20 ส.ค. 2023 เวลา 09:19 • ข่าวรอบโลก

เก็บหรือไม่เก็บภาษีแผงโซลาร์ย้อนหลัง

1)ใครๆก็ใช้แผงโซล่าเซลล์ มา อ่านข่าว
Hot จากรอยเตอร์ที่รายงานว่าบริษัทผลิตแผงโซลาร์เซลล์จีน 4 ราย (BYD, Trina Solar, Longi Green Energy และ Canadian Solar) ที่โยกย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังไทย, มาเลเซีย, เวียดนาม, และกัมพูชาเพื่อเลี่ยงมาตรการภาษีจากสหรัฐอเมริกา..
 
😱ในที่สุดจะมีการสอบสวนจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐให้เรียกเก็บภาษีนำเข้าหรือไม่
👉การเรียกเก็บภาษีนำเข้าคืออะไร?
เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและต้องได้รับการสอบสวนอย่างละเอียดเพื่อให้สามารถทำคำตัดสินเบื้องต้นได้
(ขอแทรกความตรงนี้ หน่อยค่ะ)
..ประเทศในอาเซียนหลายประเทศมักใช้นโยบายนำสินค้าจากจีนมาสวมสิทธิ์เพื่อลดภาษีสินค้านำเข้าไปในอเมริกาเนื่องจากเปรียบเสมอในสิ่งที่เรียกว่า "มาตรการคุ้มครองชั่วคราว" ที่อัตราภาษีนำเข้าสินค้านานาชนิดจากจีนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามนโยบายการค้าที่ถูกกำหนดโดยสหรัฐหรือประธานาธิบดีออกคำสั่งเอกสารในช่วงที่ผ่านมา)
2) 👉การสวมสิทธิ์สินค้าที่ผ่านมาตรการคุ้มครองชั่วคราวส่งผลให้สินค้านั้นไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าหรือต้องเสียภาษีน้อยลง และทำให้สินค้าเหล่านี้มีราคาที่แข่งขันได้ดีกว่าในตลาดอเมริกา
👉และการนำสินค้าจากจีนมาสวมสิทธิ์เพื่อลดภาษีสินค้านำเข้าไปในอเมริกายังเป็นวิธีที่บางประเทศในอาเซียนนำเสนอเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ และเพื่อให้รัฐบาลอาจได้รับรายได้จากภาษีนำเข้าน้อยลง
อย่างไรก็ดี, นโยบายนี้มักต้องปรับปรุงให้เข้ากับกฎหมายการค้าระหว่างประเทศและกำหนดข้อกำหนดให้สินค้าเหล่านี้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของอเมริกาเพื่อให้สามารถสวมสิทธิ์ได้
3) การนำสินค้าจากจีนมาสวมสิทธิ์มีข้อจำกัดบางอย่างเช่นสินค้าต้องมีคุณสมบัติเฉพาะที่ทำให้สามารถสวมสิทธิ์ได้ เป็นต้น
👉การนำสินค้ามาสวมสิทธิ์นี้เป็นเรื่องซับซ้อนและต้องปฏิบัติตามกฎหมายการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศที่ทำการนี้
คำตัดสินเบื้องต้นดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากบางกลุ่มองค์กรในสหรัฐ รวมทั้งสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ของสหรัฐ (SEIA) ซึ่งได้เตือนว่า การเก็บภาษีนำเข้าต่อแผงโซลาร์เซลล์จากทั้ง 4 ประเทศอาเซียนนั้นอาจส่งผลให้มีการลดจำนวนชาวอเมริกันที่มีงานทำถึง 30,000 คน และจะทำให้การลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ในสหรัฐหยุดชะงักลง
4)โดยเฉพาะหลังจากที่ได้มีการลงทุนชะลอไปอยู่แล้ว(จากต้นทุนที่สูง, ความล่าช้าในการขนส่งสินค้า, และปัญหาคอขวดในโซ่อุปทาน) ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจสร้างความขัดขวางต่อนโยบายของประธานาธิบดีโจ ไบเดนที่มุ่งสนับสนุนโครงการใช้พลังงานหมุนเวียนในสหรัฐอเมริกาได้น่ะค่ะ
5) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจึงได้ประกาศผลการตัดสินอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. โดยให้ความเห็นชอบต่อการเรียกเก็บภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จากไทย, มาเลเซีย, เวียดนาม, และกัมพูชา
👉อย่างไรก็ดี, มีข้อมูลว่ามาตรการนี้จะยังไม่มีผลบังคับใช้จนกว่าจะถึงเดือนมิ.ย. 2567
เพราะท่านโจ ไบเดนได้ใช้อำนาจประธานาธิบดีเพื่อคุ้มครองชั่วคราวการนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จากไทย, มาเลเซีย, เวียดนามและกัมพูชาไว้ก่อน
โดยจัดว่าเป็นสินค้าปลอดภาษีนำเข้าเป็นเวลา 24 เดือนตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2565
เท่ากับว่า ตอนนี้คือรอจนกว่าหมดเวลา
ที่คุ้มครอง จึงจะมีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้สูงถึง 250%
ซึ่งกว่าจะอนุมัติกันเสร็จสิ้น ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐนั้นยังต้องผ่านขั้นตอนและกำหนดการต่าง ๆ เพื่อให้มีการบังคับใช้มาตรการนี้ในอนาคต
….
#อีกนิด คคห.ของลุงที่บ้าน
จะเกิดผลกระทบอะไรบ้างถ้ารัฐบาล US ยกเลิกสิทธิ์สินค้าที่มาจากจีนและที่ประเทศอาเซียนนำมาสวมสิทธิ์เพื่อลดภาษี?
สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น
1. ผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ
- การยกเลิกสิทธิ์สินค้าจากจีนอาจทำให้สินค้าจีนที่นำมาสวมสิทธิ์ในอาเซียนต้องเสียภาษีสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น
ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและลดความแข่งขันในตลาดอเมริกา
- ผลกระทบนี้อาจส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศและการเลือกซื้อสินค้าจากอาเซียนไปยังสหรัฐอเมริกา
2. ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม
- การลดความแข่งขันของสินค้าจีนในตลาดอเมริกาอาจส่งผลต่ออุตสาหกรรมในประเทศที่นำสินค้ามาสวมสิทธิ์ เนื่องจากการขายสินค้าในตลาดอเมริกาจะลดลง สินค้าจีนอาจเริ่มสูญเสียความนิยมในตลาดอเมริกา😱
ทำให้อุตสาหกรรมในประเทศที่นำมาสวมสิทธิ์ต้องปรับตัวหรือมองหาตลาดอื่น
(ขึ้นอยู่กับมาตรการของอเมริกาล่ะค่ะ)
- และขึ้นกับความสามารถในการปรับตัวของบริษัทที่เกี่ยวข้อง
ของทั้งสองประเทศ
- เสถียรภาพของตลาดและราคาสินค้า เปลี่ยนแน่นอนล่ะครับไม่มากก็น้อย(ลุงบอก)
+++++
ใครที่ใช้อยู่ทำยังไงบ้าง ..ใครๆ ก็ใช้แผงโซล่าร์เซลล์ ที่บ้านป้าก็มีอยู่หลายแผงเลย
เรา- ฐานะผู้ใช้จะได้รับผลกระทบอะไรบ้างหรือเปล่านะคะนี่ แพงขึ้นมั้ยในอนาคต ..ใครรู้ช่วยเม้นต์บอกด้วยขอบคุณค่ะ
อ้างอิง
1 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
3. เฟซบุคเพจลุง
ขอบคุณค่ะ
4. Facebook page การเงินธนาคาร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา