธ์ชาวอังกฤษทั้งสองคนนั้นต่างอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อการเปลี่ยนแปลงเเนวคิดการเมืองที่สำคัญของอังกฤษเเละทั้ง 2 ต้องการสะท้อนวิธีคิดทางการเมืองของตนเพื่อทั้งให้ เเละไม่ให้ประเทศของตนเดินไปสู่เเนวคิดจุดนั้น
โฆษณา