19 ส.ค. 2023 เวลา 04:49 • ครอบครัว & เด็ก

📌สมอง 3 ส่วนของเด็กสมาธิสั้น ต่างจากเด็กทั่วไป

พ่อแม่หลายๆคน มักคิดว่าที่ “ลูกเป็นสมาธิสั้น” ​
เกิดจากที่ตนเองเลี้ยงลูกไม่ดี ​
หรือ คิดว่าเกิดจากเด็กไม่มีแรงจูงใจ ​
ไม่มีความตั้งใจ ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ​
ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้เกิดจากปัจจัยดังกล่าวทั้งหมด​
อาการสมาธิสั้น ; Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) ​
เป็นภาวะความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ​
เกิดภาวะขาดสมดุลของสารเคมีภายในสมอง ​
ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก ทางด้านการควบคุมอารมณ์ ​
การมีสมาธิจดจ่อหรือให้ความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ​ ​
และการยับยั้งตัวเองหรือควบคุมตัวเอง ​ ​
สมองของ “เด็กสมาธิสั้น”​ มีความแตกต่างทางด้านชีวภาพ เมื่อเทียบกับสมองของเด็กทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาธิสั้น ​
โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ​
1.โครงสร้างของสมอง ​
โดยเด็กสมาธิสั้น มีขนาดของสมอง ส่วน “อะมิกดาลา (Amygdala)” และ “ฮิปโปแคมปัส (hippocampus)” ​ที่เล็กกว่าสมองของเด็กทั่วไป ​
ซึ่ง​สมองส่วน “อะมิกดาลา (Amygdala)” เป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับ “อารมณ์” เช่น กลัว โกรธ เศร้า เครียด ​ และสมองส่วน “ฮิปโปแคมปัส (hippocampus)” เป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับ “ความทรงจำ” การเปลี่ยนความทรงจำระยะสั้น ให้เป็นระยะยาว ​
และยังพบว่า สมองส่วนหนึ่งของเด็กสมาธิสั้นจะโตเต็มที่ในอัตราที่ช้าลง (ประมาณ 1-3 ปี)​
2.การทำงานของสมอง ​
โดยเด็กสมาธิสั้น มีการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยง " สมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) " ที่ลดลง ทำให้สมองส่วนนี้ทำงานได้น้อยลง ซึ่งสมองส่วนนี้ มีความสำคัญในเรื่องการ คิด วางแผน แก้ปัญหา ตัดสินใจ การมีสมาธิจดจ่อ รวมทั้ง การควบคุมอารมณ์ ยับยั้งชั่งใจ การอดใจรอและการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น กลัว โกรธ เศร้า​
ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ ในปี 2010 พบว่า เด็กสมาธิสั้น ไม่มีการเชื่อมต่อของสมองส่วน "Frontal cortex" และ "Visual processing" ​ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีทักษะด้าน 'การมองเห็น' คือความสามารถในการจดจำและจัดการกับข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ การวิเคราะห์ หรือการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบภาพหรือสัญลักษณ์ที่แตกต่างจากเด็กที่ไม่ได้เป็นสมาธิสั้น​
3.สารเคมีในสมอง​
สมองจะทำการสื่อสารระหว่างเซลล์ได้โดยมี “สารสื่อประสาท หรือ สารเคมีในสมอง “ ที่ทำหน้าที่เป็น “Messenger” คอยรับส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ ​
ซึ่งในเด็กสมาธิสั้น มีความผิดปกติหรือเกิดความไม่สมดุลของสารเคมีที่ชื่อ “โดปามีน (Dopamine)” และ นอร์เอพิเนฟริน (Noreepinephrine) ซึ่ง อาจจะมีน้อยเกินไป,มีตัวรับไม่เพียงพอ หรือ ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ​
.📌ร่วมแบ่งปันข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับการดูแลเด็กสมาธิสั้น ออทิสติก พัฒนาการช้า แบบไม่ใช้ยา ได้ที่กลุ่ม>> https://bit.ly/3pIxKbg
#Neurobalanceasia #Neurofeedback #Biofeedback #Brain #Healthwellness #Family #Parenting #Kid #Autism #hyperactivity #LD #LearningDisabilities #ParentsPartner #tourettesyndrome #นูโรบาลานซ์ #นิวโรบาลานซ์ #นูโรฟีดแบค #นิวโรฟีดแบค #ไบโอฟีดแบค #ครอบครัว #การเลี้ยงดู #เด็ก #พัฒนาการเด็ก #พัฒนาการช้า #สมาธิสั้น #ไฮเปอร์ #ออทิสติก #อารมณ์รุนแรง #บกพร่องทางการเรียนรู้ #พูดช้า
📝ทำแบบประเมินอาการออทิสติก ATEC ได้ที่ >> https://neurobalanceasia.com/atec/
👉กลุ่มอาการที่สามารถพัฒนาได้ด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ [❌ปราศจากการใช้ยา]
>> ออทิสติก (ASD) https://bit.ly/375Oq35
>> สมาธิสั้น (ADHD) https://bit.ly/3Fl9Tln
>> บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) https://bit.ly/3ktXzFN
>> ดาว์นซินโดรม (Down syndrome) https://bit.ly/3F4AQtl
📌จองคิว ปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
☎️ โทร : 02-245-4227 / 097-429-1546
Line : @neurobalance หรือ http://bit.ly/3L95MO7
เว็บไซต์ : https://bit.ly/3wfh3U7
ทำการนัดหมายออนไลน์ : https://bit.ly/3ZIgkby
โฆษณา