Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
•
ติดตาม
17 ส.ค. 2023 เวลา 08:45 • ครอบครัว & เด็ก
จัดท่านอนลูกอย่างไรให้ถูกวิธี?
การนอนหลับ เป็นอีกปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก ไม่แพ้เรื่องโภชนาการ แต่ทารกมีธรรมชาติ และสรีระร่างกายแตกต่างจากผู้ใหญ่ พ่อแม่จึงต้องระมัดระวังการจัดท่านอนของทารก เพื่อให้ทารกนอนหลับสบาย ไม่รบกวนการนอน และปลอดภัย
ท่านอนที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุ
แรกเกิด – 3 เดือน : ควรนอนหงายและนอนตะแคง
ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกคอและกระดูกสันหลังที่ยังไม่แข็งแรงพอ พ่อแม่จึงต้องระมัดระวังสูง ควรจัดศีรษะให้ลูกนอนสลับด้านบ่อยๆ ระหว่างหลับ เพราะจะทำให้ศีรษะทุยสวย เนื่องจากระหม่ำหลังของทารกจะปิด เมื่อทารกอายุประมาณ 1 เดือน ดังนั้นควรจัดท่านอนในเดือนแรก เพื่อป้องกันศีรษะและหน้าเบี้ยว ส่วนกระหม่อมหน้าจะปิดประมาณปีครึ่ง ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการ หากแม่หลับไม่ควรให้นอนคว่ำ เนื่องจากเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในขณะนอนหลับจากภาวะ SIDS
4 – 6 เดือน: ควรนอนคว่ำ
ในช่วงอายุ 4-6 เดือนพัฒนาการด้านร่างกายของทารกดีขึ้น กระดูกแข็งแรงขึ้น สามารถให้ลูกนอนคว่ำได้ โดยประโยชน์ของการนอนคว่ำ คือช่วยลดการนอนสะดุ้งหรือผวาตื่น อย่างไรก็ตามพ่อแม่ก็ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ใช้หมอนที่ไม่นิ่มไม่แข็งจนเกินไป เพื่อป้องกันการขาดอากาศหายใจ
7-12 เดือน: นอนท่าใดก็ได้
ร่างกายของเด็กในช่วงวัยนี้แข็งแรงมากพอที่จะพลิกตัวเองได้ และนอนท่าใดก็ได้ ทั้งนอนหงาย นอนตะแคง และนอนคว่ำ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจขึ้น เนื่องจากลูกจะเริ่มคลานไปไหนมาไหนเอง พ่อแม่ควรปูเบาะในแนวราบบนพื้นห้อง ไม่ยุบตัวหรือนิ่มจนเกินไป และเรียบเสมอกันเพื่อที่เมื่อลูกคลานไปมาจะไม่เจ็บตัวและไม่ตกจากที่สูง
ข้อดีและข้อเสียของท่านอนแต่ละท่ามีความแตกต่างกัน พ่อแม่อาจพิจารณาจากความเหมาะสมของช่วงวัย ความปลอดภัย ความชอบของเด็กแต่ละคนด้วย ที่สำคัญที่สุดพ่อแม่ควรสังเกตลูก และสภาพแวดล้อมรอบตัวของลูกอยู่เสมอ เช่น เสียงหรือแสงที่อาจรบกวน และต้องไม่มีอะไรมาปิดบังหน้าลูกเพื่อให้หายใจได้สะดวกเป็นต้น
เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
ครอบครัวและเด็ก
แม่และเด็ก
พัฒนาการเด็ก
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย