Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Happy_Coding
•
ติดตาม
21 ส.ค. 2023 เวลา 05:20 • การศึกษา
Gamification ขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้วย “เกมการศึกษาออนไลน์”
gamification คืออะไร
เทคนิคการเรียนรู้ในรูปแบบเกม โดยเน้นความสนุกสนาน ท้าทาย โดยการใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ของเกม เป้าหมายของ Gamification เพื่อช่วยในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยมีวิธีการเรียนที่สนุกสนาน ใช้กลไกของเกมเป็นตัวดำเนินการ ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการตรวจสอบ ปรับปรุงและหาวิธีการแก้ไขปัญหา
องค์ประกอบของ Gamification เกมเพื่อการศึกษา
Gamification คือ การนำเอากลไกของเกมมาสร้างความน่าสนใจในการเรียนรู้ โดยใช้เกมในการสอนออนไลน์หรือเกมเพื่อการศึกษา เพื่อสร้างแรงจูงใจและความน่าตื่นเต้น ทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี ทำให้ผู้เรียนได้ซึมซับเนื้อหาความรู้ และเกิดกระบวนการที่เข้าใจง่ายในสิ่งที่ซับซ้อน โดยองค์ประกอบมีดังนี้
1. เป้าหมาย (Goals)
ในทุกเกมมีเป้าหมายของการเล่นเกม อาจจะเป็นการกำหนดถึงการเอาชนะ สามารถแก้ปริศนา หรือผ่านเกณฑ์ ที่ผู้ออกแบบเกมกำหนดไว้ ทำให้เกิดความท้าทายที่ช่วยให้ผู้เล่นก้าวไปข้างหน้า เมื่อบรรลุเป้าหมายจึงจะเป็นการจบเกม บางครั้งอาจจะจำเป็นต้องประกอบด้วยเป้าหมายเล็กที่สามารถนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ เพื่อให้เกิดการเล่นอย่างต่อเนื่อง
2. กฎ (Rules)
เกมจะต้องมีการบอกถึง กฎ กติกา วิธีการเล่น วิธีการให้คะแนน หรือพูดง่ายๆก็คือ ผู้ออกแบบเกมจะต้องกำหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจน โดยอธิบายไว้เพื่อให้ผู้เล่นปฏิบัติตาม
3. ความขัดแย้ง การแข่งขัน หรือความร่วมมือ (Conflict, Competition, or Cooperation)
การเล่นเกมที่มีความขัดแย้งเป็นการเอาชนะโดยการทำลายหรือขัดขวางฝ่ายตรงข้าม แต่การแข่งขันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของตนเองเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม ส่วนความร่วมมือเป็นการร่วมกันเป็นทีมเพื่อเอาชนะอุปสรรค และบรรลุเป้าหมายที่มีร่วมกัน
4. เวลา (Times)
เวลาเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดแรงผลักดันในการทำกิจกรรมหรือการดำเนินการ เป็นตัวจับเวลาที่อาจจะทำให้ผู้เล่นเกิดความเครียดและความกดดัน ทำให้เป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนทำงานสัมพันธ์กับเวลา ดังนั้นผู้เรียนจะต้องเรียนรู้การจัดสรรบริหารเวลาซึ่งเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ
5. รางวัล (Reward)
เป็นสิ่งที่ผู้เล่นจะได้รับเมื่อประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งควรจะมีป้ายรายการจัดลำดับคะแนน การให้รางวัลเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้เล่นแข่งขันกันทำคะแนนสูง
6. ผลป้อนกลับ (Feedback)
เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความคิด การกระทำที่ถูกต้อง หรือการกระทำที่ผิดพลาด เพื่อแนะนำไปในทางที่เหมาะสมต่อการดำเนินกิจกรรม
7. ระดับ (Levels)
เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความท้าทายต่อเนื่อง โดยผู้เล่นจะมีความคืบหน้าไปยังระดับที่สูงขึ้น เพื่อให้เกิดเป้าหมาย (Goals) ใหม่ ผู้เล่นจะได้รับความกดดันมากขึ้น ทำให้มีการใช้ประสบการณ์ ทักษะ จากระดับก่อนหน้าไปจนจบเกม
ตัวอย่างเกมการศึกษาออนไลน์
เราสามารถนำหลักการของ Gamification มาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษาเพื่อช่วยในการจัดการเรียนรู้ ให้มีความสนุกสนานมากขึ้น เนื่องจากทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าอยู่ในบรรยากาศของเกม มีเป้าหมายในการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม การสะสมแต้ม การให้รางวัล การเลื่อนระดับ ผู้เรียนจะซึมซับเนื้อหาโดยผ่านกิจกรรมที่ใช้กลไกของ Gamification เป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและเรียนไปในเวลาเดียวกัน “เพลิน (Play and Learn = Plearn)” ตัวอย่างเช่น
Kahoot! เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ประเภทของเกมการศึกษาแบบไม่มีค่าใช้จ่าย โดย Kahoot ถูกออกแบบให้เข้าถึงได้ในห้องเรียนเป็นสื่อเกมเพื่อการศึกษาโดยใช้องค์ประกอบของ Gamification มาประยุกต์ในการเรียนรู้ให้เกิดความสนุกสนาน ได้แข่งขันและมีปฏิสัมพันธ์กันในชั้นเรียน และยังเป็นการเสริมสร้างให้ผู้เรียนได้รู้จักการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
สร้างการเรียนรู้แบบ Gamification กับ “Miimo เกมโค้ดดิ้งเพื่อการศึกษา”
Miimo เกมโค้ดดิ้งสำหรับเด็กนำการเรียนรู้ในรูปแบบ Gamification มาประยุกต์สื่อการสอนในรูปแบบเกมเพื่อการศึกษาเข้ามาใช้กับทุก ๆ หลักสูตร เพื่อให้เด็ก ๆ เกิดความสนุกในการเรียนรู้ ฝึกทักษะการคิดเชิงตรรกะ ฝึกการแก้ปัญหา และสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้กับปัญหาในชีวิตประจำวัน
ขอขอบคุณที่มาจาก:
-
https://touchpoint.in.th/gamification/
-
https://www.biworldwide.com/gamification/what-is-gamification/#:~:text=Gamification%20is%20adding%20game%20mechanics,inspire%20collaborate%2C%20share%20and%20interact
.
-
https://www.harbingergroup.com/blogs/how-to-build-a-gamification-strategy-an-expert-view/
ความรู้
เทคโนโลยี
พัฒนาตัวเอง
บันทึก
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย