มีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งประกาศว่า หากได้เป็นรัฐบาล ทางพรรคจะลงนามให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมเป็นรัฐภาคีของ ICC ทันที ด้วยเหตุผลว่า เพื่อให้ทาง ICC เอาผิดกับผู้สั่งสลายการชุมนุมในหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา และคืนความยุติธรรมให้กับผู้สูญเสีย
แต่หลังจากนั้นก็มีหลายคนออกมาแย้งและยืนยันว่า ประเทศไทยไม่ควรลงนามเข้าเป็นรัฐภาคีของ ICC เด็ดขาด เพราะการเปิดโอกาสให้ ICC เข้ามามีบทบาทเหนือกระบวนการยุติธรรมของประเทศนั้น อาจนำไปสู่เรื่องใหญ่ระดับถูกแทรกแซงอำนาจอธิปไตยเลยทีเดียว
อันที่จริงประเทศไทยเราเคยลงนาม ICC ไปแล้ว ในปี พ.ศ. 2543 เพียงแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคี ก็เลยยังไม่มีผลบังคับใช้ ทำให้ ICC ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ในประเทศไทยได้
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่หลายคนบอกว่า เราโชคดี
เพราะกระบวนการดำเนินการของ ICC นั้น หลายประเทศมองว่าเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของชาติซึ่งไปเป็นภาคี พูดง่ายๆ คือในกระบวนการนั้นอาจมีเครือข่ายล็อบบี้ยิสต์พยายามโน้มน้าวให้ ICC ออกหมายเรียกหรือออกหมายจับนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดี แม่ทัพนายพล หรือแม้แต่ประมุขของรัฐของประเทศที่เป็นภาคีได้ และกระบวนการยุติธรรมของ ICC จะอยู่เหนือกระบวนการยุติธรรมของประเทศนั้นๆ ทันที
ปัญหามันอยู่ตรงนี้แหละครับ เพราะนั่นเป็นการเปิดช่องให้ ICC หรือศาลอาญาระหว่างประเทศ สามารถดำเนินคดีกับพระมหากษัตริย์ได้ ซึ่งถือเป็นการรุกรานอำนาจอธิปไตยของชาติ
ที่สำคัญ ประเทศบิ๊กๆ หลายประเทศเขาก็ไม่เอาด้วยกับ ICC เช่น จีน รัสเซีย อินโดนีเซีย และอินเดีย ที่ไม่เข้าร่วมเป็นรัฐภาคี รวมถึงอีกหลายประเทศที่ถอนตัวออก เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล ซูดาน และฟิลิปปินส์
ถามว่าถ้า ICC ดีจริงทำไมประเทศเหล่านี้จึงถอนตัวหรือไม่เข้าร่วม? เพราะเขารู้ไงครับว่า กระบวนการยุติธรรมของศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นเป็นการละเมิดอธิปไตยของประเทศเขา
นี่คือความจริงที่นักการเมืองบางคนพูดไม่หมด แล้วพยายามชูนโยบายการลงนามให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมเพื่อเป็นรัฐภาคีของ ICC ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อคืนความยุติธรรมให้กับประชาชน แต่เบื้องหลังคือการจงใจทำลายอำนาจอธิปไตยของชาติผ่านทางองค์กรระหว่างประเทศอย่าง ICC ซึ่งเป็น “ศาลการเมือง” ของประเทศมหาอำนาจที่ต้องการแทรกแซงอธิปไตยของประเทศอื่น
ซึ่งการปล่อยให้ใครก็ไม่รู้มาใช้กระบวนการยุติธรรมเหนือกระบวนการยุติธรรมของประเทศเรา นั่นก็เท่ากับว่าเราเสียอธิปไตยไปแล้ว และไม่ต่างอะไรจากการเป็นรัฐเอกราชของเขา
#LueHistory #ICC