20 ส.ค. 2023 เวลา 01:16 • ประวัติศาสตร์

ย้อนไปดูเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรในสมัยก่อน

‘เกษตรกรรม’ เป็นวิธีการเพาะปลูกพืช ลี้ยงสัตว์ เพื่อนำมาทำเป็นอาหาร , ผลิตเส้นใย , สร้างเชื้อเพลิงชีวภาพ , ทำเป็นยารักษาโรค เพื่อเพิ่มความยั่งยืนแก่ชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรม เป็นอีกหนึ่งพัฒนาการสำคัญแสดงให้เห็นถึงความเจริญของอารยธรรมมนุษย์แบบไม่ย้ายที่อยู่ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเกษตรกรรมต้องมองย้อนกลับไปหลายพันปี
มนุษย์ยุคแรกเริ่มจากการล่าสัตว์ และเลี้ยงสัตว์ เมื่อประมาณ 9,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช  สัตว์ที่เลี้ยงไว้จะนำมาทำเป็นอาหาร หรือเครื่องนุ่งห่ม พวกเขาเรียนรู้ในการสร้างอาวุธ อย่าง ฉมวก , เข็ม รวมทั้งอุปกรณ์ชนิดอื่นจากกระดูกสัตว์  จากสัตว์หลายชนิด เช่น  ม้า , ลา , อูฐ
ต่อมาเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงทางด้านเกษตรกรรม จากความเข้าใจเรื่องการเพาะปลูกพืชเพิ่มมากขึ้น ก็เป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์รู้จักการทำนา มนุษย์ที่สะสมอาหารไว้เห็นว่า ข้าวงอกออกมาจากเมล็ดข้าวที่ตกอยู่บนดิน เกษตรกรรมเกิดขึ้นในทวีปเอเชีย เมื่อประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาเป็นเวลาอีก 5,000 ปี
การทำเกษตรกรรมก็เจริญรุ่งเรืองในทวีปแอฟริกา , เอเชีย เกิดการทำนากระจายไปทั่ว  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเครื่องมือและเทคโนโลยี มนุษย์สร้างจอบเสียมเพื่อใช้พรวนดิน พร้อมทำการปลูกพืช , สร้างเคียวมาเพื่อช่วยเก็บเกี่ยวรวงข้าว จากการที่เทคโนโลยีและวิธีการทำนาพัฒนาขึ้น จึงทำให้เกษตรกรรมกลายมาเป็นแหล่งอาหารสำคัญของมนุษย์
ส่วนในสังคมไทย ก่อนที่จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเครื่องไถนานั้น คนไทยสมัยก่อนใช้สัตว์อย่าง ควายหรือโคกระบือ มาเป็นเครื่องทุ่นแรง จะมีการฝึกวัวควายเพื่อนำเอามาเป็นอุปกรณ์การเกษตร เนื่องจากเครื่องไถนาในสมัยก่อนนั้นมีราคาแพงหลายแสน ยังไม่รวมค่าน้ำมันที่ต้องจ่ายอีก
นอกจากนี้เครื่องมือที่ใช้ในการไถนา ก็จัดเป็นเครื่องมือสำคัญอีกอย่างหนึ่ง การสร้างเครื่องมือเหล่านี้ต้องใช้เวลานานพอสมควร เนื่องจากต้องใช้ไม้เนื้อแข็งเหนียว รวมทั้งมีลักษณะคล้ายคลึงกับชิ้นส่วนที่ต้องการทำ โดยแต่ละชิ้นส่วนจะนำมาใช้งานแตกต่างกันไป เมื่อหาได้แล้ว ก็นำมา ขัด , ตกแต่ง ตามที่ต้องการ คันไถช่วยเพิ่มแรงฉุดลากดึงจากวัวควาย การทำนาข้าวนั้นสมัยก่อน เป็นอาชีพที่ใช้แรงงานมาก เพราะต้องพลิกดินจากข้างล่างขึ้นบน
ทำให้ดินร่วน และกำจัดวัชพืช จะใช้จอบขุดดินก็สามารถทำได้ แต่อย่างลืมว่าผืนนามีขนาดกว้างใหญ่ บางคนมีหลายแปลง จึงต้องหาเครื่องทุ่นแรงมาช่วย พร้อมนำแรงงานสัตว์มาเสริม ชาวนาอีสานชอบใช้ควายมากกว่าวัว เนื่องจากควายชอบน้ำกับโคลนตม รวมทั้งยังมีความอึดแข็งแรงกว่า ส่วนวัวนั้นไม่ชอบน้ำแต่ทนทานต่อแดดได้ดีกว่า เลยนำไปใช้เทียมเกวียนเดินทาง
โฆษณา