15 ส.ค. 2023 เวลา 03:55 • ไลฟ์สไตล์

นักการทูตกับความหลากหลาย: วิรัช ศรีพงษ์

นักการทูตกับความหลากหลาย: วิรัช ศรีพงษ์ นักการทูตที่เติบโตมากับสองวัฒนธรรม ผู้สนใจศึกษานาฏศิลป์ไทยอย่างจริงจัง
ทุกท่านเคยสงสัยกันไหมคะว่า นักการทูตกับศิลปินจะเป็นคน ๆ เดียวกันได้หรือไม่นะ? การดำเนินนโยบายการต่างประเทศซึ่งยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญอาจดูเป็นงานที่เคร่งเครียด และให้ความรู้สึกตรงกันข้ามกับการถ่ายทอดงานศิลปะที่เน้นความจรรโลงใจ วันนี้ ดิฉันจะพาทุกท่านไปรู้จักกับคุณวิรัช ศรีพงษ์ นักการทูตชำนาญการ จากกองการทูตวัฒนธรรม กรมสารนิเทศ ผู้เติบโตมาจากสองวัฒนธรรม (ไทย - ฝรั่งเศส) และสนใจศึกษานาฏศิลป์ไทยอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการแสดงโขน ซึ่งเขาเองฝึกฝนโขนจนได้รับบทตัวเอกอย่างทศกัณฐ์มาแล้ว
คุณวิรัช ศรีพงศ์
ตัวตนที่หล่อหลอมจากสองวัฒนธรรม
ย้อนไปในวัยเด็ก คุณวิรัชเติบโตมาในครอบครัวที่มีคุณแม่ที่เป็นชาวฝรั่งเศสและคุณพ่อเป็นชาวไทย ซึ่งเขาจะใช้ภาษาฝรั่งเศสสื่อสารกับคุณแม่ และใช้ภาษาไทยสื่อสารกับคุณพ่อ แถมเขายังมีชื่อภาษาฝรั่งเศสว่า ‘Alexandre’ อีกด้วย
4
คุณวิรัชมองว่าการเติบโตมาแบบเด็กสองภาษา (bilingual) นอกจากจะทำให้เขามีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสได้ในระดับใกล้เคียงกันแล้ว ยังช่วยให้เขาสามารถเข้าใจหลักคิดของทั้งสองวัฒนธรรมนี้ได้เป็นอย่างดีโดยมีพื้นฐานมาจากความเข้าใจภาษา ยิ่งไปกว่านั้น การเติบโตมากับสองวัฒนธรรมก็มีส่วนช่วยให้เขามีความเข้าใจและปรับตัวเข้ากับบริบทต่างๆ ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย
1
การเข้าใจภาษาช่วยให้เข้าใจหลักคิดของสองวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม คุณวิรัชก็ยังคงมองว่าตนเองคุ้นเคยและได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมไทยมากกว่า ซึ่งความสนใจในการฝึกฝนการแสดงโขนก็เป็นส่วนหนึ่งของความชื่นชอบในศิลปวัฒนธรรมไทยของเขานั่นเอง
1
ภาพคุณวิรัชในวัยเด็ก
ภาพคุณวิรัชขณะศึกษาอยู่ที่ปารีส
ขณะเดียวกัน แรงบันดาลใจที่ทำให้เขาสนใจการทำงานด้านการทูตนั้นมาจากความสนใจในประวัติศาสตร์ของเมืองก็อง (Caen) แคว้นนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเมืองเกิดของคุณวิรัชนั่นเอง เรื่องราวของการยกพลขึ้นบกที่เมืองก็องในสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้เขาคุ้นเคยกับประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกมาตั้งแต่เด็ก และพัฒนามาเป็นความสนใจในบทบาทของการทูตและการต่างประเทศต่อมา
ความคุ้นเคยกับประวัติศาสตร์สงครามโลก พัฒนามาเป็นความสนใจในบทบาทของนักการทูตในเวลาต่อมา
1
จากนักเรียนปารีสสู่ความฝันในการเป็นนักการทูต
“จริง ๆ แล้ว ตอนเด็ก เคยอยากเป็นนักบินนะ” คุณวิรัชพูดยิ้ม ๆ ดูเหมือนว่าความสนใจในประวัติศาสตร์สงครามโลกจะจุดประกายความฝันให้เขาหลายอย่าง แต่เขาก็ได้ล้มเลิกความฝันนี้ไป เนื่องจากไม่ถนัดวิชาคณิตศาสตร์เท่าไรนัก
เขาเริ่มสนใจเส้นทางสายการทูตขณะศึกษาอยู่ชั้นมัธยมปลาย เมื่อคุณแม่นำหนังสือเกี่ยวกับการเมืองฝรั่งเศสมาให้อ่าน ทำให้เขาได้รู้จักกับมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ของฝรั่งเศสอย่าง The Paris Institute of Political Studies หรือ ‘ซิยอง โป (Sciences Po)’ จึงตัดสินใจสมัครไปโครงการศึกษาแลกเปลี่ยนที่สถาบันแห่งนี้ในหลักสูตรที่สอนเป็นภาษาฝรั่งเศส
การมีโอกาสได้ฟังบรรยายจากอาจารย์ชาวฝรั่งเศสที่มี passion ในวิชาที่ตนเองสอนอย่างลึกซึ้ง ทำให้คุณวิรัชค้นพบว่าตัวเองรู้สึกสนุกกับการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และการเมืองอย่างมาก โดยที่เขามีพื้นฐานความสนใจในประวัติศาสตร์มาตั้งแต่วัยเด็กเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เขาจึงเลือกที่จะเดินตามความฝันใหม่ของตัวเองคือ
การสอบเป็นนักการทูต
1
ภาพคุณวิรัช ขณะศึกษา ณ สถาบันซิยอง โป ประเทศฝรั่งเศส
ภาพคุณวิรัช ขณะศึกษา ณ สถาบันซิยอง โป ประเทศฝรั่งเศส
ปัจจุบัน คุณวิรัช เป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ในตำแหน่งนักการทูตชำนาญการ กองการทูตวัฒนธรรม กรมสารนิเทศ ซึ่งหากจะให้เขานิยามการทูตไทยนั้น เขาแบ่งปันมุมมองที่น่าสนใจกับเราว่า “นักการทูตไทยเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ผู้เชื่อมประสานที่ดี และผู้รู้จักแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง”
2
นักการทูตไทยเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ผู้เชื่อมประสานที่ดี และผู้รู้จักแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง
ภาพคุณวิรัชขณะปฏิบัติงานที่กระทรวงการต่างประเทศ
ผู้เชื่อมประสาน ‘โลกของศิลปิน’ และ ‘โลกของการทูต’
คุณวิรัชเองก็ถือเป็นหนึ่งตัวอย่างของ ‘ผู้เชื่อมประสานที่ดี’ ของมิติการทูตและวัฒนธรรม นอกจากงานด้านการทูตแล้ว คุณวิรัชยังเป็นผู้ศึกษานาฏศิลป์ไทยอย่างจริงจังคนหนึ่ง
เขาเริ่มชื่นชอบการแสดงโขนตั้งแต่อายุสองขวบ จากครั้งที่คุณพ่อและคุณแม่พาไปชมการแสดงโขน ภายใต้โครงการสังคีตศาลา ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เมื่อเขาได้เห็นท่าทางที่สง่างามของตัวละคร บวกกับเครื่องแต่งกายที่สวยงาม ก็เกิดความประทับใจอย่างมาก และเริ่มฝึกฝนโขนอย่างจริงจังตั้งแต่อายุ ๑๑ ปี จนได้รับบททศกัณฐ์ในที่สุด
3
ชื่นชอบการแสดงโขนตั้งแต่อายุสองขวบ
1
แน่นอนว่า การได้รับบททศกัณฐ์มิได้อาศัยเพียงรูปร่างสูงใหญ่เท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยทักษะในการถ่ายทอดอารมณ์ขั้นสูง เพื่อสื่อสารอารมณ์และความรู้นึกคิดอันซับซ้อนของพญายักษ์ที่เป็นตัวละครสำคัญของรามเกียรติ์ได้เป็นอย่างดี
1
หากจะให้เล่าถึงโขนตอนที่ประทับใจที่สุด คุณวิรัชเลือกตอน ‘ทศกัณฐ์ชูกล่องดวงใจ’ เนื่องจากเป็นตอนที่เรียกน้ำตาจากผู้ชมได้มาก เขามองว่า การถ่ายทอดท่าทางและการร่ายรำให้เข้าถึงอารมณ์โศกและความหยิ่งในศักดิ์ศรีของตนในวาระสุดท้ายที่พญายักษ์ต้องพ่ายแพ้แก่พระรามให้ผู้ชมเข้าถึงความรู้สึกนั้น ซึ่งทั้งงดงามและท้าทายในเวลาเดียวกัน
ภาพคุณวิรัชขณะทำการแสดงรามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ชูกล่องดวงใจ
นอกจากการแสดงโขนแล้ว เขายังมีสนใจในความงดงามของบทเพลงสุนทราภรณ์ด้วย จากการได้ฟังเพลงสุนทราภรณ์กับคุณพ่อในวัยเด็ก คุณวิรัชจึงได้ฝึกฝนการขับร้องเพลงสุนทราภรณ์ และเป็นนักร้องเพลงสุนทราภรณ์อยู่ช่วงหนึ่งด้วย เรียกว่าความหลงใหลและความจริงจังในการศึกษาศิลปวัฒนธรรมไทยของคุณวิรัชนั้น ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าความสนใจด้านประวัติศาสตร์และการทูตของเขาเลย
1
นอกจากการแสดงโขนแล้ว เขายังมีสนใจในความงดงามของบทเพลงสุนทราภรณ์ด้วย
ภาพคุณวิรัชขณะร้องเพลงสุนทราภรณ์
ปัจจุบันเขาก็ยังคงฝึกซ้อมและแสดงโขนอยู่ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติหน้าที่เป็นนักการทูต ซึ่งคุณวิรัชมองว่างานทั้งสองอย่างส่งเสริมซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี การที่เขาเองก็เป็นศิลปินคนหนึ่ง ทำให้เขาสามารถเป็น ‘ผู้เชื่อมประสานที่ดี’ ระหว่างผู้ที่ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับผู้ขับเคลื่อนนโยบายการต่างประเทศได้ดี
แม้คนทั้งสองกลุ่มนี้อาจมีมุมมองที่ต่่่างกันไปตามธรรมชาติของงานที่แต่ละฝ่ายทำ แต่ทุกฝ่ายต้องเห็นภาพเดียวกัน เพื่อก้าวไปสู่จุดหมายร่วมกัน คือ การส่งเสริมการทูตวัฒนธรรมของไทยนั่นเอง
จุดหมายร่วมกัน คือ การส่งเสริมการทูตวัฒนธรรมของไทย
1
อย่างไรก็ตาม การสวมหมวกหลายใบและสลับบทบาท ‘ศิลปิน’ กับ ‘นักการทูต’ ก็ยังคงมีความท้าทายไม่มากก็น้อยสำหรับเขา ซึ่งคุณวิรัชก็บอกกับเราว่า บางครั้งภาพตัวละครอาจจะแวบเข้ามาในสมองเขาอยู่บ้างเหมือนกัน เพราะในยามที่เขาสวมหมวกศิลปิน เขาก็ใช้ทั้งสมาธิและความทุ่มเทในการตีความเพื่อสวมบทบาท
ตัวละครนั้น ๆ ได้อย่างแนบเนียน ทั้งนี้ คุณวิรัชก็ยังทิ้งท้ายขำ ๆ ว่า เขาคิดว่าตนเองค่อนข้างจะแตกต่างจาก ทศกัณฐ์มาก และออกจะคล้ายกับพิเภกมากกว่า
‘Soft Power’ ที่อยากให้อยู่คู่ไทย
ศิลปวัฒนธรรมของไทยเป็นสิ่งสวยงามและมีคุณค่าอย่างมาก ทั้งยังเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่ไม่อาจหาได้ที่ใดในโลก กระทรวงการต่างประเทศจึงได้ส่งเสริมศิลปวัฒธรรมไทยรวมถึงนาฏศิลป์ไทยในฐานะ ‘soft power’ เสมอมา เราจึงควรรักษาสมบัติทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไม่ให้สูญหายไป ซึ่งคุณวิรัชก็มีความหวังเช่นกันว่า วันหนึ่ง เราจะมีสถาบันที่รวบรวมองค์ความรู้และการจัดเก็บข้อมูลด้านนี้อย่างเป็นระบบให้คนรุ่นหลังสามารถเข้าถึงได้ เพื่อคงเอกลักษณ์ไทยเหล่านี้ให้ยืนยงเป็น ‘soft power’ ที่มีพลังยิ่งขึ้นต่อไปอีกนานเท่านาน
7
ศิลปวัฒนธรรมของไทย...เอกลักษณ์ของไทยที่ไม่อาจหาได้ที่ใดในโลก
1
สุดท้ายนี้ทุกท่านสามารถติดตามซีรีย์ #นักการทูตกับความหลากหลาย จากเราได้ในเดือนต่อ ๆ ไป โดยกดติดตาม Blockdit ของกระทรวงการต่างประเทศไว้นะคะ เรายังมีนักการทูตและบุคคลากรกระทรวงการต่างประเทศอีกหลายท่านที่พร้อมจะมาแบ่งปันประสบการณ์ และเรื่องราวความหลากหลายในหลายรูปแบบให้ทุกท่านได้เพลิดเพลินกันค่ะ
โฆษณา