14 ส.ค. 2023 เวลา 19:19 • ไลฟ์สไตล์

คนที่จากไปไม่รับรู้ แต่ที่เหลืออยู่ต้องรับต่อ

หลังจากที่เคยเกริ่นเรื่องการเตรียมพร้อมของชีวิตให้รับมือกับทุกสถานการณ์ให้มากที่สุด ตั้งแต่ตอนที่เริ่มตั้งหลักมีรายได้จนกระทั่งวันนึงที่เราต้องจากไปอีกโลกอย่างไม่มีกำหนดย้อนกลับ
ความตาย เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ไม่ปราถนาจะให้เกิดขึ้น แต่กฎธรรมดาของชีวิตไม่มีทางเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไปได้ ดังนั้น ทางที่จะไม่ให้เป็นทุกข์กับเรื่องของความตายมากเกินไป คือ ต้อง "ทำใจ"
มรณธรรมกถา บทที่ ๕
โพสต์นี้เลยรวบรวมข้อมูลการจัดงานศพมานำเสนอให้ทราบ เพราะคาดว่าเป็นอีกเรื่องที่เรามักจะคาดการณ์ไม่ถึง คือ เราไม่เคยนึงถึงมันนั่นเอง เพื่อการวางแผนและการเตรียมตัว หากเราต้องออกเดินทางไปยังอีกภพภูมิ อย่างน้อยเราจะไม่ทิ้งภาระไว้ให้คนที่เหลืออยู่
หน้าที่สำหรับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ต้องจัดการ เมื่อคนที่รักจากไป มีดังนี้
๑. ยืนยันการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รัก โดยการทำใบมรณบัตร ณ อำเภอ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ ๒๐๐ บาท
๒. จัดการเรื่องสถานที่ตั้งสวดอภิธรรม พร้อมติดต่อร้านดูแลจัดการจัดงานศพ โดยสส่วนใหญ่ จะนิยมจัดงานที่วัด ประมาณ ๓-๗ วัน ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้นก็จะแตกต่างกันตามขนาดของวัดและพื้นที่ด้วย
๓. การจัดการกับร่างผู้ล่วงลับ ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการแต่งตัวศพ การฉีดน้ำยาฟอร์มาลีน การเคลื่อนย้ายร่าง โลงศพ อาหารว่าง ดอกไม้จัดงาน ปัจจัยถวายพระ และค่าภัตตาหารเลี้ยงพระ และอาหารแขกร่วมงาน
๔. วันสุดท้ายของงานระลึกถึง คือ วันฌาปณกิจศพ มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องหลักๆ ได้แก่ ค่าศาลาสวดเพื่อเผาร่าง ดอกไม้จันทน์ (ดอกเล็กและดอกใหญ่) ค่าพนักงานยกโลงศพ, ผ้าบังสกุล, ผ้าไตรเต็ม และบำรุงน้ำมันเผาศพ เป็นต้น ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเปลี่ยนแปลงโดยขึ้นอยู่กับผู้จัด คือ ของชำร่วย และเครื่องดื่ม สำหรับผู้มาร่วมส่งร่างผู้ล่วงลับ
๕. สิ่งสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่บนโลกใบนี้ คือ ผงเถ้ากระดูก ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้ว นั้นคือ พิธีเก็บอัฐิ มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าโกศ ผ้าขาว ลุ้งอังคาร ผ้าห่อลุ้งอังคาร ดอกไม้ และน้ำอบไทย
โดยภาพรวมแล้ว ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพนั้นก็จะมีส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายหลัก และส่วนที่ปรับเปลี่ยนได้ตามงบประมาณของเจ้าภาพ และอาจจจะแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ที่อยู่อาศัยด้วย ฉะนั้น ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพหนึ่งครั้ง คาดการณ์โดยประมาณอยู่ที่ ๕๐,๐๐๐ - ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรืออาจจะสูงกว่านี้ตามกำลังทรัพย์ของเจ้าภาพนั่นเอง
ทั้งๆ ที่รู้ว่าจะต้องตายไม่ช้าก็เร็ว แต่แทนที่จะเตรียมตัวเตรียมใจไว้ล่วงหน้า
คนส่วนใหญ่เลือกที่จะ "ไปตายเอาดาบหน้า"
คือ ความตายมาถึงเมื่อไร ค่อยว่ากันอีกที แต่วันนี้ขอสนุกหรือขอหาเงินก่อน ผลก็คือเมื่อความตายปรารกฎอยู่เบื้องหน้า จึงตื่นตระหนก ร่ำร้อง ทุรนทุราย ต่อรอง ผัดผ่อนปฏิเสธผลักไส ไขว่คว้าขอความช่วยเหลือ แต่ถึงตอนนั้นก็ยากที่จะมีใครช่วยเหลือได้ เตรียมตัวเตรียมใจเพียงใด ก็ได้รับผลเพียงนั้น ถ้าเตรียมมามากก็ผ่านความตายไปได้อย่างราบรื่น
หนังสือธรรมะเรื่อง ระลึกถึงความตายสบายนัก
ดูเหมือนว่า หากเราไม่วางแผนทางการเงิน ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพของตตัวเอง คาดหวังว่าบุคคลที่มีชีวิตอยู่ด้านหลังจะจัดการต่อให้ อาจจะกลายเป็นภาระทางการเงินที่หนักหน่วงของบุคคลดังกล่าวก็เป็นได้ ดังนั้น คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับเรา นั่นคือ การวางแผนจัดการค่าใช้จ่ายเพื่องานศพของคุณเองไว้ล่วงหน้า เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดจริงๆ
โตเกียวแพลน ได้คัดเลือกแผนประกันชีวิตที่เหมาะสมกับแผนการเงินล่วงหน้า สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในงานศพของคุณเองมาให้พิจารณากันถึงหกแผนด้วยกัน เบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงวันละ 19 บาท ดังภาพด้านล่าง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
+ สนใจแผนประกันจาก #โตเกียวมารีนประกันชีวิต +
+ พูดคุยเพิ่มเติมได้กับ แม่แนน ปภาดา แซ่เจิน +
+ Line Officail: @tokioplan (มี @ นำหน้า) +
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โฆษณา