21 ส.ค. 2023 เวลา 04:19 • ข่าว

3 จังหวัดติดเชื้อ 'ฝีดาษลิง' ระดับสีแดง บางจังหวัดพุ่งทะลุ 130 ราย

รายงานจาก "กรมควบคุมโรค" (คร.) "กระทรวงสาธารณสุข" (สธ.) สถานการณ์โรคฝีดาษวานร (Monkeypox) หรือชื่อใหม่ว่า Mpox แต่คนไทยรู้จักในชื่อ "ฝีดาษลิง" ประเทศไทย ว่า สถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. 2566 มีรายงานผู้ป่วยในไทยรวม 189 ราย มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ร่วมด้วย จำนวน 82 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 43
4
ล่าสุดเอกสารการ คร.รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. -วันที่ 15 ส.ค. 2566 มีผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" 217 ราย ชาวต่างชาติ 30 ราย คนไทย 187 ราย อายุเฉลี่ยตั้งแต่ 20 – 64 ปี ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 ราย อายุ 34 ปี มีการติดเชื้อ HIV ไม่ได้รับการรักษา
1
สถานการณ์การติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" ในขณะนี้ มีรายงานพบผู้ป่วยใน 19 จังหวัด มี 3 จังหวัด ที่อยู่ในระดับสีแดง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 136 ราย, นนทบุรี 14 ราย และ จ.ชลบุรี 9 ราย
1
สีส้ม 3 จังหวัด ได้แก่ จ.สมุทรปราการ 9 ราย, ภูเก็ต 8 ราย และ จ.ปทุมธานี 7 ราย
1
พื้นที่สีเหลือง 13 จังหวัด ได้แก่ จ.สมุทรสาคร 2 ราย, ลพบุรี 2 ราย, มหาสารคาม 2 ราย, ขอนแก่น 2 ราย, พะเยา 2 ราย, นครราชสีมา 1 ราย, กาฬสินธุ์ 1 ราย, ฉะเชิงเทรา 1 ราย, สุพรรณบุรี 1 ราย, นครนายก 1 ราย, เชียงราย 1 ราย, พระนครศรีอยุธยา 1 ราย และ จ.ระยอง 3 ราย
2
ขณะนี้สถานการณ์การติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" ในประเทศไทย ถือว่า มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะยังมีความสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ติดเชื้อเอชไอวีอยู่แล้ว และสามารถแพร่ต่อได้
3
"ฝีดาษลิง" เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการสัมผัสโดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ก็ได้ เช่น ไปสัมผัสผิวหนังบริเวณที่เป็นตุ่มหนอง แล้วรับเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังที่ขณะนั้นอาจจะมีผิวแตก หรือเป็นแผลก็ได้
2
รายงานในช่วงแรก ประมาณเดือนก.ค. 2565 - เม.ย. 2566 เป็นต่างชาติจำนวนหนึ่ง แต่ในการติดเชื้อช่วงหลังๆ นี้ ผู้ติดเชื้อเป็นคนไทยเกือบทั้งหมด (เกือบ 100%) ส่วนต่างชาติที่ติดเชื้อช่วงหลังก็เป็นการมาติดเชื้อในประเทศไทย ไม่ใช่เป็นการนำเชื้อมาจากต่างประเทศแล้ว
อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปยังไม่ต้องกังวลมาก หากไม่มีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยง ประชาชนทั่วไปแทบไม่มีโอกาสติดเลย อย่างช่วง 2-3 เดือนหลังนี้ ไม่มีผู้หญิงติดเชื้อเลย มีแต่ผู้ชายที่มีความเสี่ยงทางเรื่องเพศ เพราะจากการสอบสวนโรคพบว่า เกือบ 100% เป็นคนที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
5
"ฝีดาษลิง" พบในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2565 โดยระหว่างเดือนก.ค. -เม.ย. 2566 พบ 20 กว่าราย แต่ต่อมาเดือนพ.ค. พบ 20 กว่าราย เดือนมิ.ย. พบเกือบ 50 ราย เดือน ก.ค. พบเป็น 100 ราย ส่วนเดือน ส.ค.นี้ คาดว่า จะเป็นหลักร้อยรายเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยง คือ มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย มีคู่นอนที่ไม่รู้จัก
2
ผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" ส่วนใหญ่รู้ตัวอยู่แล้ว และรับยาอยู่ แต่มีบางส่วนที่อาจจะไม่รู้ตัวว่า ติดเชื้อ HIV มาก่อน ทำให้โรค "ฝีดาษลิง" และการติดเชื้อ HIV รุนแรงขึ้นจนเสียชีวิตเหมือนรายแรกที่เสียชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา HIV เมื่อติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" ภูมิคุ้มกันต่ำจะทำให้ติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆ ได้
โฆษณา