Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Supawan’s Colorful World
•
ติดตาม
16 ส.ค. 2023 เวลา 23:48 • ท่องเที่ยว
Lakshmana Temple .. Kharajuho
Lakshmana Temple, Khajuraho
2
เทวาลัยลักษมานา (Lakshmana Temple) เป็นวัดฮินดูสมัยคริสต์ศักราช 930-950 สร้างโดยพระเจ้ายโชวรมัน แห่งราชวงศ์จันเดลา (Chandella)) ตั้งอยู่ในเมืองคจุราโห ประเทศอินเดีย เทวาลัยสร้างอุทิศให้กับพระวิษณุ โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพศักดิ์สิทธิ์ของพระวิษณุซึ่งอัญเชิญมาจากทิเบต
วัดลักษมานาเป็นวัดแรกในหลายๆ วัดที่สร้างโดยกษัตริย์ในราชวงศ์ ชานเดลลา (Chandella) ในเมืองหลวงคจุราโหที่ สร้างขึ้นใหม่ ระหว่างศตวรรษที่ 10-13 .. ราชวงศ์ฯ อุปถัมภ์ศิลปิน กวี และนักแสดง และสร้างระบบชลประทาน พระราชวัง และวัดหลายแห่งจากหินทราย
เทวาลัยลักษมณา เป็นหนึ่งในวัดที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มเทวาลัยของที่นี่ .. สร้างจากหินทราย โดยมีรากฐานเป็นหินแกรนิต โดยผู้สร้างไม่ได้ใช้ปูน .. เช่นเดียวกีบเทวาลัยส่วนใหญ่ใน คชุราโห : หินถูกประกอบเข้าด้วยกันด้วยร่องและข้อต่อเดือย และหินเหล่านี้ถูกตรึงไว้ด้วยแรงโน้มถ่วง .. โครงสร้างรูปแบบนี้ต้องการข้อต่อที่แม่นยำมาก เสาและส่วนโค้งต่างๆถูกสร้างขึ้นด้วยหินขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก อาจจะถึง 20 ตันเลยทีเดียว
ลักษณะสถาปัตยกรรมของเทวาลัย เป็นแบบอินเดียทางตอนใต้ ที่นิยมสร้างเทวสถานให้มีขนาดใหญ่โต ตัวอาคารมีหลังคาสูงเพรียว ซึ่งเรียกว่า ทรงศิขร อันหมายถึง ภูเขา ประดับด้วยลวดลายสลักเสลาจนเต็มพื้นที่ ตั้งแต่ฐานจนถึงส่วนยอด
เทวาลัยลักษมณา ทั้งหมดตั้งอยู่บนแท่นสูง (Jagati) โครงสร้างประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งหมดของสถาปัตยกรรมวัดฮินดู อันประกอบด้วยเฉลียงทางเข้า (อาร์ธ-มณฑป), มณฑป, มหามณฑป, อันตาราลา และครรภคริหะ
วัดลักษมณาเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของสถาปัตยกรรมวัดฮินดูสไตล์ “นาการา” ในรูปแบบที่หรูหราและประณีตที่สุดในอินเดีย … วัดสไตล์นาการา ประกอบด้วยวิมานะ .. เทวสถานของวัดนาการาประกอบด้วยแท่นฐานและโครงสร้างด้านบนขนาดใหญ่ที่เรียกว่า สิขระ (แปลว่ายอดเขา) ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล โครงสร้างส่วนบนของวิหารลักษมานะดูเหมือนยอดเขาสูงตระหง่าน
การเดินชมเทวาลัย
โดยปกติ ผู้เยี่ยมชมจะเข้าหาเทวาลัยลักษมณาจากทางทิศตะวันออก และเดินไปรอบๆ เทวาลัย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เรียกว่าการวนรอบ .. โดยเริ่มเดินไปตามฐานขนาดใหญ่เทวาลัย เคลื่อนไปตามทิศทางตามเข็มนาฬิกาโดยเริ่มจากด้านซ้ายของบันได
เมื่อเดินไปตามฐานด้านล่างของเทวาลัย .. จะพบกับภาพสลักเสลาบนแผ่นหินอันเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงรอบฐาน แสดงภาพชีวิตประจำวัน (ของผู้คนในระดับชาวบ้าน ทหารฯ) ความรัก และสงคราม และอีกมากมายที่ระลึกถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในยุคแชนเดลลา
.. Erotic Art ..
