15 ส.ค. 2023 เวลา 08:44 • ไอที & แก็ดเจ็ต

เสริมเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ให้โรงเรียนสังกัด กทม. 437 แห่ง

ท่ามกลางสังคมดิจิทัลในปัจจุบัน เด็กและเยาวชนไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้สื่อโซเชียล ทำให้มีความเสี่ยงต่อภัยไซเบอร์ ยิ่งไปกว่านั้น เด็กและเยาวชนไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่น่ากลัวจากการถูกไซเบอร์บูลลี่ หากขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้สื่อออนไลน์ จนบางครั้งอาจนำไปสู่ความสูญเสียต่างๆ
สอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดจากดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index ซึ่ง AIS และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกันจัดทำขึ้น พบว่าเด็กวัยเรียนใน กทม.ที่มีอายุระหว่าง 10 – 22 ปี ยังขาดทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นอีกกลุ่มสำคัญที่ต้องเพิ่มทักษะความรู้และความเข้าใจให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยไซเบอร์
ภาคเอกชนอย่าง AIS ที่เดินหน้าเป็นแกนกลางของสังคมในการสร้างเครือข่ายแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ออกแบบเนื้อหาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เพื่อส่งเสริมและสร้างทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทัน พร้อมอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยที่ผ่านมาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์เข้าถึงคนไทยไปแล้วกว่า 300,000 คน และมีโรงเรียนในสังกัดของ สพฐ. นำไปเป็นบทเรียนให้แก่นักเรียนแล้วกว่า 29,000 โรงเรียนทั่วประเทศ
วันนี้ เอไอเอส ได้ขยายความร่วมมือไปยังกรุงเทพมหานคร เพื่อขยายผลส่งต่อหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ไปยังสถานศึกษาในพื้นที่สังกัด กทม. ทั้งโรงเรียนระดับอนุบาล - ประถมศึกษา. ระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 437 แห่ง ซึ่งจะทำให้ทั้งบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ผู้ปกครอง
รวมถึงประชาชนโดยรอบในชุมชนมากกว่า 250,000 คน ได้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัล ให้มีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ ไม่ตกเป็นเหยื่อของการใช้งานออนไลน์และมิจฉาชีพ สามารถใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย
สอดคล้องกับเป้าหมายของกรุงเทพมหานคร ภายใต้นโยบายเรียนดีของผู้ว่าฯ กทม.ท่านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัด กทม.ให้มีความทันสมัยสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของโลกดิจิทัลและเทคโนโลยี รวมทั้งยกระดับการศึกษาของเด็กในกทม.ให้เป็นเชิงรุกในรูปแบบของ Active learning ผ่านสื่อดิจิทัล ทำให้เด็กเข้าถึงข้อมูลความรู้และความเข้าใจด้านทักษะดิจิทัลได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น
ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อของภัยไซเบอร์ อันจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยยกระดับดัชนีสุขภาวะดิจิทัลของเด็กไทยและคนไทยให้อยูในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นต่อไป
สนใจติดตาม Thailand Cyber Wellness Index ได้ที่ https://sustainability.ais.co.th/storage/update/report/advanc-ebook-thailand-cyber-wellness-th.pdfหรือเสริมทักษะดิจิทัล เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์ผ่านหลักสูตร "อุ่นใจ CYBER" คลิก https://learndi.ais.co.th/
โฆษณา