16 ส.ค. 2023 เวลา 11:31 • ท่องเที่ยว

หมู่เทวาลัย ในคชุราโห อินเดีย

Khajuraho หรือ Kharjuravahaka เป็นเมืองโบราณในแคว้นมัธยประเทศ ทางตอนเหนือของอินเดีย ตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ถึงศตวรรษที่ 12 ที่นี่เป็นเมืองหลวงของกษัตริย์ราชวงศ์ จันทีละ (Chandela) ผู้ปกครอง Bundelkhand ซึ่งจากศตวรรษที่ 9 ถึงศตวรรษที่ 11 CE ได้พัฒนาดินแดนขนาดใหญ่ Jejakabhukti (Jijhoti)
เมื่อถึงจุดสูงสุด Jejakabhukti ได้รวมเอาพื้นที่เกือบทั้งหมดในรัฐมัธยประเทศในปัจจุบัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ภูมิภาค Bundelkhand อันเก่าแก่ .. เมืองหลวงเดิมขยายกินพื้นที่ประมาณ 21 ตารางกิโลเมตร และมีวัดประมาณ 85 แห่ง สร้างขึ้นโดยผู้ปกครองที่สืบต่อกันมาตั้งแต่ปี 950 ถึง 1050
ในช่วงปี คศ. 950-1050 เมืองเล็กๆแห่งนี้ได้พัฒนางานสถาปัตยกรรมในสมัยกลางของตนขึ้น รวมถึงความสง่างามของอาคาร และรายละเอียดของประติมากรรม จนถึงขั้นสุดยอด มีความงามเฉิดฉาย ยากที่จะหาที่ใดมาเปรียบเทียบได้ เป็นมรดกงานศิลป์ชิ้นยิ่งใหญ่ของอินเดียสมัยกลางในยุครุ่งเรือง
ในช่วงเวลานั้น คชุราโหมีกำแพงเมืองล้อมรอบ มีประตูเมือง 8 แห่ง … ว่ากันว่า แต่ละแห่งจะมีต้นอินทผาลัมทองขนาบประตูทั้ง 2 ด้าน .. เทวาลัยในคาราโหส่วนใหญ่สร้างขึ้นระหว่างคริสตศักราช 950 ถึง 1050 บันทึกทางประวัติศาสตร์ระบุว่าบริเวณวัดขจุราโหมีวัด 85 หลังในศตวรรษที่ 12 แผ่กระจายไปทั่ว 20 ตารางกิโลเมตร
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 11 ราชวงศ์ Chandela ซึ่งอยู่ในช่วงแห่งความสับสนวุ่นวายและตกต่ำ ได้ย้ายเมืองหลวงไปยังป้อมเขาที่อื่น .. แต่Khajuraho ยังคงมีความสำคัญทางศาสนาจนถึงศตวรรษที่ 14 .. แต่หลังจากนั้นก็ถูกทิ้งร้าง
ความห่างไกลของที่ตั้งเทวสถานเหล่านี้ อาจช่วยให้พ้นจากชาวมุสลิมหรือโมกุลผู้พิชิต ที่มักก่อกวนและสร้างความเสียหายให้กับศาสนสถานของชาวฮินดู .. ในปี 1838 กัปตันกองทัพอังกฤษ T.S. เบิร์ตได้รับข้อมูลที่ทำให้เขาค้นพบความซับซ้อนของวัดในป่าในคชุราโหอีกครั้ง
จากวัดดั้งเดิม 85 แห่งในพื้นที่นี้ ในปัจจุบีนมีเพียง 22 แห่งยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ..กลายเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดียในปัจจุบัน และสมกับชื่อที่ได้รับจากศตวรรษที่ 11 จากนักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิม CE Abu Rihan Alberuni ว่าเป็น 'เมืองแห่งเทพเจ้า'
กลุ่มเทวาลัยในคชุราโห เป็นกลุ่มวัดในศาสนาฮินดู และศาสนาเชน (Jain) ที่อยู่ในเขตชาตาร์ปูร์ รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย .. ได้รับการบกย่องให้เป็นมรดกโลกในปี 1986 เป็นโบราณสถานที่มีชื่อเสียงจากประติมากรรม Erotic ที่น่ามหัศจรรย์และมีความงดงาม
ทั้งภายในและภายนอกเทวาลัยได้รับการแกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม ด้วยประติมากรรมชั้นเลิศที่มักจะกระตุ้นความรู้สึก และในบางกรณีก็แสดงออกทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง
วัดนี้แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม โดยกลุ่มตะวันตกนั้นใหญ่ที่สุด และเป็นที่รู้จักดีที่สุด .. ประกอบด้วยวัด Shaivite อันงดงาม Kandariya Mahadeva (ประมาณปี 1000) ความสูง 102 ฟุต (31 เมตร) ที่รวมกันของระเบียงและป้อมปืนจนสุด ในยอดแหลม
คชุราโหสมัยใหม่ .. เป็นหมู่บ้านเล็กๆ การท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจ สนามบินเชื่อมต่อ Khajuraho กับหลายเมืองในอินเดีย ชื่อของเมืองมาจากความแพร่หลายของต้นคาจูร์หรือต้นอินทผลัมในพื้นที่
วัดส่วนใหญ่ในคจุราโหสร้างด้วยหินทราย มีเพียง 4 วัดที่ใช้หินแกรนิตในการก่อสร้าง .. วัดเหล่านี้ส่วนใหญ่ สร้างขึ้นระหว่าง 950 ถึง 1,050 CE และเป็นวัดในศาสนาฮินดู (Saiva หรือ Vaisnava) หรือ วัดในศาสนาเชน
.. วัดที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Kandariya Mahadeo ที่สร้างขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 11 และอุทิศให้กับพระอิศวร วัดลักษมณา ร่วมสมัยที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 954 โดยกษัตริย์ Dhanga (คริสตศักราช 950-999) เพื่อเฉลิมฉลองอิสรภาพจากผู้ปกครอง Gurjara-Pratihara และมีเค้าโครงและภายนอกคล้ายกับ Kandariya Mahadeo
คนส่วนใหญ่อาจจะเคยเห็นภาพถ่ายและรู้จักคชุระโหจากประติมากรรมอีโรติค ที่แฝงฝังอยู่ตามผนังด้านต่างๆของเหล่าวิหารและมณฑพ .. อันที่จริงคชุระโหประกอบไปด้วยศาสนสถาน ซึ่งแต่ละแห่งมีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมมากมายหลายร้อยชิ้น เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวในอินเดียที่แปลกและน่าไปเยือนเป็นอย่างยิ่ง
คะชุระโห( Khajaraho) มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า Khajura+vahaka มีความหมายว่าผู้ถืออินทผลัม ตำนานโบราณกล่าวกันว่า สมัยเมื่อนานมาแล้วมีต้นอินทผลัมทองตั้งอยู่สองข้างประตูทางเข้า บางคนแปลความหมายว่า น่าจะเป็นผู้ถือแมงป่อง อันหมายถึงพระศิวะในภาคที่ดุร้ายที่มีงูและแมงป่องมากกว่า
ปัจจุบันเหล่าวิหารและมณฑพของคชุระโหเหลืออยู่เพียง 25 แห่งเท่านั้น แบ่งออกเป็นกลุ่มวิหารทางทิศตะวันตกซึ่งมีจำนวนมากที่สุด กลุ่มวิหารทางทิศตะวันออกและกลุ่มวิหารทางทิศใต้ที่เหลืออยู่ไม่มาก
วิหาร 6 แห่งเป็นศาสนสถานที่อุทิศให้แก่พระศิวะมหาเทพ
วิหาร 8 แห่งเป็นวิหารอุทิศถวายแด่พระวิษณุ
วิหาร 1 แห่งเป็นวิหารของพระพิฆเณศว์
วิหาร 1แห่งเป็นวิหารของพระสุริยะเทพ
และอีก 3 แห่งเป็นวิหารในศาสนาเชน
วิหารเกือบทุกแห่งจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามคติความเชื่อทางฮินดู ... ก่อสร้างด้วยหินทรายและบางส่วนด้วยหินแกรนิต มีโครงสร้างประกอบไปด้วยมณฑปและสิงขรหลายยอด ลักษณะสูงเสียดฟ้าคล้ายเขาไกรลาส และเน้นความสมมาตร ประดับตกแต่งด้วยประติมากรรมลอยตัวที่งดงามและน่าทึ่งเป็นที่สุด
ประติมากรรมเหล่านี้ประกอบไปด้วยเหล่าทวยเทพ นางอัปสรา
หญิงสาวในอิริยาบถต่างๆที่งดงามและอ่อนช้อย องค์เอวอ้อนแอ้นอรชร บ้างก็มีเสื้อผ้าครบครัน บางนางก็ออกจะโป๊หรือเปลือย บ้างก็อยู่ในระหว่างแต่งหน้าทำผม ถือกระจกผัดแป้ง และอิริยาบถอื่นๆที่ดูน่ารัก มีชีวิตชีวาอีกมากมาย
มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ของประติมากรรมเหล่านี้บอกเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ประเพณีวัฒนธรรม รวมถึงประติมากรรมรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง ม้า ลิง และแม้กระทั่งอูฐ
สิ่งที่ทำให้คะชุระโห โด่งดัง ในสายตาของคนทั่วไปอย่างไม่มีคำถาม คือ ประติมากรรมแนว Erotic Art ที่ท้าสายตาใคร่อยากรู้อยากเห็น ที่ยืนยงมากว่า1000 ปี ทั้งๆที่ อีโรติกอาร์ตเหล่านั้นมีอยู่เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ของทั้งหมดเท่านั้นเอง
ประติมากรรมแนวอีโรติกอาร์ตเหล่านี้ บางคนอ้างว่า เป็นผลจากความเชื่อในลัทธิตันตระที่สุดโต่ง บ้างก็อ้างว่ามาจากพระเวทในศาสนาพราหมณ์ฮินดูที่กว่าจะหลุดพ้นได้ ต้องผ่านขั้นตอนการพิสูจน์ตัวเองมามากมาย
อีโรติกอาร์ต ที่มีมานานเกือบพันปีนี้ .. ผู้รังสรรค์ผลงานต้องมีจินตนาการอันบรรเจิดเพริศแพร้วจริงๆ กว่าจะสลักเสลาออกมาเป็นประติมากรรมที่มีท่าทางอันพิสดาร (ในสายตาและความเห็นของคนส่วนใหญ่) เช่นนี้ได้ .. ดูๆไป ท่าทางเหล่านั้น แม้นักกายกรรมบางท่านอาจทำเลียนแบบไม่ได้ด้วยซ้ำไป (ในภาพสลัก จึงมักจะเห็นคู่รัก ทั้งชาย-หญิง จะมีผู้ช่วยคอย Support .. ไม่ใช่การประกอบกิจกรรมเซ๊กซ์หมู่อย่างที่บางคนอาจจะคิดไปเอง)
โฆษณา