16 ส.ค. 2023 เวลา 14:37 • การตลาด

จาก Nike ถึงตลาดน้ำปลาร้า

OEM เข้ามาช่วยทลายกำแพงข้อจำกัด
ในการทำตลาดได้อย่างไร
“OEM” ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer หมายถึงการรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด มักจะเป็นโรงงานเปิดใหม่ๆ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตัวเอง และโรงงานที่ไม่มีความชำนาญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่บางครั้งก็มีข้อยกเว้น ตรงที่ผู้รับจ้างผลิตบางราย เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ เพราะทำมานาน
2
ข้อดีของการทำ OEM ในด้านของผู้ผลิต OEM นั้น ไม่ต้องลงทุนด้านการวิจัยและออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงการออกแบบตราสินค้า ขณะเดียวกันก็ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้า รวมถึงลดความเสี่ยงทางด้านการหาตลาดเอง
ขณะที่ผู้จ้างผลิตสินค้านั้น มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องลงทุนในการทำโรงงานของตัวเองขึ้นมา เช่นเดียวกับการช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำได้ เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดความคล่องตัวหากต้องเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
1
Nike คือตัวอย่างของเรื่องนี้ เพราะโกลบอลแบรนด์รายนี้มีโมเดลธุรกิจที่ Outsourcing การผลิต และมุ่งสร้างแบรนด์-ทำมาร์เก็ตติ้ง
Nike ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง วิธีที่ Nike ทำธุรกิจคือการ Outsource การผลิตให้โรงงานในประเทศแถบเอเชีย ซึ่งสามารถผลิตรองเท้าและสินค้าอื่นๆ ในต้นทุนต่ำกว่าการลงทุนด้วยตัวเอง เพราะสามารถย้ายฐานการผลิตได้ไม่ยากในกรณีที่เห็นว่าต้นทุนมีเพิ่มขึ้น
สิ่งที่ Nike ปฏิบัติทั่วโลกคือ การสร้างแบรนด์และทำมาร์เก็ตติ้ง ภายใต้สโลแกน Just do it ของ Nike ถือเป็นทัศนคติที่เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งตรงกับที่ปรมาจารย์ด้านการตลาดอย่าง ฟิลิป คอตเลอร์ เคยเขียนเรื่อง Outsourcing ในหนังสือ Marketing Insights From A to Z ว่า ในปัจจุบันเจ้าของแบรนด์ควร Outsource ทุกอย่างให้ Parties ที่สามารถทำได้ดีกว่า และถูกกว่า Outsourcers สามารถที่จะทำสินค้าในราคาต่ำและผลลัพธ์ที่ดีเนื่องจากมี Scale และ Specialization
3
เช่นเดียวกับแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นอย่างที่ UNIQLO ใช้โมเดลนี้มาตั้งแต่แรก หนึ่งใน Key Success ของการนำเสนอคุณค่าที่ใหม่ และไม่เหมือนใครของ UNIQLO อย่าง High Quality but Reasonable Price เกิดขึ้นจาก Business Model ที่เรียกว่า SPA (Specialty Retailer of Private Label Apparel) ซึ่งเป็นโมเดลสำหรับการผลิตและการค้าปลีกที่มุ่งเน้นให้เกิดต้นทุนต่ำ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถผลิตสินค้าให้มีคุณภาพสูงได้
9
Business Model ในลักษณะนี้เองที่ทำให้ UNIQLO สามารถควบคุมขั้นตอนของกระบวนการซัพพลายสินค้าทั้งหมด อันเป็นหัวใจหลักที่ขับเคลื่อนความสำเร็จให้กับ UNIQLO ตั้งแต่การทำ Product Design การจัดหาวัตถุดิบ การควบคุมคุณภาพ การปรับสมดุลให้กับสินค้าคงคลัง จนกระทั่งถึงขั้นตอนของการขาย
1
จาก 2 แบรนด์ระดับโลก ถูกส่งต่อแนวคิดมาสู่การทำตลาดสินค้าพื้นบ้านอย่างน้ำปลาร้าปรุงสุก ที่วันนี้ กลายเป็นอีกตลาดที่มีการเติบโตที่น่าสนใจ....
1
อ่านเพิ่มเติม https://brandage.com/article/36019
#BrandAgeOnline #OEM
1
โฆษณา