.. กิจกรรมในกองทหาร เช่น มวยปล้ำ การสังวาสคน-ม้า (ในช่วงออกศึก)
.. กิจกรรมสันทนาการ เล่นดนตรี
.. ช้างมากมายที่ส่วนฐานของเทวาลัย เหมือนจะสื่อถึงการค้ำจุนสิ่งที่อยู่ข้างบน
จากนั้น ขึ้นบันไดของฐาน .. จะพบกับภาพและประติมากรรมอีกชุดหนึ่ง ซึ่งมีทั้งภาพสลักของเทพเจ้า ราชวงศ์ ชาย-หญิง สัตว์ต่างๆ ที่แกะสลักตามซอกต่างๆ บนผนังด้านนอกของเทวาลัย
พระพิฆเนศเศียรช้าง การปรากฏตัวของเทพองค์นี้แสดงให้เห็นว่าผู้นับถือศรัทธากำลังเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องสำหรับการเวียนรอบ เนื่องจากพระพิฆเนศวรเป็นเทพเจ้าที่บูชาโดยทั่วไปเมื่อเริ่มต้นสิ่งต่าง ๆ
พื้นที่ส่วนกลางของเทวาลัยส่วนใหญ่ มักจะล้อมรอบด้วยระเบียง เพื่อให้ผู้แสวงบุญเดินไปรอบๆ เสา ผนัง และเพดาน ... รอบพื้นที่รวมทั้งด้านนอกมีการแกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม หรือภาพของการแสวงหาความยุติธรรมและภาพการดำเนินไปของสิ่งที่คนที่นี่เชื่อว่าเป็นสิ่งจำเป็นของชีวิตสี่ประการ ได้แก่ กามารมณ์ อารธา ธรรมะ และโมกษะ
มองขึ้นไปด้านบนจะพบ .. ส่วนของผนังเทวาลัยกรุด้วยหน้าต่างระเบียงพร้อมลูกกรงอย่างวิจิตร มีประติมากรรมสองแถว รวมถึงรูปปั้นเทพเจ้า คู่รัก และฉากอีโรติกอันโด่งดัง
ธิดานาค
ภูมิภาค Khajuraho และ Kalinjar เป็นแหล่งผลิตหินทรายคุณภาพเยี่ยม ซึ่งสามารถแกะสลักได้อย่างแม่นยำ ประติมากรรมที่ยังหลงเหลืออยู่นี้ สะท้อนถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น เส้นผม เล็บที่ตกแต่งอย่างสวยงาม และเครื่องประดับที่ประณีต
วิหารหลักของเทวาลัยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และถูกขนาบข้างด้วยวิหารย่อยที่ตั้งตระหง่านอิสระ 4 แห่งที่มุมของเทวาลัยหลัก
เทวาลัยแห่งนี้ได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามที่สุด โดยพื้นผิวปกคลุมด้วยรูปเทพเจ้ากว่า 600 องค์ จนแทบจะไม่มีช่องว่าง .. รูปปั้นทั้งหมดแกะสลักอย่างวิจิตรประณีต
ประติมากรรม Erotic Art มีเพียงราว 10% ของประติมากรรมทั้งหมด .. นอกจากนี้ แผงฉากอีโรติกส่วนใหญ่ไม่โดดเด่นหรือถูกเน้นให้โดดเด่นมากไปกว่าประติมากรรมอื่นๆ (แต่ .. ความมสนใจของผู้มาชมมักจะโฟกัสไปที่ภาพเหล่านี้เป็นหลัก)
งานศิลปะบนวิหาร Lakshmana jagati ส่วนใหญ่ .. แสดงฉากวิถีชีวิตของฆราวาส อันเป็นภาพชีวิตประจำวันในอินเดียตอนกลางในศตวรรษที่ 10 .. การล่าของราชวงศ์ พ่อค้า ชาวนา การต่อสู้ เทศกาล คู่รัก การเต้นรำ นักดนตรี และอื่นๆ
ประติมากรรมที่เราเห็น ครอบคลุมหลายแง่มุมของชีวิตมนุษย์ รวมถึงภาพสลักตามคุณค่าที่ถือว่ามีความสำคัญในวิหารฮินดู .. นอกจากนี้ รูปภาพยังถูกจัดเรียงในรูปแบบเพื่อแสดงแนวคิดหลักของศาสนาฮินดู ค่อนข้างจะสมดุลกับภาพที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศ ..
