17 ส.ค. 2023 เวลา 13:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

IQ ไม่ใช่เครื่องมือวัดความฉลาด และความสำเร็จ

คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า IQ เป็นมาตรวัดความฉลาด หลาย ๆ คนที่อวดว่า IQ สูงมากมักจะไม่ได้ฉลาดจริง ๆ
มนุษย์มีความสงสัย และต้องการที่จะวัดความฉลาดของประชากรมานานแล้ว โดยเริ่มจากการสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ แต่ความพยายามเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเมื่อนักสถิติ Francis Galton (1822-1911) ได้จัดทำแบบทดสอบมาตรฐานขึ้น เพื่อวัดความฉลาด ในเวลานั้นเขาเชื่อว่าความฉลาดเป็นกรรมพันธุ์เสียเป็นส่วนใหญ่
และตั้งข้อสันนิษฐานว่าความฉลาดน่าจะมีความสัมพันธ์กับความรวดเร็วในการตอบสนอง ความสามารถของกล้ามเนื้อในการหยิบจับ หรือแม้กระทั่งขนาดหัวอย่างที่หลาย ๆ คนเชื่อกัน แต่ก็ไม่สามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์ได้ จึงได้เลิกศึกษาเรื่องนี้ไปในที่สุด
ต่อมา Alfred Binet, Victor Henri และ Theodore Simon ได้พัฒนาชุดการทดสอบใหม่ชื่อ Binet-Simon Test ในปี 1905 และ Lewis Terman จากมหาวิทยาลัย Stanford ได้พัฒนาต่อจนเป็น Stanford-Binet Intelligence Scales ในปี 1916 จนกลายเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา
ส่วนเรื่องการวัดความฉลาดมีส่วนทำให้เกิดแนวความคิดเรื่องของการคัดเลือกสายพันธุ์ เช่น โครงการบังคับให้คนที่ถูกประเมินว่าไม่ดีพอ ถูกบังคับให้ทำหมันในรัฐ California ในช่วงปี 1927 และนำไปสู่โครงการคัดเลือกการผสมพันธุ์ในสมัยจักรวรรดินาซี
แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องวัดเหล่านี้ไม่ได้วัดความฉลาดโดยตรง แต่เป็นเหมือนการวัดความสามารถในด้านต่างๆ กว้างๆ มากกว่า และวัดเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากรทั่วไปในกลุ่มอายุเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่ควรแปลกใจเลยถ้าค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 100 และคนส่วนใหญ่ก็จะมี IQ 85-115
ใครก็ตามที่มีค่า IQ ที่ต่ำมาก เช่น ต่ำกว่า 60 ลงไป มักจะมีปัญหาในการเรียนรู้มากกว่าประชากรทั่วไป จนอาจจะถูกจัดกลุ่มให้เป็นผู้มีปัญญาอ่อน หรือกลุ่มคนพิเศษได้
แต่คนที่มี IQ สูง ๆ กลับไม่ค่อยแสดงอะไรให้เห็นเด่นชัดนัก เว้นก็แต่ความสามารถพิเศษในบางเรื่อง แต่ความสามารถเหล่านี้กลับแทบไม่ส่งผลต่อความสำเร็จเลย
มีงานวิจัยจำนวนมากที่พยายามศึกษาในเรื่องความสัมพันธ์ของ IQ กับด้านต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น
เรื่องสมาธิ และความสามารถในการจดจ่อ
- การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนกับ IQ พบว่าผู้ที่มี IQ < 100 มีแนวโน้มที่จะก่ออุบัติเหตุจราจรสูงกว่าผู้ที่มี IQ สูงกว่า แต่ผู้ที่มี IQ สูงกว่า > 110 กลับไม่ได้มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุต่ำกว่าผู้ที่มี IQ ระดับค่าเฉลี่ย
อ้างอิง :
รายได้และความมั่งคั่ง
- ผู้ที่มี IQ สูง มีแนวโน้มที่จะมีรายได้สูงกว่าผู้ที่มี IQ ต่ำกว่า
- แต่พอมามองในมุมของความมั่งคั่ง กลับแทบไม่เห็นความสัมพันธ์ใด ๆ
อ้างอิง :
การศึกษา
- การเรียนในสถานศึกษาช่วยเพิ่มความฉลาดได้มาก แต่สถานะทางสังคม และพันธุกรรมมีผลค่อนข้างน้อย
อ้างอิง :
ความเร็วในการตัดสินใจ
- คนที่มี IQ สูง มักจะคิดเร็ว และตัดสินใจเร็วในเรื่องที่ง่าย ๆ แต่จะใช้เวลาขบคิดนานกว่า คนทั่วไปเวลาที่เผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนมากกว่า
อ้างอิง :
กัญชา
- วัยรุ่นที่ใช้กัญชามีแนวโน้มที่จะมี IQ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
อ้างอิง :
โฆษณา