17 ส.ค. 2023 เวลา 10:59 • อาหาร

โอกาสที่เสียไปของไทยในคราฟต์เบียร์

คราฟต์เบียร์คืออะไร ทำไมต้องแพง เป็นกระแสในช่วงนี้จังเลย
คนไทยเราเป็นนักดื่มค่ะ หากจะคิดแค่ในเอเซีย ไมยเราเป็นที่ 3 ชาติที่ดื่มหนักกว่าเราคือ เวียดนาม และ เกาหลีใต้ ซึ่งประเทศเค้านิยมชมชอบคราฟต์เบียร์กันมาก แล้วคราฟต์เบียร์คืออะไรล่ะ ตอนนี้พูดถึงกันอย่างมาก ไม่ใช่แค่ในวงการร้านอาหาร-เครื่องดื่ม แต่ถูกพูดถึงในวงการเมืองด้วย
คราฟต์เบียร์ คือ เบียร์โฮมเมดค่ะ สั้นๆ ง่ายๆ เลย แต่ถ้าจะขยายความ คราฟต์เบียร์ คือ เบียร์ที่ทำเองทุกขั้นตอนโดยใช้วัตถุดิบตามธรรมชาติเท่านั้น ทำเบียร์ในสไตล์อเมริกัน ส่วนใหญ่จะเพิ่มวัตถุดิบประจำท้องถิ่นหรือวัตถุดิบตัวชูโรงลงไปเพื่อให้มีกลิ่นและรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ จึงเป็นเบียร์ที่ทุ่มเทฝีมือในการทำ ความประณีตและรสชาติแฝงที่โดดเด่นนี้ ถ้ากฎหมายเรายอมรับ คราฟต์เบียร์จะมีสถานะเทียบเท่าเบียร์หรือสาเกของญี่ปุ่นทีเดียว ว่าไปที่นี่ต้องกินไอ้นั่นให้ได้ ไม่งั้นถือว่ามาไม่ถึง
คราฟต์เบียร์สีต่างๆ
องค์ประกอบของคราฟต์เบียร์
1 มีขนาดเล็ก ผลิตในโรงงานขนาดย่อม มีกำลังการผลิตไม่เกิน 700 ล้านลิตรต่อปี
2 เป็นอิสระจากนายทุนรายใหญ่ เพราะเจ้าของต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 75%
3 ใช้วิธีการหมักเบียร์แบบดั้งเดิม เพิ่มเติมคือใส่วัตถุดิบอื่นเพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติ
4 ต้องใช้วัตถุดิบธรรมชาติเท่านั้น
การเพิ่มรสหรือกลิ่นก็เช่น กลิ่นบ๊วย ส้ม มะกรูด มะพร้าว หรือที่น่าเจ็บใจคือ คนอเมริกาที่รัฐนอร์ทแคโรไลนาได้สร้างสรรค์คราฟท์เบียร์ IPA ให้เป็นรส "แกงเขียวหวาน" ซึ่งมีกลิ่นตะไคร้ ใบมะกรูด ใบโหระพา มะพร้าวเผา ขิง ข่า เป็นข่าวดังไปทั่วโลก
คราฟท์เบียร์ประเภท IPA
คราฟท์ตเบียร์มี 8 ประเภท คราฟต์เบียร์แกงเขียวหวานเป็น IPA ก็เป็นประเภทหนึ่ง
1 Lager
2 Plisner
3 Witbier
4 Hefeweizen
5 Pale Ale
6 IPA
7 Double IPA
8 Stout
คราฟต์เบียร์ที่น่าลอง
ขอยกตัวอย่าง IPA แล้วกันนะคะ
IPA เป็นประเภทของบียร์ชนิดหนึ่ง มีแอลกอฮอล์สูงกว่าเบียร์ธรรมดา ย่อมาจากคำว่า Idian Pale Ale กลิ่นฮอปส์มีความโดดเด่น เก็บได้นาน มีสีทองแดงสวยงาม
สีของครฟต์เบียร์ชนิดต่างๆ
เบียร์จะเกิดได้ต้องมีส่วนประกอบ 4 อย่างคือ
1 ยีสต์ ทำให้เกอดแอลกอฮอล์
2 ฮอปส์ ใช้แค่ส่วนของดอกในการหมัก เพื่อให้หอมและมีรสขม
3 มอลต์ เมล็ดที่ใช้หมัก มอลต์แต่ละแบบมีผลต่อสีและรส บางทีเปลี่ยนไปใช้ข้าวชนิดอื่น เช่น ข้าวสาลี
4 น้ำ แหล่งน้ำต่างกัน รสชาติเบียร์ก็ต่างกัน
ข้าวที่ใช้หมักทำเบียร์
ถ้าอยากจะผลิตคราฟต์เบียร์ต้องทำยังไง
ถ้าจะทำให้ถูกกฎหมาย ต้องไปยื่นขอใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิตก่อน โดยมีเงื่อนไขว่า
1 มีทุนจดทะเบียน 10 ล้าน
2 หากผลิตเพื่อขายในสถานที่นั้น ต้องผลิตอย่างน้อย 1 แสนลิตรต่อปี
3 หากขายนอกสถานที่ ในส่ขวดหรือเป็นเบียร์กระป๋องแบบเจ้าใหญ่ๆ เค้าทำกัน ต้องผลิต 10 ล้านลิตรหรือ33 ล้านขวดต่อปี
นี่เองที่มันยุ่งยากและกีดกันการผลิตคราฟต์เบียร์ในชุมชนของไทย ใครจะไปสู้ไหว แค่ เงื่อนไขแรก สิบล้านก็กระอักแล้วสำหรับรายย่อย
ตลาดน้ำเมาในไทยกับญี่ปุ่นพอๆกันที่ 2 แสนล้านบาท แต่ไทยมี 10 ยี่ห้อ ขณะที่ญี่ปุ่นมีถึง 50,000 ยี่ห้อ เพราะกฎหมายประเทศนี้ทำให้คนตัวเล็กๆ ในท้องถิ่นที่มีฝีมือ มีความสามารถ แต่ไม่มีเงิน ไม่สามารถผลิตสุราออกมาขายได้โดยเสรี
พรรคก้าวไกลนำโดยนายเท่าพิภพจึงเสนอแก้ นายพิธาสนับสนุน แต่น่าเสียดาย กฎหมายเพิ่อขอแก้ไขข้อจำกัดเพื่อให้คนไทยตัวเล็กๆ ให้แข่งขันได้ทั้งในตลาดไทยและตลาดโลก ไม่ผ่านสภา ถูกดองอยู่จนบัดนี้ (เสนอ 2 กุมภาพันธ์ 2565) ทุกๆ วันที่เสียไปคือ มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เสียโอกาสได้ต่อสู้ ลืมตาอ้าปากของคนไทยตัวเล็กๆ ตลาดน้ำเมาไทยเลยอยู่ในมือคนแค่ 10 คน ขณะที่ญี่ปุ่นกระจายไปถึง 50,000 คน นี่คือมุมมองของทุนใหญ่ผูกขาดรึเปล่า
1
หากเทียบกับตลาดประเทศอื่น ตลาดเบียร์ในเยอรมัน มีบริษัทผลิตเบียร์ 1,300 แห่ง อเมริกา 1,400 แห่ง เบลเยียม 200 แห่ง ไทยมีเพียง 2 ตระกูลที่แทบจะผูกขาดการผลิตเบียร์ในประเทศ
การปลดล็อกทุนผูกขาด เหล้า-เบียร์ คือ การพังทำลายความเหลื่อมล้ำ ให้ทุกคนได้แข่งขันกันได้อย่างเสรีและเท่าเทียม แต่ในประเทศนี้มันยากเพราะกลุ่มทุนผูกขาดมีความใกล้ชิด สนิทสนมกับรัฐบาลทุกแทบทุกยุคสมัย การมีผลประโยชน์มหาศาลทำให้ไม่ง่ายเลยที่จะปลดล็อกกม ฉบับนี้
1
ตลาดส่วนใหญ่ เบียร์จะยอดขายตกลงนิดหน่อย แต่ไปเพิ่มให้กับคราฟต์เบียร์แทน ในประเทศต่างๆจึงจับจ้องคราฟต์เบียร์กันมาก เปรียบเสมือน Specialty Coffee ถึงแพงแต่อร่อยก็มีคนซื้อ
สาเหตุที่คราฟต์เบียร์มีราคาแพงในไทย น่าจะเป็นเพราะข้อจำกัดที่ว่าต้องผลิต 10 ล้านลิตรด้วยเงินลงทุน10 ล้านนี่แหละค่ะที่ทำให้คราฟต์เบียร์เหอดในไทยไม่ได้มากเท่าไหร่ ต้องไปผลิตที่ต่างประเทศ แล้วส่งเข้ามาขายในไทย ต้องทำขนาดนี้เลยทำให้ต้นทุนสูง จึงต้องขายแพงตามไปด้วย กลับกัน ในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม ข้อจำกัดในการผลิตคราฟต์เบียร์นั้นน้อยมาก ใครๆ ก็ลองฝีมือก่อนได้ ถ้าอร่อยและติดตลาด ก็ทำต่อไป คราฟต์เบียร์ไทยจึงไปผลิตที่เวียดนามกันมาก เวียดนามเลยกลายเป็น "สวรรค์แห่งคราฟต์เบียร์"
แล้วประเทศไทยยังมีการห้ามโฆษณาสินค้าเหล้า-เบียร์อีก แค่พูดถคงหรือยกตัวอย่างยังหาเรื่องจับผิด โดยเฉพาะในวงการเมือง อย่างที่คุณพิธา เท่าพิภพ หมออ๋องโดน แต่กลุ่มทุนขนาดใหญ่กลับโฆษณาทางอ้อมได้อย่างเนียนๆ ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะให้คนไทยได้ลืมตาอ้าปากกันอย่างที่ว่ารัฐจะสนับสนุน SME แค่ไหน
ถ้าชอบ ช่วยกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม กันด้วยนะคะ
โฆษณา