รูปทรงแกะสลักอื่นๆ ปรากฏอยู่ในอิริยาบถที่มีชีวิตชีวาและกระฉับกระเฉง โดยเฉพาะภาพสตรีในอิริยาบทต่างๆ .. สะโพกที่แกว่งไปมา แขนที่งอ และศีรษะที่เอียงซึ่งทำให้เกิดท่าทางสวยงาม อันน่าตื่นตา โดยทั้งหมดแกะสลักด้วยภาพนูนลึกที่เน้นความเป็นสามมิติ
ภาพสตรีผู้งามสง่า บิดตัว และงอหลัง เธอหันหลังให้ .. ผู้ชมจะเห็นใบหน้าของเธอที่กลมเหมือนพระจันทร์ จมูกเรียว ริมฝีปากอวบอิ่ม คิ้วโก่ง และดวงตาที่มีรูปร่างเหมือนกลีบดอกบัว
.. หญิงสาวกำลังจะอาบน้ำ ณ มุมหนึ่งของเทวาลัย
.. ภาพของหญิงสาวสวยเช่นนี้จากผนังด้านนอกด้านตะวันตกเฉียงเหนือของวัดลักษมานาที่คจุราโหในอินเดีย สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมมานานหลายศตวรรษ
การแสดงภาพความงามของผู้หญิงในอุดมคติมีความสำคัญต่อสถาปัตยกรรมของวัดและถือเป็นมงคล แม้กระทั่งเป็นการป้องกัน
ภาพสลักสตรีในวัดฮินดู มีความสำคัญถึงกับมีข้อความที่เขียนขึ้นสำหรับผู้สร้างวัด
.. อธิบาย "ประเภท" ต่างๆ ของผู้หญิงที่จะรวมไว้ในโปรแกรมประติมากรรมของวัด และเน้นบทบาทของพวกเธอในฐานะสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ การเติบโต และความเจริญรุ่งเรือง
Photo : istock
นอกจากนี้ ภาพของคู่รักที่รู้จักกันในชื่อมิถุนา (ตามตัวอักษร "สถานะของการเป็นคู่") ปรากฏบนวิหารลักษมานาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการรวมเป็นหนึ่งอันศักดิ์สิทธิ์และโมกษะ ซึ่งเป็นการปลดปล่อยครั้งสุดท้ายจากสังสารวัฏ (วัฏจักรแห่งความตายและการเกิดใหม่)
วัดที่ Khajuraho รวมถึงวัด Lakshmana มีชื่อเสียงจากภาพรักใคร่เหล่านี้ บางภาพเป็นภาพที่สื่อถึงภาพบุคคลที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ ภาพอีโรติกเหล่านี้ไม่ได้มีเจตนาทำให้ดูหวาดเสียวหรือยั่วยุ แต่ทำหน้าที่ทางพิธีกรรมและเชิงสัญลักษณ์ที่สำคัญต่อผู้สร้าง ผู้อุปถัมภ์ และผู้ศรัทธาในสิ่งก่อสร้างอันน่าหลงใหลเหล่านี้
บริเวณผนังด้านนอกระหว่างวิมานและมณฑป .. จะพบกับภาพอีโรติกของคู่รักที่สวมกอดกันในกามกิจ จุดเชื่อมต่อทางสถาปัตยกรรมแห่งนี้ทำหน้าที่เชิงสัญลักษณ์ในการเชื่อมระหว่างวิมานะและมณฑป โดยเน้นให้เห็นถึงการพรรณนาถึงคู่รักที่ "ร่วม" กัน
Etotic Arts หลายๆภาพ .. ผู้ชมต้องเพ่งมอง หรือให้ไกด์นำทางชี้เป้า จึงจะเห็น
การเคลื่อนที่ไปรอบๆ ส่วนประกอบต่างๆ ของวิหาร ช่วยให้ผู้มีจิตศรัทธาได้สัมผัสกับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์นี้และสัมผัสกับร่างกายของเทพเจ้าด้วย
ทางเข้าวิหารหลักของเทวาลัย อันเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้า เรียกว่าห้องครรถคริหะ.. ด้านหน้ามีเสา 7 เสา (แผงแนวตั้ง)
โถงกลางประดับด้วยพระวิษณุอวตารทั้ง 10 ปาง ทับหลังเป็นภาพพระแม่ลักษมี ตรงกลางขนาบข้างด้วยพระพรหมและพระวิษณุ ภายในพระอุโบสถมีประติมากรรมพระวิษณุสี่กร ช่องหนึ่งมีรูปประติมากรและสาวกกำลังทำงาน
เทพองค์กลางในวิหารลักษมณา คือรูป “พระวิษณุ” ในรูปแบบสามเศียรที่รู้จักกันในนามไวคุนธา (Vaikunta) ซึ่งประทับอยู่ในห้องครรภคริหะชั้นในของวัด หรือที่เรียกว่าการ์บากริฮา (ด้านบน) ซึ่งเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เป็นหัวใจของชาวฮินดูทุกคน วัดไม่ว่าขนาดหรือที่ตั้ง ห้องครรภ์เป็นแกนหลักที่เป็นสัญลักษณ์และทางกายภาพของเทวาลัยของวัด
ด้านในของห้อง ครรคริหะ ค่อนข้างมืด ไม่มีหน้าต่าง และออกแบบมาเพื่อการบูชาเทพเจ้าแบบใกล้ชิดและเป็นรายบุคคล ค่อนข้างแตกต่างจากพื้นที่บูชาแบบกลุ่มใหญ่ที่เป็นลักษณะเฉพาะของโบสถ์คริสต์และสุเหร่าของชาวมุสลิม ..
.. มีรูปสลักของเทพเจ้าต่างๆจำนวนมาก รวมถึงภาพสลัก วราหะ พระนางทุรคาสังหาร มหิงสา
https://www.khanacademy.org/humanities/ap-art-history/south-east-se-asia/india-art/a/lakshmana-temple-india
Varaha Shrine
เทวสถาน Varaha ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเทวาลัย Lakshmana สร้างเป็นศาลาหินทรายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีหลังคาทรงเสี้ยมลดหลั่นเป็นชั้นๆ วางอยู่บนเสาหินทรายจำนวน 14 ต้น ..
วราหะ (สันสกฤต: वराह) เป็นอวตารที่สามของพระวิษณุ ในรูปของวราหะ (หมูป่า) เพื่อปราบยักษ์หิรัญยักษะ .. เกิดขึ้นเมื่อ หิรัญยักษะ กำเริบอวดศักดา และได้นำเอาโลกไปไว้ใต้มหาสมุทร การต่อสู้ระหว่าง Varaha และ Hiranyaksha เชื่อกันว่ากินเวลานานนับพันปี ซึ่งในที่สุด วราหะก็ได้รับชัยชนะ สามารถยกโลกขึ้นจากมหาสมุทร
รูปปั้น Varaha ภายในศาลา มีความยาว 2.6 ม. และสูง 1.7 ม. .. เป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์หมูป่า ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อวตารของพระวิษณุ มีขนาดมหึมาที่แกะสลักจากวัสดุก้อนเดียว
ประติมากรรมนี้แกะสลักด้วยตัวเลข และภาพอื่นๆมากมายทั่วทั้งร่างกาย (ดูในภาพ) ประติมากรรมที่แกะสลักระหว่างจมูกและปากเป็นภาพเทพธิดา (ของพระสรัสวดี) อุ้มพระวีณาไว้ในอ้อมแขน
Varaha Shrine เป็นหนึ่งในกลุ่มเทวาลัย Khajuraho ซึ่งเป็นมรดกโลกในอินเดีย
Lakmi Temple
วัดลักษมี (เทวนาครี: लक्ष्मी मंदिर) อุทิศแด่พระแม่ลักษมี มเหสีของพระวิษณุ
โครงสร้างพระวิหารทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ชาบุตะระ) มีห้องศักดิ์สิทธิ์ขนาดเล็ก ผนังด้านข้างและด้านหลังไม่มีรูปสลักใดๆ
2 บันทึก
1
1
5
2
1
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย