อริยมรรคมีองค์8 กับการหลุดพ้นจากกรรม ตอน 2

ถ้าเราถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา แล้ว ก็จะทำให้กรรมที่เกิดขึ้นกับตัวบุคคลนั้น ทุเลาลง และผลแห่งกรรมที่จะบรรเทาลงและสามารถหลุดพ้นจากกรรมได้ ดังพระพุทธพจน์ใน โลณผลสูตร (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต ), 2539) คนที่พยายามเรียนรู้จากกรรมเก่าย่อมมี โอกาสพัฒนาตนเองขึ้น ไปกลายเป็นคนที่อยู่เหนือกรรมเก่า เช่น พระองคุลิมาล ในอดีตเคยฆ่า คนจำนวนมากแต่ไม่ยอมจำนนต่อกฎแห่งกรรม
เมื่อมาบวชแล้วถูกกรรมเก่าตามทัน ท่าน ยอมรับสภาพผลแห่งกรรมที่ตนเป็นคนก่ออย่างสงบ ขณะเดียวกันท่านพยายามเรียนรู้จากกรรม เก่าด้วยการสร้างกรรมใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมาแทน จนได้บรรลุอรหัตตผลได้เป็นพระอริยบุคคลขั้น พระอรหันต์ได้เป็นผู้ที่อยู่เหนือกรรมเก่าและไม่สร้างกรรมใหม่
ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ต่อไปอย่างผู้ที่ พ้นแล้วจากกฎแห่งกรรมอย่างแท้จริงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของการหมุนวนไปในวัฏจักรของการ เวียนว่ายตายเกิด การที่จะอยู่เหนือบุญเหนือบาปได้นั้นจะต้องหลุดพ้นจากกรรมให้ได้ก่อน (อัมพร หุตะสิทธิ์, 2546) วิธีหลุดพ้นจากกรรมตามแนวพุทธนั้น คือ การปฏิบัติตามหลัก อริยมรรคมีองค์ 8 จนบริบูรณ์เท่านั้น การหลุดพ้นจากกรรมด้วยวิธีการนอกเหนือไปจากนี้ถือว่า เป็นการหลุดพ้นจากกรรมเทียมที่ไม่ได้ผลแท้จริง
การที่จะหลุดพ้นจากกรรมจนสามารถอยู่ เหนือกรรมได้นั้น จะต้องใช้เวลานานหลายภพชาติ ความจริงหาเป็นเช่นนั้น ไม่เราทุกคน สามารถบรรลุพระนิพพานล่วงเข้าสู่การเป็นผู้อยู่เหนือและอยู่เหนือการเวียนว่ายตายเกิดได้ใน ชีวิตนี้
การปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 หลักการดำเนินชีวิตตามหลักทางสายกลางและจุดมุ่งหมาย ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ได้กล่าวถึงการแสดงธรรม ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตรของพระพุทธเจ้าแก่ภิกษุปัญจ วัคคีย์ ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด 2 อย่าง ที่บรรพชิตไม่พึงเสพ
ได้แก่ กามสุขัลลิกานุโยคในกามทั้งหลาย การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลายเป็น ธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชนไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของ พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด 2 อย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้อัน เป็น ปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วอันเป็นปฏิปทา ก่อให้เกิดจักษุก่อให้เกิดญาณเป็นไป เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อพระ นิพพานนั้น เป็นไฉน
มัชฌิมาปฏิปทานั้น ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 ประการ คือ
1) สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ
2) สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
3) สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ
4) สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ
5) สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ
6) สัมมาวายามะ คือ ความ พยายามชอบ
7) สัมมาสติ คือ การระลึกชอบ
8) สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งจิตมั่นชอบ
ภิกษุทั้งหลายนี้คือ มัชฌิมาปฏิปทานั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทา ก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระ นิพพาน (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต ), 2539.)
โฆษณา