21 ส.ค. 2023 เวลา 08:12 • ท่องเที่ยว

Gwalior Fort (2) : พระราชวังต่างๆในป้อม

Gujari Mahal คุจารี มาฮาล
Gujari Mahal .. เป็นวังที่สวยงามอีกแห่งในป้อม Gwalior สร้างขึ้นโดยราชามานซิงห์ สำหรับมเหสีที่รักของพระองค์ คือ Mrignayani .. ในฐานะที่เป็น Gujar เธอไม่ต้องการอยู่กับราชินีแห่งราชวงศ์อื่น ๆ และขอวังแยกต่างหากสำหรับตัวเธอเอง นอกจากนี้เธอยังเรียกร้องน้ำประปาจากแม่น้ำไร่ในหมู่บ้านของเธอไปยังพระราชวัง
ต่อมาพระราชวังแห่งนี้ ..ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ทางโบราณคดี ที่เก็บประติมากรรมหายากที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไว้ ซึ่งได้รับมาจากพื้นที่โดยรอบ
พิพิธภัณฑ์ Gujari Mahal จัดแสดงโบราณวัตถุหายากจำนวนมาก รวมถึงประติมากรรมฮินดูและเชนหลายชิ้นที่มีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 1 และ 2 ก่อนคริสต์ศักราช รูปปั้นขนาดเล็กของ Salabhanjika สิ่งของดินเผาที่สวยงาม และภาพเฟรสโกจำลองที่พบในถ้ำ Bagh .. รวมถึงสิ่ งประดิษฐ์ อาวุธ เครื่องปั้นดินเผา และเหรียญกษาปณ์มากมาย
เมื่อเราก้าวออกจาก Man Mandir พระราชวังอื่น ๆ หลายแห่งจะเรียงชิดติดกัน แม้ว่าจะเป็นที่ตั้งของพระราชวังที่แตกต่างกันอีก 5 แห่ง แต่ก็ไม่ได้โดดเด่นเท่ากับพระราชวัง Man Singh พระราชวังเหล่านี้ตั้งอยู่เรียงรายใกล้ๆกัน และไม่มีคุณลักษณะที่ซับซ้อนมากนัก
Karan Mahal กานต์ มาฮาล
Karan Mahal พระราชวัง 2 ชั้นที่มีโครงสร้างเรียบง่าย มีเพียงฉากบังตาและประติมากรรมบางส่วน .. สร้างโดย Kirti Singh (หรือ การซิงห์) ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ 2 ของ Tomar ในปี 1480 .. เป็นพระราชวังที่เก่าแก่กว่า Man Mandir Palace สร้างขึ้นโดยกษัตริย์องค์ที่สองแห่งราชวงศ์ Tomar, Kirti Singh พระองค์ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม การซิงห์ ซึ่งถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของพระราชวัง
Karan Mahal วังนี้ดูเรียบง่ายท่ามกลางสิ่งมหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ ภายในป้อม .. พระราชวังแห่งนี้อยู่ในสภาพทรุดโทรมเล็กน้อยและต้องการการดูแล .. แต่สามารถขึ้นไปชั้นบนสุดเพื่อชมทิวทัศน์โดยรอบได้
Vikram mahal วิกรม มาฮาล
Vikram mahal สร้างโดย Vikramaditya Singh ราชบุตรคนโตของ Maharaja Mansingh เขาเป็นผู้ศรัทธานับถือพระอิศวร .. ดังนั้น Vikram mandir จึงถูกสร้างขึ้นถัดจาก Man Mandir และได้ชื่อนี้ เนื่องจากครั้งหนึ่งเคยเป็นวิหารของพระศิวะ
พระราชวังแห่งนี้เรียบง่ายแต่สวยงามมาก มีบาราดารี (ศาลาที่มีประตูสิบสองบาน) อยู่ตรงกลาง มีห้องอยู่ขนาบข้าง Baradari มีสถาปัตยกรรมทางเดินแบบประตูเปิดสำหรับอากาศและแสงสว่าง
วิหารนั้นถูกทำลายในสมัยโมกุล แต่ปัจจุบันได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ในพื้นที่โล่งด้านหน้าของ Vikram Mahal
Jahangir Mahal จาฮังกีร์ มาฮาล
Jahangir Mahal ถูกเรียกว่า Sher Mahal เนื่องจาก Sher Shah สร้างขึ้น อย่างไรก็ตาม ชื่อนี้ถูกเปลี่ยนเป็น Jahangir Mahal หลังจากการบูรณะและใช้มันระหว่างการเยี่ยมชมป้อม Gwalior โดย Jahangir
Shahjahan Mahal
Shahjahan Mahal ตั้งอยู่ตรงข้ามกับ Jahangir Mahal วังนี้สร้างโดย Shahjahan เป็นสถาปัตยกรรมโมกุลอีกชิ้นหนึ่งในอินเดีย .. มีลักษณะเป็นทางเดินขนาดใหญ่ ความต่อเนื่องเพียงครั้งเดียวของ Jahangir Mahal เข้าสู่ Shahjahan Mahal เราสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมได้ที่นี่
จาฮาปานาห์
“จาฮาปานาห์” (แปลว่า คอกม้า) เดิมทีเป็นคลังเก็บม้าและช้างของราชวงศ์ และอาจสร้างโดยอัคบาร์หรือจาฮังกีร์
บ่อน้ำ
ภายในมีบ่อน้ำจำนวน 8 บ่อ เชื่อมต่อกันด้วยร่องน้ำใต้ดินซึ่งนำน้ำกร่อยมาจากคูเมือง คูน้ำล้อมรอบป้อม คลอง ได้รับการถมด้วยคอนกรีตและแอสฟัลต์และตอนนี้ทำหน้าที่เป็นสนามเด็กเล่นสำหรับเด็กๆ
ถังเก็บน้ำหรืออ่างเก็บน้ำของป้อม สามารถจัดหาน้ำให้กับกองทหารรักษาการณ์ที่แข็งแกร่ง 15,000 นาย ซึ่งเป็นจำนวนที่จำเป็นในการรักษาความปลอดภัยของป้อม
Chhatri แห่ง Bim Singh Rana
Bhim Singh Rana (1707–1756) .. ภีม ซิงห์ รานา ผู้ปกครองรัฐ Gohad ยึดป้อมกวาลิเออร์จากโมกุลในปี 1740 เมื่ออาลี ข่าน Mughal Satrap ยอมจำนน ในปี 1754.. Bhim Singh ได้สร้าง Bhimtal (ทะเลสาบ) เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ป้อม .. เขาถูกฆ่าตายระหว่างสงครามระหว่างจัทส์และมาราธาส
Chhatri (โดมหรือศาลารูปโดม).. สร้างขึ้นโดย Chhatra Singh ซึ่งเป็นทายาทของเขา อนุสาวรีย์ของเขาอยู่ที่มุมหนึ่งของป้อม
Jauhar Kund เยาฮาร์ คุนด์
Jauhar Kund เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นสระที่ตั้งอยู่ใน Man Mandir Palace
Jauhar หมายถึงการฆ่าตัวตาย อันเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่สตรีในราชวงศ์ต้องปฏิบัติตาม ในที่นี้ พวกเขาต้องเผาตัวเองเมื่อศัตรูจับตัวสามีและกษัตริย์ของพวกเขาไป ส่วนใหญ่ทำเพื่อปกป้องพวกเขาจากผู้รุกรานที่ป่าเถื่อนเพื่อไม่ให้ถูกข่มขืน
... เป็นสถานที่ที่ภริยาราชปุตฝึกสัตย์ด้วยการกระโดดลงไปในสระน้ำ หรือเผาตัวเองระหว่างการโจมตีกวาลิเออร์ โดยอิลทุตมิช ในปี 1232 เพื่อหลีกเลี่ยงการข่มขืนโดยกองกำลังของ Iltutmish ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งเดลีในศตวรรษที่ 13
เมื่อกษัตริย์แห่ง Gwalior พ่ายแพ้ ผู้หญิงจำนวนมาก(กล่าวกันว่ามีจำนวนประมาณ 1,000 คน) ซึ่งรวมถึง ราชินีและสตรีคนอื่นๆ ทำการ Sati ใกล้กับ Jauhar Kund แห่งนี้ แท้งก์น้ำนี้เดิมสร้างขึ้นในรูปแบบสถาปัตยกรรมยุคกลางเพื่อส่งน้ำไปทั่วป้อม แต่ตามประวัติศาสตร์ก็มีเรื่องเล่าถึงความทุกข์ยากของผู้หญิง
Assi Khamba ในป้อม Gwalior .. บ่อน้ำขั้นบันไดกวาลิเออร์
Assi Khamba ki Baori บ่อน้ำขั้นบันไดทรงกลมโบราณ
ที่ล้อมรอบด้วยเสาหิน 80 ต้น สร้างโดย Raja Man Singh Tomar ภายในป้อมกวาลิเออร์
Photo : Internet
บ่อน้ำขั้นบันไดตั้งอยู่ทางด้านซ้ายเมื่อเข้าสู่ประตูที่ซับซ้อนของพระราชวัง เป็นบ่อน้ำเดี่ยวทรงกลมลึก ตั้งอยู่ข้างโถงที่มีเสาหลายต้น
.. ก่อนหน้านี้เป็นที่ประดิษฐานพระอิศวร-ศิวลึงค์ที่จักรพรรดิจาฮังกีร์โยนลงมาจากกำแพงป้อม .. ต่อมาถูกค้นพบโดยชาวนาที่ไถพรวนดิน และปัจจุบันกลายเป็นบ่อน้ำ บรรจุไว้ในพระวิหารนอกประตูป้อม
Photo : Intenet
Photo : Internet
บัวลี่ทรงกลมที่มีน้ำสีเขียวขุ่น มีเสาทางเดินรอบบ่อน้ำ ทางเข้าบ่อน้ำถูกปิด ขั้นบันไดถูกฉาบไว้เพื่อป้องกันไม่ให้คนลงไปถึงน้ำด้านล่าง
บันทึกในอดีตระบุว่าจาฮังกีร์จับคุรุฮาร์โกบินด์ ซิงห์และกษัตริย์อีก 52 พระองค์เป็นเชลยในบาโอรี
ทางเดินบนกำแพง
เราชักชวนกันไปเดินบนกำแพง เริ่มต้นจากกำแพงด้านที่ติดกับพระราชวังใกล้ๆกับ Jauhar Kund .. ทางเดินบนกำแพงไม่กว้าง แต่สามารถเดินได้สบาย .. บางส่วนมีหญ้าขึ้นแซม
แนวกำแพงที่โค้งไปตามรูปร่างของผาหินของภูเขาสร้างด้วยอิฐแดง มีเชิงเทินรูปสามเหลี่ยมด้านบนรูปร่างคล้ายใบเสมาวางอยู่เป็นระยะชิดๆกัน ช่องว่างคงใช้สำหรับมองดูความเคลื่อนไหวต่างๆช่วงที่ทหารทำการลาดตระเวน
ภาพเมื่อหันกลับไปมองในทิศทางของพระราชวัง
เมื่อมองลงไปด้านล่าง จะเห็นพระราชวัง Gujari Mahal
ทิวทัศน์ของกำแพงป้อมปราการ
ป้อม .. มีอยู่เป็นระยะ ภายในอาจจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทหารได้พัก แต่ซุ้มโค้งในป้อมสวยงามมากๆ และสามารถชะโงกมองลงไปดูทิวทัศน์ด้านล่างได้
Gwalior Fort View Point
เราออกมาจากทางเดินขนาดใหญ่ของ Shahjahan Mahal ซึ่งทะลุออกมาสู่กำแพงอีกชั้นหนึ่งของป้อม ..
เมื่อเดินเข้าไปชิดกำแพงแล้วมองไปข้างหน้า .. ทิวทัศน์ที่ปรากฏในสายตานั้นกว้างไกล สร้างความรู้สึกโปร่งโล่งและเป็นอิสระ เป็นความงดงามยากต่อการพรรณนาให้เห็นด้วยตัวอักษร
.. ภาพของกำแพงป้อมปราการ ซึ่งมีส่วนที่ไกลออกไปเป็นด้านหนึ่งของ Man Mandir Palace ที่มีหอคอย ศาลารูปโดมที่หลังคาลักษณะอ่อยช้อยแบบโมกุล โดยมีความลาดชันของผาหินอยู่ด้านล่าง และท้องฟ้าสีฟ้าคราม สวยงามยามไร้เมฆฝน เป็นฉากหลังที่น่าประทับใจ
.. ถนนแคบๆ ขึ้น-ลงภูเขา เป็นส่วนที่ทำให้ภาพที่เราเห็นน่ามหัศจรรย์ที่สุด ด้วยมันเพิ่มมิติของการมอง แต่ก็ช่วยเตือนสติให้การขับขี่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
.. .. แม้มนุษย์มิอาจชนะธรรมชาติ แต้ความวิริยะอุตสาหะของมนุษย์ ที่ปรับเทือกเขาสูงให้เป็นที่ตั้งของสถานที่สวยงามเหมือนที่อยู่ของเหล่าเทพ ก็น่าอัศจรรย์อยู่ไม่น้อย
โฆษณา